วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Moral Hazard and Morale Hazard

Moral Hazard and Morale Hazard

คำว่า Moral Hazard นั้นเป็นคำที่มักจะใช้กันหรือพบกันบ่อยๆในแวดวงของการเงิน เศรษฐศาสตร์ มีกำเนิดมาจากเรื่องของการประกันภัย  คำแปลเป็นภาษาไทยตรงๆ อาจจะยังไม่เห็นชัดเจน คือ อันตรายทางศีลธรรมหรือันตรายที่เกิดขึ้นกับการมีศีลธรรม เช่นยกตัวอย่างที่ใช้กันบ่อยๆ ก็คือ การที่เราซื้อประกันภัยสิ่งของไว้แล้ว ก็จะมีแนวโน้มว่าเราจะไม่ใช้สิ่งของนั้นอย่างระมัดระวัง ซึ่งผิดกับการที่เราไม่ได้ซื้อประกัน ก็จะทำให้เราระมัดระวังมากขึ้นนั่นเอง

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ เวลาเราซื้อสินค้า IT คนขายก็บอกว่าภายใน 7 วัน ถ้าสินค้ามีปัญหาก็มาเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้เลย ก็ทำให้ผู้ซื้อมีแนวโน้มว่าจะใช้แบบสมบุกสมบัน เอาให้เต็มที่ เพราะช่วงนี้เปลี่ยนได้ทั้งเครื่องเลย ไม่ต้องส่งซ่อม นี่ก็คือตัวอย่างของคำว่า Moral Hazard

ในทางการเงิน เช่น การผ่อนปรนความเข้มงวดการให้สินเชื่อ การประกันเงินฝากกรณีสถาบันการเงินล้ม ก็ล้วนเป็นเรื่อง Moal Hazard

วิกฤตการเงินปี 2008 (พศ. 2551) วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ก็เกิดจาก Moral Hazard สถาบีนการเงินนำสินเชื่อรายย่อยบ้านมามัดรวมกันทำเป็น MBS/CD (Morgate Backed Securities/Collateral Debentures) ขายให้นักลงทุนต่างๆ ทั้งสถาบันและทั่วไป โดยให้ผลตอบแทนสูงๆล่อใจ และยังการันตีหลักทรัพย์ที่ขายนั้นด้วยสถาบันการเงินขนาดใหญ่ เช่น Goldman Sachs และเพื่อจูงใจให้การขายโดย Marketing Traders ยังมีการเสนอให้ Commission ที่สูงๆ (ใครมีได้ชมหนัง Margin Call จะเห็นตอนประธานบริษัท เทรดเดอร์ขนาดใหญ่สั่งขายสินทรัพย์เสี่ยงออกให้ลูกค้า โดยจูงใจด้วยการให้โบนัส)

Hazard จึงเป็นสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหายโดยศีลธรรม อันเนื่องมาจากความไม่สุจริตใจ หรือขาดความระมัดระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

ซึ่งถ้าสรุปง่ายๆ ก็คือ นโยบาย หรือแนวทาง หรือกฎระเบียบอะไรก็ตามที่สร้างขึ้นมา ซึ่งเป็นระเบียบที่ทำให้คนสบายใจ แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ พฤติกรรมของคนคนนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะรู้สึกมั่นใจ หรือสบายใจที่จะทำ ถึงจะไม่ค่อยดีหรือมีความเสี่ยงนั่นเองมากขึ้น

ส่วน MORALE HAZARD เป็นเรื่องสภาวะทางด้านจิตสำนึกในการป้องกันความเสี่ยง เป็นความเพิกเฉยการป้องกันความเสี่ยงหรือพฤติกรรมเสี่ยง เนื่องจากเห็นว่าในกรณีที่มีความเสี่ยง เช่นบางคนที่ได้เอาประกันภัยทรัพย์สินของตนไว้ แล้วประมาทเลินเล่อไม่เอาใจใส่ ป้องกันอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินนั้น โดยถือว่าตนเองได้เอาประกันภัยไปแล้ว บริษัทประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่ระบุไว้ ในกรมธรรม์ประกันภัย

ทั้งสองกรณีจะคล้ายกันมาก Moral Hazard เกิดเพราะผู้ปฎิบัติมักได้หรือเข้าใจผิดในสาระสำคัญของความเสี่ยง อาจถูกเบี่ยงเบนโดยการเสนอทางที่ให้ผลประโยชน์กลบเกลื่อน ในบางตำรา Moral Hazard เกิดเพราะมี Asymmetry Information ความไม่สมดุลของข้อมูล มีคนที่รู้ข้อมูลความเสี่ยง มากกว่าคนอื่น และโอนความเสี่ยงออกไปให้คนที่รู้ข้อมูลความเสี่ยงน้อยกว่า  Morale Hazard เป็นเรื่องการไม่ปฏิบัติหรือเพิกเฉยปฏิบัติการลดความเสี่ยงเพราะมีคนอื่นรับต้นทุนความเสียหายแทน