วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

เมื่อสถาบันการเงินฟ้องและยึดทรัพย์ลูกหนี้-การบัญชี


ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี

เมื่อสถาบันการเงินฟ้องและยึดทรัพย์ลูกหนี้

ปกติการตั้งสำรองของสถาบันการเงิน จะตั้งสำรองเท่ากับ (ยอดสินเชื่อคงเหลือที่ต้องชำระ – มูลค่าหลักประกัน) คูณ อัตราตั้งสำรอง ซึ่งมาถึงขั้นฟ้องร้องก็จะใช้อัตราสูงสุดคือ 100% ถ้าลูกหนี้ใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน ก็เอามูลค่าที่ดินที่ใช้ค้ำหักออก แล้วที่เหลือก็ตั้งสำรองทั้งจำนวน ถ้าใช้รถยนต์ค้ำก็คิดทำนอนเดียวกัน ถ้าไม่มีหลักประกัน ก็ต้องตั้งสำรองทั้งหมด

              เมื่อศาลตัดสินเรียบร้อยว่าชนะคดีให้ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ในขั้นแรก ลูกหนี้ที่มีหลักทรัพย์เป็นหลักประกันสถาบันการเงินก็จะล้างลูกหนี้และสำรองออก และบันทึกมูลค่าทรัพย์สินนั้นป็นทรัพย์สินรอขาย ไม่ใข่การกลับสำรอง (สำรองโอนกลับ) ที่เราจะมักจะคิดว่าลงเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนครับ กรณีนั้นคือการที่ลูกหนี้ที่ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปแล้วเรียกเงินชำระมาได้ (จะกล่าวต่อไป)



ตย. สมมติศาลตัดสินคดีจบและสถาบันการเงินยึดหลักประกันตามคำพิพากษา

เดบิต ทรัพย์สินรอการขาย_______________50,000

เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ____________150,000

__________________เครดิต ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม______________200,000



ต่อมาสิ้นงวดสถาบันการเงินต้องตีมูลค่าหลักประกันใหม่เสมอ ถ้าราคาลดลงจะบันทึกด้อยค่า (ถ้าไม่ลดลงไม่ต้องบันทึกใดๆ)

เดบิต การด้อยค่าทรัพย์สินรอการขาย________5,000

__________________เครดิต ทรัพย์สินรอการขาย_______________5,000



เมื่อขายทรัพย์สินรอการขายออกไปได้มา 37,900

เดบิต  เงินสด______________________________37,900

เดบิต ขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย_____7,100

__________________เครดิต ทรัพย์สินรอการขาย_______________45,000



แต่ถ้าไม่ส่งฟ้องศาล แต่ลูกหนี้ที่ตั้งไว้ บางส่วนมีการเรียกชำระได้ 16,000 กรณีนี้ เราจึงมีการกลับรายการที่ตั้งสำรองกลับคืนมา กรณีที่กล่าวข้างต้นนี้ เราได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปแล้ว แต่ยังไม่ได้จำหน่ายลูกหนี้ออกจากระบบบัญชี ก็เพียงกลับรายการค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญ แล้วตั้งลูกหนี้กลับมาใหม่ แล้วเก็บเงิน

เดบิตลูกหนี้____________16,000

__________________เครดิตหนี้สงสัยจะสูญ_______16,000 (บางที่เรียกหนี้สูญรับคืน)

เมื่อเก็บเงินได้

เดบิต  เงินสด________________________16,000

__________________เครดิตลูกหนี้_________________16,000



ดังนั้นเมื่อเห็นมีรายการกลับสำรองหนี้สังสัยจะสูญขึ้น แสดงว่ามีการเรียกเก็บหนี้ที่ตั้งสำรองไปแล้ว ไม่ใช่การชนะคดีแล้วยึดทรัพย์ เงินที่เก็บได้ ก็ไม่ใช่ลงรายได้อื่น แต่คือค่าใช้จ่ายติดลบ (รายการโอนกลับ) บางที่เรียกหนี้สูญรับคืนนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

หลักการตลาด 4Ps-4Cs-4Es และ Business Model Vanvas


หลักการตลาด 4Ps-4Cs-4Es และ Business Model Vanvas

วันนี้ขอสรุปความเชื่อมโยงสั้นๆ สำหรับคนสนในเชิงคุณภาพ หลายครั้งพบว่าบางคนเมื่อพูดถึงการวิเคราะห์เชิงคุณภาพมักสรุปเพียงแค่ประเด็นสั้นๆ ประเด็นเดียว เช่นดูเพียงกิจการนี้ดีนะ มี Business Model ดีน่าสนใจ เพราะซื้อถูกขายแพง (เช่น กิจการซื้อหนี้เสียมาแล้วจัดเก็บได้เงินมามาก) นั่นไม่พอ เพราะ Business Model ต้องมองให้ครบทั้ง 9 ด้านคือ VCD CRA CRN (Value Proposition, Customer Target, Distribution Channel, Custoner Relationship, Resources, Ativities, Cost Structure, Revenues Stream, Networks or Partner) คนส่วนมากมองแค่ Cost กับ Revenues บ้างก็อาจมอง Customer แล้วก็สรุป ซึ่งแค่นั้นไม่พอ และผมเคยบอกว่าท่สำคัญสุดจริงๆคือ V- Value Proposition คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า กิจการที่ดีและโตได้ยาวนาน สิ่งนี้สำคัญที่สุดเพราะคือความยั่งยืนแท้จริง หากไม่ชัดเจน มักจะโตได้ระยะสั้นเท่านั้น ถ้าเป็นหุ้นก็ไม่ใช่หุ้น Strong Growth Stock or Blue Chip Stock อาจขึ้นได้แรงช่วงหนิ่ง แต่ไม่ใช่ถือยาวๆ

              ในด้านการตลาด เคยเขียนในหลายมิติ วันนี้ขอเอามาเชื่อมโยงสรุปเข้าด้วยกัน ในมุมของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพสำหรับการวิเคราะห์บริษัท ขอละคำอธิบายไว้เพราะจะยาวมากไป (เคยเขียนบทความไว้ เมื่อ 17/01/60)

4ps                      4Cs                       4Es                          Business Model Canvas

Products             Customer              Experience               Value Proposition, Customer Target         

Price                   Cost                      Exchange                 Cost Structure, Revenues Stream

Place                   Convenience        Everywhere              Distribution Channel

Promotion          Communication   Evangelism               Customer Relationship, Networks or Partner

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

การตีราคาสินทรัพย์กับผลกระทบทางการเงินในมุมทั้งงบการเงินและการเงินธุรกิจ


การตีราคาสินทรัพย์กับผลกระทบทางการเงินในมุมทั้งงบการเงินและการเงินธุรกิจ

มีข่าวล่าสุดไม่นานที่บริษัทเตรียมเข้าตลาดในไม่กี่วันนี้ได้มีการแจ้งถึงการเปลี่ยนนโยบายบัญชี จากการตีราคาใหม่เป็นราคาทุน มีบางคนบอกว่าที่เปลี่ยนเพราะมาตรฐานการบัญชีเขาเลิกใช้แล้วเลยเลิกตี  ต้องบอกก่อนว่าเข้าใจผิด มาตรฐานการบัญชี ฉบบัที่ 16 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ ให้เลือกได้ โดยกำหนดว่ากิจการต้องเลือกใช้นโยบายบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุนที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ 30 หรือวิธีการ ตีราคาใหม่ตามที่กำหนดไว้ในนย่อหน้าที่ 31 ทั้งนี้ กิจการต้องใช้นโยบายบัญชีเดียวกันสำหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน หมายความว่าให้ทำได้ ไม่ได้ยกเลิกครับ ผมอ่าน comment เห็นบางคนบอกว่ามาตรฐานบัญชีเลิกใช้เลยยกเลิก อันนี้เข้าใจผิดอย่างแรง ส่วนการจะเลือกหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี ไม่ใช่เรื่องผิดหลักบัญชี เพียงแต่ส่งผลในทางการเงินระยะยาวต่างกัน ทั้งดีและเสียทั้งยังอาจสะท้อนนัยบางอย่างได้

1.     มาพิจารณาเรื่องหลักการคิดค่าเสื่อมราคาก่อน ในทางบัญชีเพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงเรื่องการจับคู่รายได้กับรายจ่าย (ปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว แต่มันคือแนวคิดแรกๆ ของ GAPP) นั่นคือเรื่องบัญชีแบบพื้นๆ ถ้าให้ลึกขึ้นคือหลักของ capital maintenace (ทุนรักษาระดับ) เรื่องนี้จะยาก อธิบายง่ายๆ สมมติถ้าบริษัทลงทุน 100 นำเงินไปซื้อเครื่องจักร 100 อายุ ใช้งานได้จริง 10 ปี ถ้าทำของขายได้กำไรมา 30 (ก่อนหักค่าเสื่อมแต่หักต้นทุนและรายจ่ายอื่นแล้ว) ถ้าไม่หักค่าเสื่อม จะแสดงกำไร 30 ถ้าจ่ายปันผล 100% ของกำไรจะจ่าย 30  สมมติขายสดจ่ายสดทั้งหมด งบการเงินแบบไม่หักค่าเสื่อมจะเป็นดังนี้

เครื่องจักร      100       =       ทุน     100

จะเกิดอะไรขึ้นในปีที่ 10 สินทรัพย์ จะด้อยค่าทันที 10 เพราะใช้งานต่อไม่ได้เพราะหมดอายุขาดทุนทันที 100 และกิจการก็ไม่เหลือเงิน หากจะต้องการผลิตขายต่อ ก็ต้องเพิ่มทุน 100 เพื่อเอาเงินไปซื้อเครื่องจักร 100 ใหม่ ถ้าเครื่องจักรราคาคงเดิมกิจการต้องเพพิ่มทุนทุกๆ 10 ปี โดยไม่ได้มี growth แต่เพียงเพื่อรักษาตลาดเดิมรักษากำไรคงเดิมไว้

2.     กรณีเดิมหากตัดค่าเสื่อมราคา กำไรจะเหลือ 20 (30 คือกำไรก่อนหักค่าเสื่อมแต่หักต้นทุนและรายจ่ายอื่นสมมติขายสดจ่ายสดทั้งหมด เงินจะมีอยู่ 30 จ่ายปันผล 100% ของกำไรจะจ่ายปันผล 20 งบการเงินแบบหักค่าเสื่อมจะเป็นดังนี้

เงินสด  10      เครื่องจักร 90       =       ทุน     100

ในปีที่ 10 สินทรัพย์จะเป็นเงินสด 100 ทุน 100 เครื่องจักรหมดพอดี หากพอใจตลาดเดิม ผลกำไรที่ได้ กิจการก็เอาเงินไปซื้อซื้อเครื่องจักร 100 ใหม่อีกครั้ง (reinvestment) แม้ไม่มี growth แต่สามารถดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง (going concern) นี่คือหลักสำคัญทำไม่ต้องหักค่าเสื่อมราคา ก็เพื่อให้กิจการสามารถมีสามารถดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง (going concern) และ รักษาตลาดเดิมรักษากำไรคงเดิมไว้

ตามแนวคิดของ capital maintenace (ทุนรักษาระดับ)

3.     จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเครื่องจักมีราคาสูงขึ้น หากใช้ราคาทุนตัด ผลคือสุดท้ายกิจการจะมีเงินสด (สินทรัพย์) ไม่เพยงพอในการ ลงทุนใหม่อีกครั้ง (reinvestment) ณ เวลานั้น ทำได้สองอย่างคือไม่กู้ก็เพิ่มทุน หมายถึงหนี้สินต่อทุนจะสูงขึ้นหรือเกิด dilution ดังนั้นมาตรฐานจึงให้เลือกการตีราคาใหม่ได้ ไม่ใช่เพียงใช้หลักราคาทุน

4.     การใช้ราคาทุนมีข้อดีคือเรื่องของหลักฐานอันเที่ยงธรรม (Faithfull Evidence) ชัดเจนในเรื่องที่มาที่ไป มีเอกสารทางบัญชี การตีราคาใหม่ความจริงมตรฐานก็พยายามใช้ขัดครับ แต่ราคาตลาดบางทีสินทรัพย์บางรายการก็พิสูจน์ยากชัดเจนได้ยากกว่าหลักราคาทุน เพราะราคาตีใหม่มักนิยมใช้ราคาอ้างอิง ไม่ใช่ราคาที่กิจการใช้ทรัพยากรแลกเปลี่ยนมา

5.     ในประเด็นทางบัญชีคงพอจะเข้าใจมากขึ้นนะครับ ทีนี้มาดูสั้นว่าถ้าตีขึ้นจะเกิดอะไร สมมติกรณีเดิม ปีที่2 ถัดมา เครื่องจักรมีราคา เพิ่มขึ้นจาก BV 90 เป็น 99 นั่นคือตีราคาใหม่เพิ่มขึ้น 9 (ถ้าซื้อสภาพใม่ต้องซื้อที่ 110)จะลงรายการดังนี้

เดบิต เครื่องจักร   9

เคดิต ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์    9  >>> ลงในกำไรท่อน 2 OCI

ค่าเสื่อมราคาปีที่สองเท่ากับ 10+9/9 = 11 กำไรจะเหลือ 30-11 = 19  สมมติขึ้นราคาขายไม่ได้ รายยการอื่นคงที่ เงินจะมีอยู่ 30 จ่ายปันผล 100% ของกำไรจะจ่ายปันผล 19

สิ้นปีที่สอง งบจะแสดง ดังนี้  เงินสด  21 + เครื่องจักร 88  =  ทุน  100 เงินสดปีที่แล้ว มี 10 ปีนี้ เหลือ 11

พอถึงปีที่ 10 เงินสดจะเหลือ 109 ขาดเล็กน้อยเพราะปีแรกสำรองน้อย กู้เพิ่มหรือเพิ่มทุนไม่มาก

6.     ดังนั้นการใช้นโยบายตีราคาใหม่ในทางทฤษฏี เพื่อกันเงินสดในกิจการไว้ ถ้าคนเคยอบรมกับผม ผมเคยบอกว่ามันคือกรงขังเงินสดไว้ในกิจการเอาออกไม่ได้ในการปันผล อยากเอาออกก็เอาไปซื้อหุ้นคืนซะ หรือได้อีกหลายๆ วิธี แต่ไม่ใช่เรื่องดีเท่าไรต่อกิจการในระยะยาว

7.     เขียนอธิบายมายาวพอควรแล้ว สรุปผลทางการเงินการตีราคา PPE มักต้องการผลคือ

ก.    ทำให้ D/E ดูดีขึ้น เพราะเมื่อตีราคาเพิ่ม Equity เพิ่ม แต่หนี้ไม่เพิ่ม อันนี้หลอกตาได้ ขั้นที่ 1

ข.    ทำให้ BV เพิ่ม ส่งผลให้  P/BV ลดลงดูเหมือนราคาถูกลง อันนี้หลอกตาได้ ขั้นที่ 2

ค.    ข้อดีระยะยาว สะท้อนด้านการดำเนินงานการจ่ายปันผลใกล้สิ่งที่ควรเป็นที่สุด ระยะยาว ลดการเพิมทุนมากๆ ก่อหนี้มากๆ เพราะเก็บเงินสดไว้มากขึ้น

ง.    การที่กิจการกำหนดนบายครั้งงแรกว่าใช้วิธีการตีราคาใหม่ ย่อมแสดงว่า กิจการเชื่อว่าราคาสินทรัพย์ดำเนินงานเช่นครื่องจักร โรงงานจะมีแนวโน้มราคาเพิ่ม การย้อนกลับมาใช้ราคาทุนจะทำให้ระยะยาวเมื่อจบโคงการถ้าจะดำเนินการต่อ อาจต้องกู้มากขึ้น หรือเพิ่มทุน ในช่วงเวลาการดำเนินงานจากนี้ไป D/E จะเพิ่มขึ้นได้ จะกลายเป็นความเสี่ยงด้าน Solvency

จ.    สิ่งที่ทำได้เพื่อไม่ให้เกิด ข้อ ง. คือจ่ายปันผลในอัตราที่ต่ำลง เช่นควรจ่าย 50% ก็เหลือ 30% เป็นต้น ผลการจ่าย payout ที่ไม่สอดล้องกับ sustainable growth จะทำให้ส่งผลกับราคาหุ้นหรือมูลค่าหุ้นในเชิงลบมากกว่าบวก

8.        ในหลายกิจการที่ใช้ราคาทุน สิ่งสำคัญคือการรักษาระดับ D/E และอัตราการจ่ายปันผลในระดับพอเหมาะและนิ่ง จึงจะดีในระยะยาว ส่วนวิธีราคาตีใหม่ระดับ D/E จะต่ำกว่าและอัตราการจ่ายปันผลจะจ่ายอัตราสูงกว่าเพราะกันเงินไวแล้วผ่านกำไร

9.        การเปลี่ยนนโยบายบัญชีเพื่อโครสร้างการเงินถือว่าดี แต่หากเพื่อผลการแสดงกำไร ดูไม่ดีเพราะเป็นการทำ creative accounting แบบหนึ่ง