วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

Institution Imperative (สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ต้องเกิดขึ้น)


วันนี้ขอนำสิ่งที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เขียนไว้ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นเมื่อหลายปีก่อน เขาบอกว่า มีปรากฏการณ์อย่างหนึ่งซึ่งทำให้เขารู้สึกประหลาดใจอย่างมาก เพราะมันไม่เคยถูกสอนไว้ในวิชาบริหารธุรกิจที่เขาเคยเรียนเลย เขาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Institution Imperative (สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ต้องเกิดขึ้น) มีทั้งหมดสี่ข้อ ได้แก่
1. เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง จะปฏิเสธไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน เป็นเช่นนี้เสมอ ไม่ว่าบริษัทไหน
2. พอมีเงินทุนเหลือ จะดิ้นรนหาทางใช้เงินนั้นให้หมดไป ไม่ว่าจะทำโครงการต่างๆ นานา หรือเข้าไปซื้อกิจการอื่น
3. ถ้าผู้นำองค์กรอยากทำหรือลงทุนอะไร ไม่ว่าจะงี่เง่าแค่ไหน จะมีลูกน้องหาตัวเลขผลตอบแทนที่ฟังดูสมเหตุสมผลมาสนับสนุนเสมอ
4. ไม่ว่าบริษัทร่วมอุตสาหกรรมเดียวกันจะทำอะไร ก็จะหลับหูหลับตาทำตาม เช่น การขยายกิจการ กำหนดผลตอบแทนผู้บริหาร หรือเข้าซื้อธุรกิจอื่น (นึกถึงกระแสเห่อ 'พลังงานทางเลือก' ในไทยเมื่อหลายปีก่อนเลย)
ดังนั้นจงเลี่ยงและระวังเลือกลงทุนกิจการที่เริ่มพฤติกรรมเช่นนี้ หากกิจการมีการลงทุนใหม่ๆ จึงต้องพิจารณาให้ดีเสมอ และข่าวพวกนี้มักเป็นเหยื่อล่อที่ดี ข้อ 3 และข้อ 4 เป็นข้อที่อันตรายที่สุด เพราะโดยความเป็นจริงผู้บริหารไม่ได้รู้ทุกเรื่อง แต่มักเสนอความคิดออกไป แล้วให้ลูกน้องหาข้อมูล ทำตัวเลขสรุปให้ หากเจอลูกน้องขี้ประจบก็จะนำเสนอให้ตรงจริตผู้บริหาร เมื่อผู้บริหารเห็นตัวเลขว่าสนับสนุนกับที่ตัวเองคิด ก็ยิ่งเชื่อว่าต้องทำทันที สั่งการลงไป แต่ตัวเลขการเงินคือผลจริงของการทำงานคนในองค์กร งบการเงินที่ถูกต้องตรงไปตรงมาจึงไม่บิดเบือน ถ้าระบบบัญชีดี มีการควบคุมดี (ไม่เหมือนบางบริษัทที่บิดเบือน โกงตัวเลข ทำเอกสารปลอม) งบการเงินบอกเรื่องราวเสมอทั้งสิ่งที่เกิดและผลที่จะเกิดในอนาคตจากสิ่งที่ทำไปเสมอ ต้องอ่านและดูเป็น

วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561

Principals of Raydalio เครดิต: seneewut


Principals of Raydalio  เครดิต: seneewut

เรย์ได้เขียนวิธีเอาชนะตลาดไว้ว่า

1.มันไม่ง่ายที่จะมั่นใจว่าความคิดเห็นของเรานั้นถูกต้อง ในตลาดคุณสามารถทำการบ้านอย่าง หนักแต่มันก็ยังคงผิดอยู่เสมอได้

2.ความคิดเห็นที่แย่สามารถเปลี่ยนเป็นต้นทุนราคาแพงได้ คนส่วนมากคิดว่าความคิดเห็นนั้น ไม่มีต้นทุน แต่ไม่ใช่ในตลาด นั่นคือเหตุผลที่ทำไมเรย์ถึงเรียนรู้ที่จะระมัดระวังในความคิดเห็น ไม่ว่าเขาจะทำการบ้านหนักแค่ไหน เพราะเขาก็ยังคงไม่แน่ใจอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่นถ้าความคิดเห็นของเรา นั้นค่อนข้างจะแย่ โอกาสที่เราจะขาดทุนก็มีสูง จึงนับว่าความคิดเห็นนั้นก็เป็นต้นทุนที่แพงได้เหมือนกัน

3.ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่มักจะผิดอยู่บ่อยๆ ดังนั้น เราจึงควรมีความคิดที่ยืดหยุ่นและเป็นอิสระ การที่เราจะได้เงินจากตลาดนั้นหมายความว่าเราต้องเป็นฝ่ายถูกในขณะที่คนอื่นเป็นฝ่ายผิด

ดังนั้นสรุปได้ว่า

1.) เราต้องทำงานที่เราอยากทำ ไม่ได้ทำเพราะคนอื่นอยากให้เราทำ จากบทเรียนนี้ เราจะไม่รู้ สึกว่าเรากำลังทำงานอยู่ถ้าเราได้ทำในสิ่งที่เราชอบ มันจะไม่มีแรงกดดันจากอะไรเลย

2.) เข้าถึงความคิดเห็นที่ไม่ฝักใฝ่ทางไหน มีความคิดเห็นที่เป็นอิสระ ยกตัวอย่าง เมื่อเรย์ ต้องการทำเงินจากตลาดเขารู้ว่าเขาต้องรู้จักบริษัท และการประเมินค่าบริษัทจะทำให้หุ้นของบริษัทนั้นน่าสนใจ เขาต้องตัดคูปองจากหนังสือเพื่อแลกกับรายงานประจำปีเพื่อสำรวจพฤติกรรมและความคิด เห็นของบริษัทที่น่าสนใจ

3. ทดสอบความคิดเห็นของเรากับคนที่ฉลาดเท่าที่เราจะสามารถหาได้ และท้าทายพวกเขาจะ ทำให้เราหาสิ่งที่เราผิดพลาดได้ อย่าไปสนใจบทสรุปของคนอื่น สิ่งเดียวที่จะนำมาสู่บทสรุปได้คือ เหตุผลเท่านั้น การมีเหตุผลคือสิ่งที่สมเหตุสมผล และมันจะช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกของเราอีกด้วย

4. ระมัดระวังความมั่นใจสุดโต่งเกินไป และคิดเผื่อไว้ถึงสิ่งที่เราไม่รู้ด้วย การสู้กับสิ่งที่เราไม่รู้ คือการหาข้อมูลเพิ่มเติมจนถึงจุดที่มั่นใจว่าได้กำจัดความเสี่ยงในความไม่รู้ออกไปได้ ในโลกนี้ความ เสี่ยงก็คือสิ่งที่เราไม่รู้หรือไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่ถ้าเรายิ่งรู้เยอะมากเท่าไหร่ก็เท่ากับว่าความ เสี่ยงก็จะลดน้อยลงตามความรู้หรือข้อมูลที่เรามีนั่นเอง

5. ต่อสู้ด้วยความเป็นจริง ตอบสนองกับผลลัพธ์ของการตัดสินใจ และเรียนรู้ที่จะปรับปรุง พัฒนาการต่อไป



โดยส่วนตัวผมเมื่ออ่านเจอ 3 ข้อนี้ ตรงจริตผมมาก

1) Trust in Truth ...

2) Realize that you have nothing to fear from truth. ...

3) Create an environment in which everyone has the right to understand what makes sense and no one has the right to hold a critical opinion without speaking up about it.