วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Enterprise Risk Management Model ERM = LEPESTO

Enterprise Risk Management Model ERM = LEPESTO
1.         L Legal Risk
2.         E Economic Risk
3.         P Political Risk
4.         E Environment Risk
5.         S Strategic Risk and Social Risk
6.         T Technology Risk
7.         Operational Risk
Legal Risk แต่ละธุรกิจมีความเสี่ยงด้านกฎหมายต่างกัน แบ่งความเสี่ยงด้านนี้เป็น 2 กลุ่มคือ
-      ความเสี่ยงเฉพาะตัว เกิดเฉพาะธุรกิจนั้นเองโดยตรง เช่น คดีฟ้องร้องต่างๆ
-      ความเสี่ยงจากลักษณะธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงกฎหมายการถือครองที่ดิน กฎหมายกีดกันการค้า GSP กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น
Economic Risk
-      ผลกระทบจากเศรษฐกิจ แต่ละธุรกิจอ่อนไหวต่างกัน เวลามอง GDP จะมองหลักๆจาก
o  C Consumption กำลังซื้อ เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน สินค้าเกษตร
o  G Government รายจ่ายภาครัฐ งบประมาณการลงทุน
o  I Investment การลงทุน
-      E&M การส่งออก & นำเข้า อัตราแลกเปลี่ยน
Political Risk
-      ความเสี่ยงจากการเมือง นโยบายรัฐ มีผลต่อทิศทางธุรกิจ ยิ่งธุรกิจใดพึงพาการเมืองสูง ยิ่งมีความเสี่ยงด้านนี้มาก นอกจากนี้ธุรกิจที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ย่อมได้รับผลจากฯยบายรัฐประเทศคู่ค้ามากขึ้น
Environment Risk
-      อปัจจุบันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมาก ดังนั้นหากบริษัทใดมีโอกาสสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก ย่อมมีผลต่อการดำเนินธุรกิจมาก ไม่ว่าการถูกฟ้อง การถูกเรียกร้องค่าเสียหาย หรือการถูกต่อต้านจากชุนชน
Strategic Risk and Social Risk
-      ความเสี่ยงจากการเลือกกลยุทธ์ที่ไม่เหมาะสม ทำให้ธุรกิจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ในเบื้องต้นหากกำหนดประเภทตลาดได้ถูกแล้ว ก็จะมองเบื้องต้นว่ากลยุทธ์ใช้ได้เหมาะสมหรือไม่
-      Michael E. Porter ได้แบ่งกลยุทธ์แข่งข้นอย่างไร ธุรกิจแบบใดควรใช้อะไร
Technology Risk
-      บางธุรกิจพึ่งพิงนวัตกรรมทางเทคโนโยลีมาก การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ มีผลต่อยอดขาย กระบวนการผลิต
-      ธุรกิจอาหาร สินค้าทุน สินค้า commodity ไม่ค่อยได้รับผลกระทบ
-      สินค้าไฮเทคมีมากว่า
Operational Risk
-      ความเสี่ยงจากการดำเนินงานภายใน เช่น ระบบริหารงาน ระบบบัญชี การควบคุมภายใน การลาออกของพนักงานมาก เป็นต้น
-      สังเกตจากอะไรบ้าง AR turnover Inventory turnover การถูกหน่วยงานกำกับฯ สั่งแก้งบฯ ผู้สอบมีเงื่อนไข

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Qualitative and Quantitative Analysis)


การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Qualitative and Quantitative Analysis)

ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเราใช้งบการเงินเป็นหลัก และควรใช้หลายปีต่อเนื่อง ต่ำสุดควรใช้ 3 ปี เป็นอย่างน้อย ไม่ใช่ 3-4 ไตรมาส และไม่ใช่มองแต่กำไรสุทธิ (Bottom line) เพราะนั่นไม่ต่างกับนักเก็งกำไรเท่านั้น และคนที่เข้าใจงบการเงินและการบริหารธุรกิจ จะเข้าใจดีว่าการติดตามเพียงระดับไตรมาสอย่างเดียว จะไม่เห็นภาพใหญ่ การลงทุนเพื่อการออมระยะยาวนั้นไม่ใช่ทำกำไรวันต่อวัน เดือนต่อเดือน หรือปีต่อปี แต่หมายถึงหุ้นตัวนั้นทำให้คุณมีกระแสเงินสดหลังเษียณไปนานเท่าใด ไม่ใช่ขายกำไร 50% ในหนึ่งสัปดาห์ ซื้อห้าแสนได้กำไรมาสองแสนหาในสัปดาห์หน้า แล้วอย่างไรต่อ เงิน 7.5 แสน ยังชีพได้ไหมหลังเกษียณ หลายคนก็ต้องไปหาหุ้นอื่นต่อ ที่ทำกำไร และทุกคนก็หวังจะได้หุ้นแบบเดิมกำไรงามๆ แต่หุ้นกำไรแบบนั้นมีมากมายที่หาได้บ่อยๆแบบนั้นหรือ ก็เปล่า มักลงเอยด้วยการทำเงิน 2.5 แสนนั้น หายไปในตลาด เหมือนได้เกลือจากน้ำทะเลมา แล้วก็เอาภาชนะนั้นใส่เกลือไปลงทะเลหวังจะได้เกลือเพิ่ม ถ้าพบหุ้นที่ดีจริงๆ แล้วเอาปันผลที่ได้ มาลงทุนต่อเนื่องไป จากเงิน 5 แสรก็สามารถกลายเป็น 5 ล้านในระยะยาวได้ และเงินลงทุนก้อนนี้หากรู้จักใช้ สามารถเลี้ยงชีวิตได้ไปตลอดหลังเกษียณได้ไม่ยาก เพราะเราไม่ได้ขายทันที 5 ล้าน แต่ทยอยขาย หุ้นที่เหลือมูลค่าปีต่อไปก็จะเพิ่มขึ้นเพราะการเติบโตธุรกิจ ชีวิตหลังเกษียณไม่ควรมานั่งเฝ้าราคาหุ้น แต่ควรเป็นช่วงใช้เงิน แต่ไม่ใช่หาเงินใส่ธนาคารมากๆ แล้วมาฝากเบิกเงินตอนหลังเกษียณ ทั้งที่ลงทุนเราะรู้ว่าฝากเงินไม่คุ้ม ดังนั้นคนลงทุนเป็น วัดกันตอยปลายทางของชีวิต ไม่ใช่วันนี้พอร์ตโตเท่าไร ต้องถามว่าตอนหลังเกษียณแล้ว จะมานั่งเฝ้าราคาหุ้นซื้อขายอยู่ไหม วันหลังเกษียณมีหุ้นอะไรในมือนี่แหละสำคัญกว่า วันนี้ต้องถามตนเองว่หุ้นในมือที่มี ตัวไหนมั่นใจถือได้มากกว่า 10 ปี บ้าง เราอาจมีทั้งหุ้นเทรด หุ้นเล่นรอบ และอาจหุ้นที่ถือยาวแบบนั้นด้วย เมื่ออายุมากขึ้นในพอร์ตก็ต้องมีหุ้นเพื่อหลังเกษียณให้มากที่สุดหรือทั้งหมด ถ้ามีแต่หุ้นเทรด หุ้นเล่นรอบ หลังเกษียณก็ยังต้องเฝ้าจอทั้งวันการเลือกหุ้นเพื่อถือได้หลังเกษียณนั้นต้องแบบโตมั่นคง โตแกร่ง (Stalwarts or Strong growers) เท่านั้น หุ้นเหล่านี้ต้องมีความแข็งแกร่งทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เชิงปริมาณคือการพิจารณาจากงบการ จากอัตราส่วนการเงินต่างๆ ซึ่งได้เคยกล่าวว่าดูอะไรบ้าง และต้องดูงบมายาวๆ หลายปีต่อเนื่องไม่ใช่ไตรมาส ถ้ารายปียาวๆ บ่งชี้ว่าเชิงปริมาณดีมาโดยสม่ำเสมอ เราก็มั่นใจได้ระดับหนึ่งแล้ว

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นเครื่องยืนยันการเติบโตอย่างมั่นคง แข็งแกร่ง การวิคราะห์เชิงคุณภาพ ไม่ใช่การมาวิเคราะห์ข่าวสารครับ นั่นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นและอาจไม่ได้มีนัยต่อธุรกิจด้วยซ้ำ ข่าวบางอย่างอาจเป็นเพียง sentiment เท่านั้น เช่นบริษัทได้งานก่อสร้าง รายได้นั้นก็เพียงรายได้ที่จะทยอยรับรู้ในช่วงสัญญา พอสัญญาจบรายได้ก็จบ ไม่ใช่จะมารายได้นั้นต่อไป ต้องขวนขวายหาต่อไป ถ้าพึ่งโครงการรัฐมาก ก็ต้องอาศัยคอนเน็คชั่นเฉพาะคนมากและยังขึ้นกับความสามารถบริหารโครงการด้วยว่าควบคุมค่าใช้จ่ายดีไหม เป็นต้น การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ นั้นควรมุ่งมองระยะยาว และควรสอดคล้องกับเชิงปริมาณ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพให้เห็นภาพได้ครอบคลุมนั้นควรใช้ 5 Forces, Business Model, Moats และ Entrprise Risk Management (LEPESTO) ทั้งสี่แนวทางจะทำให้เราเห็นภาพเชิงคุณภาพทั้งในอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่ จุดได้เปรียบเสียเปรียบทางธุรกิจ เห็นว่าอะไรคือ ความได้เปรียบที่ยั่งยืน (Durable Competitive Advantage or Sustainable Competitive Advantage) เพราะสิ่งนี้คือสิ่งช่วยยืนยันการรักษาอัตราส่วนการเงินต่างๆ ให้เกิดความผันผวนน้อย ซึ่งความผันผวนนี้เอง

คือคาวมเสี่ยงทางการเงิน อัตราส่วนการเงินต่างๆ ให้เกิดความผันผวนได้เพราะธุรกิจมีความเสี่ยง เช่นยอดขายที่เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง ก็กระทบ Assets Turnover (AT) ราคาขายและต้นทุนวัถตถุดิบ ก็กระทบ GM (GrosMargin กำไรขั้นต้น) การขาดการควบคุมบริหารที่ดีก็กระทบถึง OM (Operating Margin) โครงสร้างการเงินไม่ดีไม่นิ่ง ก็กระทบ D/E กระทบถึงกำไสสุพธ นั่นคืออัตรากำไรสุทธิ NM (Net Margin) ซึ่งความเสี่ยงที่มากระทบนี้ ตรวจสอบด้วยการพิจารณา LEPESTO