วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเกิดกรณี BREXIT


ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเกิดกรณี BREXIT

ความจริงว่าจะไม่เขียนบทความใดๆ เพราะเป็นความเชื่อแต่ละคนมากกว่า ว่าจะมากจะน้อย เพราะเป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่า ใครหนักแน่นแค่ไหน กลัวแค่ไหนก็แต่ละบุคคล ไม่มีใครถูกผิด เพราะผลออกมาก็จะเฉลยเอง ไม่มีใครรู้ได้เลย แต่ที่อ่านหลายสำนักออกมาบอกเรื่องผลกระทบงบการเงิน ตัวนั้นตัวนี้โดนผลกระทบแบบนั้นแบบนี้ เห็นว่าแนะนำแบบผิดๆหลายประเด็น ไม่รู้เรื่องบัญชีจริงๆ เท่าไรนัก มีถูกมีผิด คิดว่าอาจทำให้หลายคนเข้าใจบางประเด็นทางหลักวิชาการผิดๆ

1. กรณีค่าเงินปอนด์อ่อนตัวนั้น ก็เหมือนกับค่าเงินต่างประเทศออ่อน เงินบาทแข็ง โดยหลักแล้ว กรณีการรับรู้ผลกระทบในงบกำไรขาดทุนนั้น ผลการแตกต่างจะเข้าท่อนบน ถ้ารายการนั้นคือ ผลจากการดำเนินงานโดยตรง เช่นเกิดจากการซื้อขายสินค้าหรือวัตถุดิบ กิจการที่ส่งออกโดยตรงสินค้าจากไทยจะแพงขึ้นในสายตาเงินสกุลประเทศนั้นถ้าเราขายราคาเงินบาทเดิม ฉนั้นยอดขายจะลดลง นอกจากสินค้าต้องขายมากชิ้นขึ้น ถ้าลดราคาขายเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด ยอดขายในรูปบาทอาจไม่ลด หรือเพิ่มไม่มาก แต่อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง

2. ถ้ามีสินทรัพย์เช่นลูกหนี้การค้า หรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่เป็น Monetatry Asset (สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน) จะเกิดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ผลต่างนี้จะเข้ากำไรขาดทุนท่อนบน รายการที่เป็น Monetatry Asset ก็มีเงินลงทุนชั่วคราว (สินทรัพย์หมุนเวียน) ไม่ใช่เงินลงทุนระยะยาว

3. ถ้ามีหนี้สิน ไม่ว่าระยะสั้น ระยะยาว คือเจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะยาวหรือระยะสั้นต่างประเทศ จะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผลต่างจะเข้าท่อนบนของกำไรขาดทุน

4. ตรงนี้ครับที่ผิดหมดทุกสำนัก หรืออธิบายไม่ชัดเจน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เป็นเงินลงทุนทุกประเภท ผลกระทบจะไม่เข้ากำไรขาดทุนท่อนบนครับ หากมีผลต่างเกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าจะเข้างบกำไรขาดทุนท่อนสอง (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น) ไม่เกี่ยวกับ EPS แต่กระทบ BV (Book Value) P/BV จะดูสูงขึ้น P/E ไม่กระทบ ROE จะสูงขึ้นเพราะ Equity ลดลง ถ้าหากมองแล้ว P/E ไม่กระทบ ROE เพิ่ม ROA เพิ่ม P/BV เพิ่ม ราคาหุ้นไม่น่ากระทบมาก จากปัจจัยทั้งสามที่บอก ดังนั้นหากใครบอกว่ากระทบงบการเงินและอัตราส่วน ก็แสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องทางบัญชีดีพอ

5. เงินลงทุนไม่หมุนเวียนอื่นหรือเผื่อขาย (ถือ< 20%) ผลต่างที่เกิดเหมือน Mark to Market ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน จะรับรู้เข้างบกำไรขาดทุนท่อนสอง (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น)

6. เงินลงทุนร่วม (20-50%) ถ้าต้องปรับมูลค่าก็เหมือนเงินลงทุนไม่หมุนเวียนอื่นหรือเผื่อขาย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน จะรับรู้เข้างบกำไรขาดทุนท่อนสอง (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น) ส่วนแบ่งกำไรรับรู้ตามสัดส่วนเหมือนเดิม ส่วนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นกับผลปะกอบการ การที่บริษัมร่วมอยู่ในประเทศที่ค่าเงินอ่อนอาจได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ กำไรอาจดีขึ้นชดเชยการอ่อนค่าก็ได้

7. เงินลงทุนในบริษทย่อย (>50%) ต้องจัดทำงบการเงินรวม ผลต่างจะถูกปรับปรุงเรียกว่า ผลต่างจากการแปลงค่า ซึ่งรายการนี้จะเกิดเมื่อทำงบการเงินรวม และผลต่างนี้จะรับรู้เข้างบกำไรขาดทุนท่อนสอง (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น)

8. สรุปผลกระทบทางตรงคือกิจการที่มีกิจกรรมดำเนินงานโดยตรง นำเข้า ส่งออก และกู้ยืม และจะมากหรือน้อยต้องดูสัดส่วนธุรกรรมด้วยครับ ส่วนเงินลงทุนระยะยาว (สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน) ไม่กระทบกำไรขาดทุนท่อนบน

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การปรับปรุงรายการและการตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีจากขาดทุนสะสม


การปรับปรุงรายการและการตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีจากขาดทุนสะสม

พอดีมีคนถามถึงประเด็นที่บริษเทจดทะเบียนบางแห่งไม่ได้ตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินจะมีผลกระทบใดบ้างดีไม่ดีอย่างไร และรายการนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร

กรณีที่บริษัทมีขาดทุนขึ้นและเป็นขาดทุนที่เป็นไปตามประมวลรัษฎากร ขาดทุนที่เกิดขึ้น บริษัทสามารถนำไปเป้นค่าใช้จ่ายในภายหน้าได้ไม่เกิน 5 ปี เช่น ปีนี้ขาดทุน 10 ลบ. ไม่ต้องนำส่งภาษี ปีหน้ามีกำไร 12 ลบ. บริษัทจะเสียภาษีจากกำไรปีล่าสุดเพียง 2 ลบ. ถ้าบริษัทมีการตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีจะลงรายการดังนี้



ปีที่ 1 บริษัทขาดทุนก่อนภาษี 10 ลบ. สมมติอัตราภาษีเท่ากับ 20%

เดบิต สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี___2   == >  แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน

.........…………..เครดิต  ภาษีเงินได้______2  == > แสดงในงบกำไรขาดทุนท่อนบน

หากบริษัทตั้งแต่เริ่ม งบกำไรขาดทุนจะแสดงค่าใช้จ่ายภาษีเป็นลบ และมีขาดทุนสุทธิเท่ากับ 8 ลบ. และยอดนี้จะทำให้กำไรสะสมลดลงเพียง 8 ลบ.



ปีที่ 2 มีกำไรก่อนภาษี 12 ลบ. เมื่อคำนวณและต้องนำส่งภาษีเพียง 0.4 ลบ. แต่ทางบัญชีจะแสดงดังนี้

เดบิต ภาษีเงินได้_____2.4 == > แสดงเป็น คชจ (12x20% = 2.4) ในงบกำไรขาดทุนท่อนบน

……………….เครดิต สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี___2.0 == > ลด ส/ท ภาษีฯ

………………………ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย_______________0.4 == > รอส่งสรรพกร

งบกำไรขาดทุนจะแสดงกำไรสุทธิเท่ากับ 9.6 ลบ. จะทำให้กำไรสะสมเพิ่ม 9.6 ลบ. รวมสองปีกำไรสะสมเพิ่มรวม (-8) + 9.6 = 1.6



ถ้าบริษัทไม่ตั้งรายการสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีตั้งแต่ปีแรก กำไรสะสม จะกระทบดังนี้ = (-10) + 11.6 = 1.6 ลบ. ผลสุดท้ายต่องบแสดงฐานะการเงินในกำไรสะสมจะเท่ากันอยู่ดี แต่ถ้าพิจารณาให้ดี การตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีลดการผันผวนของการเปลี่ยนแปลงผลการดำเนินงานลง



กรณีที่บริษัทมีขาดทุนสะสมย้อนหลังและก่อนหน้าไม่ได้ตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีไว้ ต่อมาอยากตั้งรายการนี้ เพราะคาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ทางภาษี โดยก่อนหน้ามีขาดทุนมาสองปีคือ (100) และ (40) รวม ขาดทุนสะสม 140 ลบ. เป็นผลขาดทุนทางภาษี เมื่อบริษัทจะปรับปรุงรายการย่อมทำได้ ขาดทุนได้ปิดเข้าสู่กำไรขาดทุนสะสมแล้ว เมื่อปรับปรุงก็ปรับกับกำไรสะสม ดังนี้ อัตราภาษีใช้สมมติที่ 20%



เดบิต สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี___28   == >  แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน

.........…………..เครดิต  กำไรสะสม____28  == > แสดงในงบกำไรขาดทุนท่อนล่าง



ความหมายคือในอดีตที่ผ่านมาแสดงขาดทุนมากไป 28 ลบ คือปีแรก ขาดทุนควรแสดงเพียง 80 ลบ. ภาษีต้องเป็นลบ 20 ลบ. ปีที่สอง ควรแสดงขาดทุน 32 ลบ. ภาษีต้องเป็นลบ 8 ลบ.

ปีที่สามมีกำไรกลับมา 60 ลบ.  ปีที่สามไม่ต้องนำส่งสรรพกร แต่บัญชียังคงแสดงค่าใช้จ่ายทางภาษี 12 ลบ. ซึ่งทางบัญชีจะมีรายการดังนี้

เดบิต ภาษีเงินได้_____12 == > แสดงเป็น คชจ (60x20% = 12) ในงบกำไรขาดทุนท่อนบน

……………….เครดิต สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี___12 == > ลด ส/ท ภาษีฯ

กำไรสุทธิจะโอนไปกำไรสะสม 60-12 = 48 ลบ. เท่ากับส่วนของเจ้าของ = -100-40+28+48 = -64

กรณีไม่ตั้งรายการเลย = -100-40+60 = -80 ยอดต่างกันคือ 16 ซึ่งคือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เหลือการใช้ประโยชน์อีก 16 (28-12 = 16) ลบ.  ถ้าเปรียบเทียบระหว่างการตั้งและไม่ตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (ใช้กรณีศึกษาสุดท้าย)

……………………..…ไม่ตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้ฯ……..ตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้ฯ

ปีแรก..สินทรัพย์...................... ต่ำไป  20 ลบ...........................ส/ท เพิ่ม 20 ลบ

............กำไรสะสม....................ต่ำไป  20 ลบ...............................เพิ่ม 20 ลบ

............กำไร(ขาดทุน) ..............แสดง (100) ลบ............................แสดง (80)

ปีที่สองสินทรัพย์...................... ต่ำไป  28 ลบ...........................ส/ท เพิ่มอีก 8 ลบ เป็น 28

............กำไรสะสม....................ต่ำไป  28 ลบ...............................เพิ่มอีก 8 ลบ เป็น 28

............กำไร(ขาดทุน) ..............แสดง (40) ลบ.................................แสดง (32)

ปีที่สามสินทรัพย์...................... ต่ำไป  16 ลบ...........................ส/ท ลดลง 12 ลบ

............กำไรสะสม....................ต่ำไป  16 ลบ............................แสดงสูงกว่า 16 ลบ

............กำไร(ขาดทุน) ..............แสดง 60 ลบ...............................แสดง 48 ลบ



บอกอะไรบ้าง

1. การไม่ตั้ง สินทรัพย์ต่ำ ROA จะสูงขึ้นเล็กน้อย (รายการ ส/ท ภาษีมักมีขนาดน้อยมาก)

2. การไม่ตั้ง ส่วนเจ้าของน้อย D/E เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

3. การไม่ตั้ง กำไรขาดทุนจะมีโอกาสผันผวนมากกว่า

4. การไม่ตั้ง เมื่อมีกำไรจะทำให้กิจการจ่ายปันผลจากกำไรได้มาก ในแง่นักลงทุนอาจดี แต่ในแง่ธุรกิจอาจจ่ายเงินสดออกมากเกินไปในปีนั้นๆ ไม่ดีนักในระยะยาว ไม่เหมาะนักในเรื่องหลักการ cpital maintenance

5. การไม่ตั้งในทางบัญชีถ้ามองเรื่อง conservative ถือว่าดี แต่ในมุมมองนักลงทุนเหมือนกับกิจการบอกนัยๆว่า ในอนาคต กิจการไม่มั่นใจว่าจะใช้ประโยชน์จากขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้น การแสดงความไม่มั่นใจอาจสะท้อนว่าผู้บริหารเองก็ไม่รู้อนาคตจะมีกำไรเท่าไร จะใช้ได้หรือไม่ เลยไม่ตั้ง ไปวัดดวงเอาวันข้างหน้ามีกำไรเท่าไรก็ใช้เท่าที่ช้ได้ ไม่มีก็ไม่ใช้ เหมือนผู้บริหารยังไม่มั่นใจการทำกำไร หรือไม่ได้วางเป้าหมายไว้