วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การตบแต่งตัวเลขทางบัญชี Accounting Tactics or Creative Accounting


การตบแต่งตัวเลขทางบัญชี Accounting Tactics or Creative Accounting

สาเหตุและเงื่อนไขที่จูงใจธุรกิจทำการตบแต่งตัวเลขทางบัญชี

-      เพื่อการส่งสัญญาณที่ทำให้เข้าใจผิดทางการเงิน (Misinformation, signalling and financial motives)

-      มีต้นทุนจากกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย (ผู้ถือหุ้นกับผู้บริหาร) (The agency cost)

-      มีการบริหารงานที่แย่ (Poor management)

-      เพื่อลดความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง (Reducing uncertainty and risk)

-      ขาดความเข้าใจในหลักทางบัญชี (The weaknesses of the current accounting concepts )

-      ได้รับแรงกดดันจากนักลงทุนสถาบัน (Pressure from big institutional investors)



ตัวอย่างเงื่อนไขที่จูงใจการตบแต่งตัวเลขทางบัญชี

-      อัตราส่วนหนี้ต่อทุนสูงหรือมีแนวโน้มสูงขึ้น

-      มีผลขาดทุนสะสมต่อเนื่องหลายงวดบัญชีติดต่อกัน

-      มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบต่อเนื่องหลายงวดบัญชี

-      อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มลดต่ำลงต่อเนื่อง

-      อุตสาหกรรมมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น หรือรายได้ของอุตสาหกรรมเริ่มผันผวนซึ่งมาจากทั้งด้าน demand, price or foreign exchange 

-      มีรายการ Contingent liabilities



ทุกสาเหตุหรือเงื่อนไข ล้วนมุ่งไปสู่ Earnings management หรือ Income smoothing คือเป้าหมาย

-      ตกแต่งสินทรัพย์ หรือหนี้สิน รายการนั้นก็ต้องมีผลต่อกำไร ไม่เพิ่มรายได้ ก็ลดค่าใช้จ่าย

-      ไม่มีการตกแต่งใดกระทบขาเดียวในทางบัญชี เดบิต = เครดิตเสมอ

-      ทำขาเดียวไม่ได้ งบจะไม่ดุล

-      จึงทำให้เกิดการบิดเบี้ยวในอัตราส่วนทางการเงินอย่างน้อย 1 ค่าเสมอ



ตัวอย่างประเภทของ Creative Accounting ที่ทำบ่อยๆ

-      การรับรู้รายได้ก่อนถึงเวลาอันควรหรือการรับรู้รายได้ สร้างรายได้ปลอม

-      การตั้งรายจ่ายเป็นต้นทุนสินทรัพย์เชิงรุก และนโยบายการตัดจำหน่ายที่ยืดระยะเวลาออกไป

-      สินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

-      การรังสรรค์งบกำไรขาดทุน  (สร้างกำไร one-time)

-      ปัญหาที่เกิดจากการรายงานกระแสเงินสด

วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Prove ทำไม PEG ใช้ได้ พิสูจน์ด้วย DDM Concept


Prove ทำไม PEG ใช้ได้ พิสูจน์ด้วย DDM Concept

เชื่อว่าหลายคนรู้ดีพอกับ PEG ควรน้อยกว่า หรือหุ้นควรมี P/E ไม่เกิน g หรือค่า growth แต่เคยบอกถึง Growth ที่ต้องระวังว่า มีอยู่ 4 myths คือ เอาแบบย่อๆ คือ

1. ต้องเป็น growth ระยะยาว ไม่ใช่ไตรมาสหน้าไตรมาสเดียว ปีหน้าปีเดียว

2. ต้องเป็น ควรใช้ expected growth ไม่ใช่ growth ปีล่าสุด ที่ผ่านมา อดีตเป็นแค่ตัวช่วยพิจรณาเท่านั้น

3. ต้องเป็น growth ที่มาจาก real operating ไม่ใช่มาจาก one time หรือ non operating อย่า Over expected growth หรือ aggressive มากเกินไป

4. ต้องหา growth จาก EPS ไม่ใช่จากกำไรสุทธิรวม การเพิ่มทุนทำให้กำไรโตได้ แต่อาจทำให้เกิด dilute ได้ ต้องระวัง

              หลายคน ก็รู้หลักการ แต่ผมอ่านและค้นหาที่มาที่ไปว่าทำไมเป็นเช่นนั้นตามหลักทฤษฎีที่อธิบายมา ก็ไม่พบคำตอบ พูดง่ายๆ คือ แค่จำๆมาใช้ ว่ามันใช้ได้ดี แต่ในมุมของการเรียนรู้ที่ดีไม่เพียงพอสำหรับผม อะไรที่สรุปแบบง่ายๆ ไม่ prove ให้ชัดเจนและเชื่อมโยง จะยังคงข้อกังขาเสมอ และเมื่อวานนี้ พบหลักการเชื่อมโยงได้ เลยอยากเขียนไว้เตือนตนเองด้วย และแบ่งปันให้หลายๆคน หลักการของ PEG นี้ ใช้ได้ และสอดคล้องกับแนวคิดการเงินอย่างตรงไปตรงมา พิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ ไม่ใช่เพียงการใช้ Emperical evidence test เท่านั้น

              DDM (Dividend Discount Model) ถูกสร้างจากหลักการเงินพื้นฐาน Time Value of Money ซึ่งเป็นที่มาของ Discount Cash Flow และหลักของ DDM นี้ ให้ Po = D1/(k-g) สำหรับ Constant Growth ในระยะยาว โดยที่ growth นี้ก็คือ average growth ในระยะยาว (แน่นอนที่การเติบโตจริงไม่มีทางที่เท่ากันตลอดทุกปี แต่เฉลี่ยแล้วจะได้ค่าๆ หนึ่ง) และ growth นี้คือ sustainable growth เติบโตมั่นคงโดยไม่ต้องเพิ่มทุน เป็นการโตแบบ going concern ตามแนวคิดทางบัญชีด้วย (g = ROE*[1-b])



จาก DDM == > P/E = b/(k-g) ; b = Payout ratio ; D = E * b

PEG == > P/E = g  {เช่น ถ้าคาดว่าโต 20% P/E = 20 จะเหมาะสม)

ถ้ากำไรโต g%  --- >  E1 = E *(1+g)

ถ้ากำไรโต g  ดังนั้น P/E ปีหน้าจะเท่ากับ

P/[E*(1+g)]  =  g/(1+g)………(1)

ด้วยการเติบโตที่คงที่ Constant Growth ; P/E  = b/(k-g) เสมอ ไม่ว่าจะคำนวณหาช่วงเวลาใดก็ตาม

ในโลกของ EMH ราคาหุ้นควรเพิ่มในอัตราเดียวกับการโตของกำไร P ในปีหน้า = P*(1+g)

เมื่อแทนค่า P ใน (1) ด้วย P*(1+g)   ;  P/E ปีหน้าจะเป็น g เสมอตลอดไป

ถ้ากำไรปีหน้าโตน้อยกว่า g เช่นโตเพียง f < g

ถ้าเราซื้อหุ้นคาดหวังว่าราคาจะโต g แสดงว่า เราควรจะเห็นราคาปัจจุบันมี forward P/E = g/(1+g)

แต่ราคาหุ้นจะเปลี่ยนไป x% เพราะกำไรเพิ่มเพียง f%

P/E ปีหน้าจะเท่ากับ g*(1+x)/(1+f)  ; กำไรโต f% ราคาจะเปลี่ยนเพียง x%

ตลาดจะสมดุลตนเอง ดังนั้น forward P/E = g/(1+g) = g*(1+x)/(1+f)  …..(2)

จาก (2) --- > (1+f) = (1+x)*(1+g) เมื่อ f < g ดังนั้น (1+f)/(1+g) < 1

ทำให้ 1+x < 1 แสดงว่า x < 0 แสดงว่าราคาจะลดลง นั่นเอง

ถ้ากลับกัน f > g -- > x > 0 ราคาจะเพิ่มขึ้น

และนี่คือการ prove ทางหลักคณิตศาสตร์ล้วนๆ บนหลักทฤษฎี DDM สำหรับ PEG



ความรู้จะไม่มีขีดจำกัดถ้าเราไม่หยุดแค่เขาบอกแล้วจำ แล้วท่านจะสามารถใช้ความรู้เพื่อต่อยอดความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ประยุกต์ใช้หลักกามาลสูตร ไม่ใช่ไม่เชื่อนะครับ ถ้าจะเชื่อว่าที่ผู้รู้บอก ครูบอก ตำราบอก เขาว่ากันมา หรืออะไรก็ตามแต่ ควรต้องพิสูจน์จนกระจ่าง แล้วท่านจะมั่นใจ ใช้อย่างมีเหตุผลและตรรกะที่ถูกต้อง คิดได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้จะยิ่งลึกซื้งมากขึ้นในหลักการ