วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

สินค้าคงคลังหาย


สินค้าคงคลังหาย

เมื่อวานนี้ GGC ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมิคอล ประกอบด้วย เมทิลเอสเทอร์ แฟตตี้แอลกอฮอลส์ แฟทตี้แอซิด แฟทตี้เอมีน และเอสเทอร์ของแอลกอฮอลส์อื่นๆ ได้รายงานผ่านตลาดว่า ณ 31 พค 61 วัตถุดิบจำนวน 71,848 ตัน มูลค่าราว 2,100 ลบ. (เฉลี่ยตกราวตันละ 30,000 บาท) เมื่อเปรียบเทียบกับยอดรายงายในหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม ณ 31 มีค. 2561  วัตถุดิบมีมูลค่า 1,329 ลบ. แสดงว่าในช่วง เมย. - พค. 61 ต้องมีการซื้อมากกว่า 800 ลบ. หรือมากกว่า 27,000 ตัน ประเด็นที่น่าสนใจคือ

1. มูลค่าวัตถุดิบที่สูญหาย ราว 14.5% สินทรัพย์รวม ณ 31 มีค. 2561 หรือเทียบกับรายได้ เท่ากับ 45% ขณะที่มี GM ราว 4.5-5% เท่ากับรายได้ไตรมาสที่สองนี้ จะหายไปราว เกือบ 45-50% กำไรขั้นต้นที่ได้มาจะไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายคงที่ในการดำเนินงาน (S&A) ที่มีราว 178 ลบ ณ 31 มีค. 2561 และเมื่อหุกค่าใช้จ่ายจากการสูญหายสินค้าอีกราว 2,100 ลบ ขาดทุนจะเกิดจำนวนมาก (1Q61 NI = 63 MB; Y60 NI = 521 MB)

2. บริษัทกล่าวว่าวัตถุดิบนี้ฝากไว้กับคู่ค้า และสญหายไป ตามการเปิดเผยในหมายเหตุ บริษัทมีสัญญาให้บริการรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์กับบริษัทใหญ่ลำดับสูงสุด และกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง และข้อมูลล่าสุด  PTTGC คือผู้ถือหุ้นใหญ่ หมายความว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากวัตถุดิบหายคือ PTTGC

3. GGC อ้างว่าระบบการควบคุมภายในดี เพียงแต่พนักงานไม่ปฎิบัติตามระบบ แต่ผมกลับมองตรงข้าม และขยายประเด็นแตกต่างออกไป คำว่าการควบคุมภายในที่ดี ไม่ใช่การมีคู่มือตัวอักษรเป็นเล่มๆ สมบูรณ์ แต่ต้องรวมถึงการปฏิบัติตามระบบด้วย (Compliance) เพราะการเขียนให้ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) ดูดีใครๆ ก็ทำได้ มีตำราบอกไว้ แต่หัวใจสำคัญหนึ่งของการควบคุมภายในคือ การทำให้เกิดการปฏิบัติตามระบบ ดังนั้นการที่พนักงานไม่ปฏิบ้ติตามระบบ บ่งบอกว่าขาดระบบการควบคุมภายในที่สำคัญ หรือบริษัทหย่อนยานในการ review และตรวจสอบการทำตามระบบ

4. เนื่องจากเกี่ยวพันกับคู่ค้าที่เป็นผู้รับฝากสินค้าคือ PTTGC จึงเป็นไปได้สองประเด็นคือ หนึ่ง PTTGC ไม่ได้แยกสินค้าของบริษัท PTTGC และ GGC ออกจากกันชัดเจนหรือวางปะปนกัน เมื่อทาง PTTGC เบิกใช้ผลิตภายในหรือขาย อาจมีการหยิบหรือจำหน่ายออกจากคลังสินค้าผิดโดยเอาของ GGC ไปแทน ของจึงหายไป หรือ สอง สินค้า (วัตถุดิบ) อาจไม่ได้หาย แต่ถูกจัดเก็บในสถานที่คลังสินค้าอื่น หรือกล่าวง่ายๆ คือระบุที่เก็บผิดในระบบคอมฯ (PTTGC และ GGC ลงรายละเอียดที่จัดเก็บอ้างอิงต่างกัน) เมื่อตรวจสอบข้อมูลจึงไม่พบสินค้า

5. ผมตัดประเด็นการขโมยของเพราะคิดว่า สินค้า (วัตถุดิบ) ที่หายไม่ใช่สินค้าบริโภคทั่วไป เป็นสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ผลิตเฉพาะอุตสาหกรรม และจำนวนมากเป็นหลายหมื่นตัน การขโมยขายจึงเป็นไปได้ยาก ร้านขายของเก่าก็ไม่น่ารับซื้อ เมื่อขายยาก จึงไม่รู้ขโมยไปทำไม และจำนวนมากขนาดนี้ถ้าขายโรงงานผลิต ก็ถือว่า volume มาก มีกี่โรงงานที่รับซื้อของจากคนธรรมดาโดยไม่ผ่านบริษัท

6. ย้อนกลับมาที่ประเด็นกล่าวในข้อสี่ ผลกระทบต่อ GGC ได้กล่าวถึงในข้อ 1. ไปแล้ว แต่ในข้อนี้จะเกี่ยวโยงไปถึง PTTGC ไม่ใช่เพียงแค่รับรู้ผลขาดทุน แต่ประเด็นนั้นกระทบน้อยมาก PTTGC มีกำไรงบรวม 1Q61 ที่ 12,000 MB ส่วน GGC มีกำไร 63 MB ถึงแม้ GGC จะขาดทุน แต่รายการดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกัน จะหายจริงหรือไม่ก็ตาม ในการทำงบรวมจะตัดออก (รายการระหว่างกัน) ด้วยจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับ PTTGC และตัดออกในการทำงบการเงินรวม จึงไม่มีผลอย่างเป็นนัยะต่อ PTTGC

7. แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ PTTGC หยิบวัตถุดิบผิดไปผลิตหรือขาย จะมีผลทำให้สินค้าคงเหลือของ PTTGC ผิดไปแน่นอน ในแง่งบรวมอาจไม่มีผล แต่ PTTGC ได้คะแนน CG 5 เต็ม แต่ระบบการควบคุมภายในระหว่างบริษัทในกลุ่มหละหลวม คะแนนที่ได้ยังน่าเชื่อถืออยู่เพียงใด ข้อนี้อาจบ่งชี้ว่าทั้งกลุ่ม ปตท. แท้จริงแล้ว มีการควบคุมภายในและระบบบัญชีที่มีประสิทธิผลดีจริงหรือไม่

8. ผลทางบัญชีที่มีต่องบ PTTGC เมื่อสินค้าคงเหลือผิด จะส่งผลให้กำไรผิดด้วย สินค้าแสดงมากไป กำไรก็จะมากไป สินค้าแสดงต่ำไปกำไรก็จะแสดงน้อยเกินไป แม้ขนาดรายการเมื่อเทียบกับ PTTGC จะไม่มาก แต่ก็ทำให้ขาดความมั่นใจต่อการแสดงมูลค่าใบงบการเงินรายการอื่นๆ

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน และตลาดหุ้น


อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน และตลาดหุ้น

ปัจจัยหลายประการเป็นตัวกำหนดค่าเงิน เช่น

1.         ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อ

2.         ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย

3.         การมีบัญชีเดินสะพัดขาดดุล มีความหมายว่าประเทศได้ใช้จ่ายเงินในกิจการค้าระหว่างประเทศเกินขีดความสามารถในการหารายได้ของประเทศ ค่าเงินจะอ่อนลง กลับกันจะแข็งขึ้น

4.         หนี้สาธารณะประเทศ ยิ่งมีระดับสูงยิ่งอ่อนลง

5.         เสถียรภาพทางการเมืองและความสามารถเชิงเศรษฐกิจ  

การปรับตัวลงของตลาดหุ้นในปัจจุบันนี้ ที่กล่าวกันคือ การปรับสัดส่วนการลงทุน (ปรับ Portfolio) ในตลาด Emerging Market ทั่วทั้งโลก (บทความที่เขียนเมื่อ 25/5/2561) Market Catialization ของไทย เมื่อเทียบกับอเมริกาน้อยมากราว 1% กว่าๆ เท่านั้น แต่เขาลงทุนในตลาดไทย น่าจะกว่า 1.0 TBht (ล้านๆ บาท) ถามว่าเขาจะขายจนหมดเลยไหม ตอบเลยว่าไม่แน่นอน เพราะถ้าเราสังเกตทุกวันที่ขายก็มีซื้อ เพียงแต่สุทธิเป็นลบ เปรียบเหมือนขายออก แล้วซื้อกลับในราคาต่ำกว่าที่ขาย แสดงว่ายังไงก็มีหุ้นใน Portfoio ดังนั้นจึงไม่ใช่การขายเพราะพื้นฐานเปลี่ยนทุกตัว (บางตัวพื้นฐานอาจเปลี่ยน บางตัวไม่ใช่) จึงอย่าตระหนก แต่ให้กลับมายึดหลักการเสมอ ดูงบการเงิน ดูภาพในระยะยาว



ถ้าค่าเงินบาทอ่อน ตปท. จะขายหุ้นเสมอและหุ้นจะลง คิดง่ายๆ นะครับ ต้นปี ซื้อหุ้น 1 USD ที่อัตรา 31 Bth/USD ถ้าแนวโน้มบาทจะอ่อนลง 10% ถือหุ้นเฉยๆ จะขาดทุนในรูป USD 10% คือ 31/34 = 0.91 USD ดังนั้นเพื่อป้องกันเงินหายไปจากการถือหุ้นเงินบาท ก็ขายก้อนเงินบาทจะอ่อนไปที่ 34 ถ้าขายที่ ค่าเงินที่ 32 (สมมติราคาหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อง่ายต่อการคิดคำนวณ) จะได้เงินกลับไปที่ 31/32 = 0.97 USD ขาดทุน 3% ซึ่งดีกว่าถือไปเฉย จะเห็นว่าพื้นฐานหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแต่ค่าเงินปลี่ยน มุมมองคิดว่าอนาคตจะอ่อนลง การขายก็จะเกิดขึ้น

ทฤษฎีของอัตราแลกเปลี่ยน ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 แนวคิด คือเงินเฟ้อกับอัตรดอกเบี้ยแท้จริง

1) แนวคิดทฤษฎี Purchasing Power Parity (PPP เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน แนวคิดนี้กล่าวถึงการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ว่า “อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลใดๆจะถูกกำหนดจากปริมาณสินค้าและบริการที่สนองความต้องการซื้อของประเทศโดยเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศ หรือสามารถแสดงในรูปของสัดส่วนของระดับราคาสินค้าและบริการระหว่างประเทศ โดยระดับราคาจะเป็นเครื่องมือสะท้อนถึงค่าของเงินของแต่ละประเทศ ซึ่งก็คืออัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง” หรือ ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP) การใช้ทฤษฎีนี้ในการอธิบายอัตราแลกเปลี่ยนต้องตั้งข้อสมมติว่า

1) ระบบเศรษฐกิจไม่มีภาพลวงตาทางการเงิน  คืออุปสงค์และอุปทานของสินค้าทุกชนิดในแต่ละประเทศเป็น Homogeneous degree zero

2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินไม่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ  หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่คำนวณจากค่า PPP ไม่กระทบโดยนโยบายการเงิน

เขียนเป็นความสัมพัน์ได้ดังนี้   S1/S0= (P1/P0) / (P*1/P*0)   หรือ คิดง่ายๆ FX =  k (P/ P*)

เมื่อ S1 และ  S0 คือ Spot Rate ปีที่ 1 และปีปัจจุบัน (0) ส่วนP คืออัตราเงินเฟ้อประเทศ  P* อัตราเงินเฟ้อประเทศเปรียบเทียบ

2) แนวคิดทฤษฎี Monetary Approach ด้วยการพิจาณา real interest rate differential อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเปรียบเทียบตามแบบจําลองนี้ ถ้าอัตราดอกเบี้ยที่ แท้จริงไม่ได้ดุลยภาพ อัตราแลกเปลี่ยนจะห่างจากอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพระยะยาว ถ้าอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงภายในประเทศต่ำกว่าต่างประเทศ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินตรา ภายในประเทศจะมีค่าต่ำเกินไป (undervalued) เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพระยะ ยาว ก็จะมีการคาดคะเนการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินตราภายในประเทศชดเชย

เขียนเป็นความสัมพัน์ได้คล้ายแบบแรกดังนี้   S1/S0= (r1/r0) / (r*1/r*0)   หรือ คิดง่ายๆ FX =  k (r/ r*)

เมื่อ r คือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง real interest rate = norminal rate – inflation rate

ความจริงมีอีกหลายทฤษฎี แต่ที่นิยมใช้อ้างอิงคือสองเรื่องนี้

Norminal rate ใช้อัตรา Prime rate is a commonly used, short-term interest rate in the banking system of the United States. ของอเมริกาอยู่ที่ 5%

U.S. Prime Rate = (The Fed Funds Target Rate + 3) The Fed Funds Rate อยู่ราวๆ 2%

ของไทยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารอยู่ที่ 1.5%

อัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ที่ 0.7% อเมริกา 2.5% การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อของไทยจะสูงขึ้นไปที่ราวๆ 1% ของอเมริกาจะลดลงไปที่ราว 2.2-2.3% ดังนั้นในมุมมองสามถึงหกเดือนอัตราดอกเบี้ยแท้จริงไทย

จะห่างจากอเมริกามากขึ้น

ถ้าพิจารณาดอกเบี้ยจะเห็นชัดว่า อเมริกายังมีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง จึงทำให้ทั้งในแง่อำนาจซื้อเปรียบเทียบและอัตราดอกเบี้ยแท้จริงดีกว่าไทย ดังนั้นระยะสั้นๆใน 3-6 เดือนค่าเงินจะยังค่อยๆอ่อนค่าลงได้ แต่อัตราดอกเบี้ยอเมริกาไม่สามารถขึ้นสูงได้นานเพราะจะกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจได้หากสูงเกินไป นอกจากนี้ ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น การดุลบัญชีเดินสะพัด (ดุลการค้าเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่ง) ระดับหนี้สาธารณะ และเสถียรภาพทางการเมืองและความสามารถเชิงเศรษฐกิจ การทำสงครามการค้าในปัจจุบัน เพราะอเมริกาต้องการพลิกการขาดทุนดุลการค้าให้กลับมาบวก แต่ระยะยาวผมเชื่อว่าจะมีผลเสียต่ออเมริกามากกว่าบวก จะต่อเสถียรภาพทางความสามารถเชิงเศรษฐกิจ



ด้วยเหุตปัจจัยหลายๆ อย่างและประกอบกับแนวคิดทางหลักวิชาการสนับสนุน ทำให้เชื่อได้ว่าในระยะสามถึงหกเดือนข้างหน้าเราอาจจะยังเผชิญแรงกดดันจากการอ่อนค่าเงินได้ และจะค่อยๆลดความรุนแรงลง เมื่อแรงกดดันค่าเงินหมด ตลาดหุ้นจะกลับมาอีกครั้งด้วยภาพใหญ่ เศรษฐกิจไทยยังดูดีอยู่ในปีต่อๆไป