วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การลงทุนในหุ้นเติบโตที่ดีในระยะยาว


ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี 

การลงทุนในหุ้นเติบโตที่ดีในระยะยาวควรเป็นการเติบโตด้วย Organic Growth ซึ่งการเติบโตแบบนี้จะดีหากควบคู่ไปกับการเติบโตในลักษณะ  Sustainable growth รูปแบบทั้งการเติบโตทั้งสองแบบ จะเน้นพิจารณาคนละฝั่ง

1.     Organic Growth เป็นการพิจารณาด้าน Use of Fund (Assets Side) เป็นเรื่องของการตัดสินใจเรื่อง Capital Budgeting  และ Asset Allocation เพื่อ Make Profit และ Generare Cash Fliow ให้มี Effifiency ที่สุด เกิดกระแสเงินสดด้าน CFO ที่มีคุณภาพและแข็งแกร่ง

2.     Sustainable Growth เป็นการพิจารณาด้าน Sources of Fund (Debts and Equity Side) เป็นเรื่องของตัดสินใจเรื่อง Capital Structure และ Cost of Capital เพื่อให้กิจการมีความสามารถในด้าน Stay Sovency ในระยะยาว และสามารถสร้าง Maximized and Sustainable Shareholders’ Value Creation

การหาหุ้นเติบโต จึงไม่ใช่ดูเพียงกำไรเพิ่มหรือเติบโตเท่าไร ดังคำที่กล่าวว่า Profit is not more important than the sources of profit กำไรไม่สำคัญมากกว่าที่ของกำไร

เงินลงทุนของบริษัท ข้อสังเกตการทำ Creative accounting & Siphon 1. สิ่งแรก ดูเงินลงทุนในร่วมและย่อย บริษัทจะแสดงที่ราคาทุนการลงทุน ปัจจุบันให้เลือกแสดงได้ด้วยทุน หรือวิธีส่วนได้ส่วนเสีย แต่หากเปลี่ยนวิธีต้องปรับปรุงย้อนหลังเสมือนทำมาย้อนหลัง จึงคาดว่าไม่มีใครอยากทำ เพราะเพิ่มงานและไม่มีผลต่อราคาหุ้นที่เกิดไปแล้ว นักลงทุนก็วิเคราะห์โดยดูงบรวมและงบแสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุนอยู่แล้ว และหากใครแสดงในงบเฉพาะด้วยราคาทุน ก็ต้องแสดงงบวิธีส่วนได้ส่วนเสียเปรียบเทียบอยู่ดี จึงไม่มีผลใดๆ 2. สังเกตเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบเฉพาะกิจการที่แสดงด้วยราคาทุนกับงบการเงินที่แสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุน หากกิจการของเงินลงทุนในร่วมเติบโตมีกำไร มูลค่าจะสูงกว่ารายการที่แสดงในงบเฉพาะ กิจการร่วมที่ลงทุนนั้นมีกำไร และหากจะดูให้ละเอียดขึ้น ให้ใช้ร่วมกับงบกำไรขาดทุน ดูที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม หากเงินลงทุนปีก่อน (ด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย) บวกกำไรส่วนแบ่ง บวกการลงทุนเพิ่ม มากกว่าเงินลงทุนในร่วมตามวิธีวิธีส่วนได้ส่วนเสียแล้วในงวดปัจจุบันแล้ว แสดงว่าระหว่างนั้นมีการจ่ายปันผลจากบริษัทร่วม 3. การจ่ายปันผลจากร่วมให้บริษัทให้บริษัทแม่ จะไม่แสดงรายได้เงินปันผลในงบรวมหรืองบที่แสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุน แต่ถ้าอยากทราบ ให้ดูจากงบกระแสเงินสดในกิจกรรมการลงทุน 4. สิ่งที่ได้เราจะได้เพียงภาพรวมแต่ไม่สามารถทราบรายบริษัทที่ลงทุน แต่นั่นไม่สำคัญ กิจการที่ดีที่ผู้บริหารมีความรับผิดชอบต่อเงินผู้ถือหุ้น ต้องเลือกลงทุนในกิจการที่สร้างผลตอบแทนที่ดี หรือถ้าไม่สร้างกำไร ต้องเป็นกิจการที่เป็น Strategic Parners ที่ดี ซึ่งหมายความว่า ถ้ากำไรส่วนแบ่งต่ำ ผลตอบแทนเงินลงทุนต่ำ ROA ภาพรวมของกิจการต้องดี ถ้า ROA ยังต่ำแสดงว่ากลยุทธ์ลงทุนที่บริษัทตัดสินใจอยู่กำลังน่าจะเดินผิดทาง 5. ดังข้อ 4 ถ้าการลงทุนในร่วมนั้นมีกรรมการร่วม มีการปล่อยเงินกู้ยืมระหว่างกันมาก กำไรไม่มี ROA ก็ต่ำตามที่กล่าวมา มีโอกาสที่จะ siphon ผ่านการกู้ยืม และจ่ายซื้อหุ้นราคาสูงให้ผุ้ถือหุ้นเดิมได้ แม้จะไม่ได้ถือหุ้นเกินกว่า 50% ก็ตาม แต่เงินไหลออกไปแล้ว 6. กรณีถือเกิน 50% จนเป็นบริษัทย่อย ใช้วิธีการเดียวกัน แต่การถือตั้งแต่ 50% ต้องทำงบการเงินรวม ในงบการเงินรวมเราจะไม่เห็นเงินลงทุนในบริษัทย่อย สินทรัพย์และหนี้สินในบริษัทย่อย จะนำบวกรวมตามรายการด้วยมูลค่ายุติธรรม และตัดรายการระหว่างกันออก 7. จำไว้ง่ายๆ ว่า บริษัทย่อยจะเปรียบเหมือนแผนกใหญ่หนึ่งในบริษัทแม่ มองทั้งกลุ่มเป็น Entity หรือหน่วยธุรกิจเดียวกัน 8. ในการทำงบรวม สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทลูกต้องตีด้วยมูลค่ายุติธรรม ดั้งนั้นส่วนเจ้าของก็จะแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม เงินลงทุนในงบเฉพาะจะแสดงด้วยเงินที่จ่ายซื้อ 9. ถ้าราคาจ่ายซื้อหุ้นลูกสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม ส่วนที่จ่ายเกินจะแสดงเป็นค่านิยม ดังนั้นหากมองเร็วๆ จากงบการเงินเฉพาะกิจการมีเงินลงทุนในย่อย X บาท แล้วงบการเงินรวมแสดงค่านิยม G บาท แสดงว่าสินทรัพย์สุทธิที่ลงทุนมีมูลค่ายุติธรรม X-G บาท 10. ยิ่งค่านิยมสูงแสดงว่ากิจการแม่จ่ายซื้อแพงกว่ามูลค่าตลาดยุติธรรม ตรงนี้แหละที่ต้องระวัง เพราะอาจเป็นหรือไม่เป็นช่องทาง Siphon ได้ทั้งสิ้น คือจ่ายเงินซื้อหุ้นให้ผู้ถือหุ้นย่อยในราคาสูงด้วยเงินของกิจการใหญ่หรือแม่ 11. หากยิ่งมีการปล่อยกู้ให้ย่อย (ซึ่งจะเห็นได้ในงบเฉพาะ งบรวมจะไม่เห็นเพราะรายการระหว่างกันจะตัดออก) จะบ่งชี้ถึงการโยกย้ายเม็ดเงินออกจากบริษัทใหญ่ เปรียบย่อยไม่ต่างจากเห็บดูดเลือด 12. ต่อมาดู ROA ของงบการเงินรวม (ที่รวมค่านิยมไว้ด้วย) ว่าดีไหม ลดลงไหม ถ้าต่ำ หรือลดลงจากการซื้อย่อยรวม ย่อยบ่งชี้ว่าการลงทุนในย่อยนั้นเป็นกลยุทธ์ที่อาจมีปัญหา ไม่สมเหตุสมผลทางการเงิน ตรงนี้นักลงทุนมักถูกหลอกด้วยเรื่องเล่าอันสวยหรูจากผู้บริหารว่าลงทุนดีอย่างนั้นอย่างนี้ 13. กรณีซื้อบริษัทย่อยต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม จะไม่มีค่านิยม แต่จะเกิดกำไรจากการต่อรอง ตรงนี่อาจมีทั้งดีและไม่ดีได้ ต้องพิจารณาดีๆ 14. การซื้อได้ราคาถูกมากๆ จะบันทึกกำไรจากการต่อรองสูง ทำให้กำไรงบรวมเพิ่มอย่างมีนัยได้ ข้อคิดคือกิจการดีแต่คนเดิมขายถูก กิจการลูกนั้นดีจริงหรือไม่ ถ้ามีอนาคตทำไมขายถูกมากเกินไปจนกำไรจากการต่อรองสูงมาก ถ้าไม่มากยังพอมีเหตุผล คนทำธุรกิจหากกิจการพอมีอนาคตบ้างคงไม่ขายถูกเหมือนโยนทิ้ง ถ้าต่อรองมาแบบถูกมากๆ ผมจะมองแบบไม่ไว้วางใจนัก หากถูกพอประมาณยังรับได้ 15. กิจการที่เป็นร่วมหรือย่อย จะไม่มีการตีราคาหุ้นที่ตลาด ตีราคาสินทรัพย์หนี้สินได้ ส่วนเกินจากการตีมูลค่าเพิ่มจะไปแสดงเพิ่มในท่อนสอง ไม่รวมในกำไรขาดทุนงวดปัจุบันหรือท่อนหนึ่ง 16. กรณีที่สูญเสียการควบคุมต้องหมายถึงเมื่อก่อนควบคุมคือเป็นบริษัทย่อย แต่มีกลุ่มใหม่มาถือหุ้นเพิ่มจากการเพิ่มทุนแล้วแม่เสียสัดส่วนจากย่อยจนเป็นร่วมหรือต่ำกว่า แต่การคำนวณต้องเป็นการสละหรือสูญเสียในหุ้นสามัญที่บริษัทมีการควบคุม กำไรเกิดจากการที่แม่ได้ส่วนเพิ่มจากการที่คนใหม่จ่ายแพงกว่าราคาบัญชีหรือทุนที่แม่ถือ ถ้าคนใหม่จ่ายต่ำก็ขาดทุนได้ ย้ำครับว่ต้องหมายถึงหุ้นสามัญในระดับเดียวกัน (Claim) ที่กิจการจะได้รับ ไม่ใช่ Claim ที่เหนือกว่า เพราะถ้าเป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ ส่วนที่จ่ายเกิน ห้นสามัญจะไม่มีสิทธิได้เลยต้องคืนหุ้นบุริมสิทธิ์เท่านั้น ประเด็นนี้ คือส่วนที่ PACE บันทึกกำไรจาการสละการควบคุมผิดทั้งจำนวณกว่าแปดพันแปดร้อยล้านบาท 17. สุดท้ายลองกลับไปพิจารณาบริษัทที่ล้มเหลว มีปัญหาจำนวณมาก สังเกตให้ดี มีจุดเริ่มจากการลงทุนแบบนี้โดยส่วนใหญ่ ล้มเหลวในย่อยแทบทั้งสิ้น

เงินลงทุนของบริษัท ข้อสังเกตการทำ Creative accounting & Siphon
1.     สิ่งแรก ดูเงินลงทุนในร่วมและย่อย บริษัทจะแสดงที่ราคาทุนการลงทุน ปัจจุบันให้เลือกแสดงได้ด้วยทุน หรือวิธีส่วนได้ส่วนเสีย แต่หากเปลี่ยนวิธีต้องปรับปรุงย้อนหลังเสมือนทำมาย้อนหลัง จึงคาดว่าไม่มีใครอยากทำ เพราะเพิ่มงานและไม่มีผลต่อราคาหุ้นที่เกิดไปแล้ว นักลงทุนก็วิเคราะห์โดยดูงบรวมและงบแสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุนอยู่แล้ว และหากใครแสดงในงบเฉพาะด้วยราคาทุน ก็ต้องแสดงงบวิธีส่วนได้ส่วนเสียเปรียบเทียบอยู่ดี จึงไม่มีผลใดๆ

2.     สังเกตเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบเฉพาะกิจการที่แสดงด้วยราคาทุนกับงบการเงินที่แสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุน หากกิจการของเงินลงทุนในร่วมเติบโตมีกำไร มูลค่าจะสูงกว่ารายการที่แสดงในงบเฉพาะ กิจการร่วมที่ลงทุนนั้นมีกำไร และหากจะดูให้ละเอียดขึ้น ให้ใช้ร่วมกับงบกำไรขาดทุน ดูที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม หากเงินลงทุนปีก่อน (ด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย) บวกกำไรส่วนแบ่ง บวกการลงทุนเพิ่ม มากกว่าเงินลงทุนในร่วมตามวิธีวิธีส่วนได้ส่วนเสียแล้วในงวดปัจจุบันแล้ว แสดงว่าระหว่างนั้นมีการจ่ายปันผลจากบริษัทร่วม

3.     การจ่ายปันผลจากร่วมให้บริษัทให้บริษัทแม่ จะไม่แสดงรายได้เงินปันผลในงบรวมหรืองบที่แสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุน แต่ถ้าอยากทราบ ให้ดูจากงบกระแสเงินสดในกิจกรรมการลงทุน

4.     สิ่งที่ได้เราจะได้เพียงภาพรวมแต่ไม่สามารถทราบรายบริษัทที่ลงทุน แต่นั่นไม่สำคัญ กิจการที่ดีที่ผู้บริหารมีความรับผิดชอบต่อเงินผู้ถือหุ้น ต้องเลือกลงทุนในกิจการที่สร้างผลตอบแทนที่ดี หรือถ้าไม่สร้างกำไร ต้องเป็นกิจการที่เป็น Strategic Parners ที่ดี ซึ่งหมายความว่า ถ้ากำไรส่วนแบ่งต่ำ ผลตอบแทนเงินลงทุนต่ำ ROA ภาพรวมของกิจการต้องดี ถ้า ROA ยังต่ำแสดงว่ากลยุทธ์ลงทุนที่บริษัทตัดสินใจอยู่กำลังน่าจะเดินผิดทาง

5.     ดังข้อ 4 ถ้าการลงทุนในร่วมนั้นมีกรรมการร่วม มีการปล่อยเงินกู้ยืมระหว่างกันมาก กำไรไม่มี ROA ก็ต่ำตามที่กล่าวมา มีโอกาสที่จะ siphon ผ่านการกู้ยืม และจ่ายซื้อหุ้นราคาสูงให้ผุ้ถือหุ้นเดิมได้ แม้จะไม่ได้ถือหุ้นเกินกว่า 50% ก็ตาม แต่เงินไหลออกไปแล้ว

6.     กรณีถือเกิน 50% จนเป็นบริษัทย่อย ใช้วิธีการเดียวกัน แต่การถือตั้งแต่ 50% ต้องทำงบการเงินรวม ในงบการเงินรวมเราจะไม่เห็นเงินลงทุนในบริษัทย่อย สินทรัพย์และหนี้สินในบริษัทย่อย จะนำบวกรวมตามรายการด้วยมูลค่ายุติธรรม และตัดรายการระหว่างกันออก

7.     จำไว้ง่ายๆ ว่า บริษัทย่อยจะเปรียบเหมือนแผนกใหญ่หนึ่งในบริษัทแม่ มองทั้งกลุ่มเป็น Entity หรือหน่วยธุรกิจเดียวกัน

8.     ในการทำงบรวม สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทลูกต้องตีด้วยมูลค่ายุติธรรม ดั้งนั้นส่วนเจ้าของก็จะแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม เงินลงทุนในงบเฉพาะจะแสดงด้วยเงินที่จ่ายซื้อ

9.     ถ้าราคาจ่ายซื้อหุ้นลูกสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม ส่วนที่จ่ายเกินจะแสดงเป็นค่านิยม ดังนั้นหากมองเร็วๆ จากงบการเงินเฉพาะกิจการมีเงินลงทุนในย่อย  X บาท แล้วงบการเงินรวมแสดงค่านิยม G บาท แสดงว่าสินทรัพย์สุทธิที่ลงทุนมีมูลค่ายุติธรรม X-G บาท

10. ยิ่งค่านิยมสูงแสดงว่ากิจการแม่จ่ายซื้อแพงกว่ามูลค่าตลาดยุติธรรม ตรงนี้แหละที่ต้องระวัง เพราะอาจเป็นหรือไม่เป็นช่องทาง Siphon ได้ทั้งสิ้น คือจ่ายเงินซื้อหุ้นให้ผู้ถือหุ้นย่อยในราคาสูงด้วยเงินของกิจการใหญ่หรือแม่

11. หากยิ่งมีการปล่อยกู้ให้ย่อย (ซึ่งจะเห็นได้ในงบเฉพาะ งบรวมจะไม่เห็นเพราะรายการระหว่างกันจะตัดออก) จะบ่งชี้ถึงการโยกย้ายเม็ดเงินออกจากบริษัทใหญ่ เปรียบย่อยไม่ต่างจากเห็บดูดเลือด

12. ต่อมาดู ROA ของงบการเงินรวม (ที่รวมค่านิยมไว้ด้วย) ว่าดีไหม ลดลงไหม ถ้าต่ำ หรือลดลงจากการซื้อย่อยรวม ย่อยบ่งชี้ว่าการลงทุนในย่อยนั้นเป็นกลยุทธ์ที่อาจมีปัญหา ไม่สมเหตุสมผลทางการเงิน ตรงนี้นักลงทุนมักถูกหลอกด้วยเรื่องเล่าอันสวยหรูจากผู้บริหารว่าลงทุนดีอย่างนั้นอย่างนี้

13. กรณีซื้อบริษัทย่อยต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม จะไม่มีค่านิยม แต่จะเกิดกำไรจากการต่อรอง ตรงนี่อาจมีทั้งดีและไม่ดีได้ ต้องพิจารณาดีๆ

14. การซื้อได้ราคาถูกมากๆ จะบันทึกกำไรจากการต่อรองสูง ทำให้กำไรงบรวมเพิ่มอย่างมีนัยได้ ข้อคิดคือกิจการดีแต่คนเดิมขายถูก กิจการลูกนั้นดีจริงหรือไม่ ถ้ามีอนาคตทำไมขายถูกมากเกินไปจนกำไรจากการต่อรองสูงมาก ถ้าไม่มากยังพอมีเหตุผล คนทำธุรกิจหากกิจการพอมีอนาคตบ้างคงไม่ขายถูกเหมือนโยนทิ้ง ถ้าต่อรองมาแบบถูกมากๆ ผมจะมองแบบไม่ไว้วางใจนัก หากถูกพอประมาณยังรับได้

15. กิจการที่เป็นร่วมหรือย่อย จะไม่มีการตีราคาหุ้นที่ตลาด ตีราคาสินทรัพย์หนี้สินได้ ส่วนเกินจากการตีมูลค่าเพิ่มจะไปแสดงเพิ่มในท่อนสอง ไม่รวมในกำไรขาดทุนงวดปัจุบันหรือท่อนหนึ่ง

16. กรณีที่สูญเสียการควบคุมต้องหมายถึงเมื่อก่อนควบคุมคือเป็นบริษัทย่อย แต่มีกลุ่มใหม่มาถือหุ้นเพิ่มจากการเพิ่มทุนแล้วแม่เสียสัดส่วนจากย่อยจนเป็นร่วมหรือต่ำกว่า แต่การคำนวณต้องเป็นการสละหรือสูญเสียในหุ้นสามัญที่บริษัทมีการควบคุม กำไรเกิดจากการที่แม่ได้ส่วนเพิ่มจากการที่คนใหม่จ่ายแพงกว่าราคาบัญชีหรือทุนที่แม่ถือ ถ้าคนใหม่จ่ายต่ำก็ขาดทุนได้ ย้ำครับว่ต้องหมายถึงหุ้นสามัญในระดับเดียวกัน (Claim) ที่กิจการจะได้รับ ไม่ใช่ Claim ที่เหนือกว่า เพราะถ้าเป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ ส่วนที่จ่ายเกิน ห้นสามัญจะไม่มีสิทธิได้เลยต้องคืนหุ้นบุริมสิทธิ์เท่านั้น ประเด็นนี้ คือส่วนที่ PACE บันทึกกำไรจาการสละการควบคุมผิดทั้งจำนวณกว่าแปดพันแปดร้อยล้านบาท

17. สุดท้ายลองกลับไปพิจารณาบริษัทที่ล้มเหลว มีปัญหาจำนวณมาก สังเกตให้ดี มีจุดเริ่มจากการลงทุนแบบนี้โดยส่วนใหญ่ ล้มเหลวในย่อยแทบทั้งสิ้น

เงินลงทุนของบริษัทกับการรับรู้กำไร


เงินลงทุนของบริษัทกับการรับรู้กำไร

เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ล้วนต้องการลงทุนระยะยาวในหุ้นเติบโต และมักมองเพียงหรือหาจากการดูกิจการที่มีการเติบโตของกำไรสุทธิมากๆ ก็ถูกแต่ไม่หมด

1.     กำไรสร้างได้จาก one-time gain

2.     กำไรสร้างได้จากการทำ creative accounting

ประเด็นทั้งสองทำได้มากมาย แต่ในบทความครั้งนี้ขอมุ่งในประเด็นการทำ one-time gain และ creative accounting ผ่านรายการเงินลงทุน

เงินลงทุนเราแบ่งได้หลายๆ มุม ผมยำมารวมแล้วกัน และสรุปสั้นๆ ครับ

1.     เงินลงทุนเพื่อค้า (For Trading) – เป็นเงินลงทุนระยะสั้น (เงินลงทุนชั่วคราว) เสมอ แสดงในสินทรัพย์หมุนเวียนเท่านั้น เป็นหุ้นหรือตราสารต่างๆ ที่ไว้ซื้อขายเพื่อเก็งกำไรราคาสั้นๆ ต้อง Mark to Market แสดงว่าต้องมีราคาตลาดซื้อขาย ต้องเป็นหุ้นหรือตราสารที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ทุกครั้งที่แสดงงบการเงินต้องแสดงมูลค่าที่ราคาปิด (Market Price) ผลต่างที่เกิดขึ้นจะแสดงเป็นกำไรหรือขาดทุนในงวดทันที (ท่อนบน) กำไรขาดทุนจากการตีราคาบางครั้งอาจเห็นในชื่อกำไรขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรม กำไรขาดทุนนี้ในกิจการธนาคา ประกันภัย หลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงินถือเป็นรายได้ปกติการดำเนินงานไม่ต้องปรับออก เพราะธุรกิจเหล่านี้ต้องมีเพื่อธุรกรรมอยู่แล้ว ถือว่าปกติ แต่ในกิจการอื่นการซื้อขายหุ้นไม่ใช่กิจกรรมหลัก เพราะควรผลิตสินค้าขาย ซื้อสินค้ามาขาย ไปให้บริการขนส่งสินค้า ฯลฯ  ดังนั้นในกิจการที่ไม่ใช่กลุ่มการเงินจะถือเป็น one-time gain

2.     เงินลงทุนเผื่อขาย (Available for Sell) – เป็นได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว อยู่ที่วัตถุประสงค์ของการถือลงทุน มีไว้เพื่อขาย ถ้าเป็นระยะสั้นอาจถือ ยาวกว่า 3-6 เดือนหรือนานกว่านั้น แต่ไม่เกินปี ตรงนี้ต่างกับเงินลงทุนเพื่อค้า (For Trading) ที่ต้องถือสั้นมากๆ ไม่เกินไตรมาสควรขายออกแล้ว หุ้นกลุมนี้ก็ต้องแสดงมูลค่าที่ราคาตลาด หรือต้อง Mark to Market เช่นกัน ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะแสดงในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ท่อนสอง) ในมูลค่าสุทธิจากภาษี ผลกำไรขาดทุน จะถูกกลับไปแสดงในท่อนบน (กำไรขาทุน) เมื่อมีการขายเงินลงทุนนั้นออกไป ทั้งเงินลงทุนเพื่อค้าและเงินลงทุนเผื่อขาย ต้องเป็นหุ้นในตลาด มีราคาตลาด และถือน้อยกว่า 20% ถ้ามากกว่านั้นจะถือเป็นเงินลงทุนร่วมหรือย่อย ซึ่งเงินลงทุนพวกนี้เราจะไม่มีการทำ Mark to Market รายละเอียดจะกล่าวเมื่อถึงหัวข้อนี้ต่อไป

*ทั้ง งลท เพื่อค้าและเผื่อขายจะถือน้อยกว่า 20% และแสดงด้วยมูลค่าตลาดเสมอ การด้อยค่าอาจเกิดได้ถ้าหุ้นนั้นติด SP ซึ่งราคาหุ้นจะถูกแช่แข็งไว้ แต่มูลค่าหากเกิดการซื้อขายอาจลดลงได้กว่าราคา ณ วัน SP กิจการต้องประเมินการด้อยค่า

3.     เงินลงทุนทั่วไป – เป็นเงินลงทุนที่ถือไว้และไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ถือสัดส่วนน้อยกว่า 20% แสดงที่ราคาทุนและต้องประเมินการด้อยค่า

4.     เงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนด (Held to Matutity) – เป็นตราสารหนี้ที่ไม่ได้มีไว้ซื้อขาย เช่นหุ้นกู้ ถ้ามีไว้ซื้อขายเก็งกำไรราคาจะจัดเป็นเพื่อค้า เงินลงทุนตราสารหนี้ที่ถือไว้จนครบกำหนดจะแสดงด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ สมมติ เราลงทุนในหุ้นกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยตามหน้าตั๋วที่ 5% อายุ 7 ปี ในขณะนั้นตลาดสำหรับตราสารหนี้อายุดังกล่าว ต้องการผลตอบแทน 4% หุ้นกู้นี้ขายที่ 1060 บาท (ราคาต่อหน่วยคือ 1000) 60 บาทนี้เรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ ซึ่งลงบัญชีดังนี้

เดบิต เงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนด 1000

 ____ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้_____________60

_____________________________เครดิต เงินสด 1060

เมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ย สมมติจ่ายปีละครั้ง

เดบิต เงินสด____________50

____________________________เครดิต ดอกเบี้ยรับ_____42.4

____________________________เครดิตส่วนเกินมูลค่า____7.6

จะตัดจ่ายส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ด้วยวิธี Effective Rate การแสดงมูลค่าหุ้นกู้

ปีที่ 0 วันซื้อ 1000 + 60 = 1060

ปีที่ 1 1000 + 52.4 = 1052.4

จะพบว่าราคาที่ลงทุนในหุ้นกู้จะค่อยๆ ลดลงจนปีสุดท้ายที่จะได้เงินต้นคืนคือ 1000

กิจการที่ออกหุ้นกู้ก็จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน แต่ลงบัญชีตรงกันข้าม

5.     ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนด (Held to Matutity) จะไม่แสดงราคาตลาดที่ซื้อขาย เว้นแต่จัดเข้าเป็นเพื่อค้าหรือเผื่อขาย

6.     กิจการที่ถือหุ้นทุนในบริษัทอื่นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปโดยทั่วไปจะจัดเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม (ตั้งแต่20% แต่ไม่เกิน 50%) ถ้าถือตั้งแต่ 50% ขึ้นไปจัดเป็นบริษัทย่อย ทั้งสองถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ไม่แสดงด้วยวิธีราคาตลาด แต่แสดงด้วยวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) สำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม และต้องจัดทำงบการเงินรวมเมื่อเป็นบริษัทย่อย

7.     การแสดงวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) คือการทำ One line consolidation

8.     หลักของ One line consolidation คือแสดงส่วนของสินทรัพย์สุทธิที่บริษัทมีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งหมายถึงหุ้นสามัญที่ลงทุนอยู่เท่านั้น

9.     การแสดงด้วยวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) สำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม คือทุนที่ลง (อาจซื้อมาด้วยราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาบัญชีหรือราคายุติธรรมก็ได้ทั้งนั้น) แล้วปรับปรุงทุกครั้งที่แสดงงบการเงินด้วยการเปลี่ยนแปลงส่วนทุนที่บริษัทมีส่วนได้เสีย (คือหุ้นสามัญ) เช่น บวกกำไรขาดทุนของหุ้นสามัญ และหักเงินปันผลจ่าย กรณีที่มีหุ้นประเภทอื่นที่มี Claim เหนือกว่า เช่นหุ้นบุริมสิทธิ์ จะไม่นับแสดงรวม เพราะบริษัทไม่ได้ร่วมในส่วนได้เสีย ดังเช่นหนี้สินของบริษัทร่วมก็ตัดออก แสดงเพียงสินทรัพย์สุทธิ (ส่วนของหุ้นสามัญเท่านั้น)

10. กรณีบริษัทร่วมซื้อสูงหรือต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ไม่ต้องแสดงค่านิยมหรือกำไรจากการต่อรอง ซื้อเท่าไรก็แสดงแรกเริ่มที่ราคาซื้อ แล้วต่อมาปรับปรุงเงินลงทุนด้วยกำไรขาดทุนของหุ้นสามัญและหักเงินปันผลจ่ายสำหรับหุ้นสามัญ เงินลงทุนร่วมจะไม่มีการแสดงด้วยราคาประเมินใดๆทั้งสิ้น (PACE จึงแสดงผิดหลักบัญชี ส่งผลให้เกิดการลงรับรู้กำไรที่เกี่ยวข้องผิดในจำนวนที่มากเกินจริง)

11. ค่านิยม และกำไรจากการต่อรองจากการซื้อเกิดเมื่อทำงบการเงินรวม และรายการนี้ จะมากล่าวต่อไปภายหลัง และวิธีการสังเกตถึงการนำมาสู่การทำ Creative accounting & Siphon