วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

ว่าด้วยเรื่องการเติบโต  Organic Growth กับ Sustainable Growth ตอนที่ 3


ว่าด้วยเรื่องการเติบโต  Organic Growth กับ Sustainable Growth ตอนที่ 3

1.   หุ้นที่โตสูง มักจะโตด้วย Organic Growth

2.   หุ้นที่โตด้วย Inorganic (Non-organic) Growth มักจะมีแนวโน้มอุ๊ยอ้ายเพราะมักมี ค่านิยม (Goodwill) สูง

3.   หุ้นที่มี Leverage สูง (D/E) ROE จะสูงกว่า ROA มาก แสดงว่า มีการเติบโตจากการก่อหนี้ หุ้นพวกนี้ต้องวิเคราะห์ Solvency ratios ให้ดีอย่าประมาท กำไรโตเร็วแต่อาจล้มแบบไม่ตั้งตัวได้ เป็น Tempolary Bankrupcy

4.   หุ้นโตแกร่ง AT (Asset Turnover) จะดี (เมื่อเทียบในอุตสาหกรรม) และนิ่ง GM ก็สูงและนิ่ง มี Strong Solvency มี CFROI > 15% (ส่วนมากเกิน 20%)

5.   คร่าวๆ Solvency ratios ดู Debt/EBIT < 8, D/E < 2, ICR > 3, DCR (Debt Coverage Ratio) < 3

6.   หุ้นที่โครงสร้างการเงินแกร่ง จะโตมั่นคงได้ยาวนานกว่า หุ้นโตเร็วจะมี Margin ต่างสูง แต่จะดำรงได้นานไหมต้องมีโครงสร้างการเงินที่แกร่งประกอบเสมอ ไม่เช่นนั้นอยู่แบบโตมากๆได้ไม่นาน

7.   การจ่ายปันผลสูงแต่อัตราจ่ายปันผลไม่สม่ำเสมอ ระยะยาวจะ deteriorate growth

8.   Dividend Yield ที่ตลาดแสดงเป็น snap shot ไม่ใช่ Dividend Yield ของหุ้นที่เราถือ

ว่าด้วยเรื่องการเติบโต  Organic Growth กับ Sustainable Growth ตอนที่ 2


ว่าด้วยเรื่องการเติบโต  Organic Growth กับ Sustainable Growth ตอนที่ 2

การเติบโต  Sustainable Growth g(s)

Sustainable Growth นั้นได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า g(s) = ROE *(1-b) เมื่อ b คืออัตราจ่ายปันผล บางตำราเรียกค่า (1-b) ว่า retainted rate เข้าใจง่ายๆ คือกำไรที่บริษัทเก็บไว้ใช้ขยายธุรกิจนั่นเอง ถ้าเก็บไว้มากก็จะกู้ได้เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน D/E ที่มีเดิม การขยายเพิ่มในส่วน financing resources นี้คือแหล่งเงินทุนระยะยาวภายในที่สำคัญของการขยายตัวหรือการเติบโตของบริษัทนั่นเอง



Organic Growth หามาได้อย่างไรจากนิยามที่บอกไว้การเติบโตของบริษัทที่เติบโตด้วยสินทรัพย์ที่มีอยู่ของบริษัท นั่นคือค่า ROA นั่นเอง แต่ค่านี้ต้องปรับปรุงออกด้วยส่วนแบ่งกำไรหรือเงินปันผล และควรใช้งบเฉพาะของกิจการที่หักเงินลงทุนออกให้หมดเพื่อเหลือแต่ core business เท่านั้น ดังนั้นถ้ากล่าวว่าการเติบโตนี้อยู่ที่ผู้บริหารจะมีฝีมือขนาดไหนที่จะนำทรัพากรมาทำให้เกิดกำไร สรุปง่ายๆว่า g(o) = ROA



g(s) = ROE *(1-b) ---- > Sustainable growth

g(o) = ROA          ---- > Organic growh



ในสภาวะสมดุลแล้ว g(s) = g(o)

ROE *(1-b) = ROA   เมื่อให้  NI/E = ROE และ NI/A = ROA (ใช้ NI ไม่ใช้ EBIT ในกรณีนี้เพื่อถอดสมการได้ง่าย เป็น ROA แบบดั้งเดิม)

จะได้ ROA/ROE  =  1-b หรือ E/A = 1-b

จากสมการนี้บอกว่าอัตราการจ่ายปันผลที่เหมาะสมหรือเกิดสมดุลในระยะยาวคือ

b = 1 – E/A = D/A

หรือเท่ากับสัดส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์ทั้งหมด เช่น บริษัทมีค่า D/E ที่ 1.5 เท่า D/A = 1.5/2.5 = 60% ควรจ่ายปันผลในระดับ 60% เป็นต้น นี่คือทางทฤษฎีการเงิน



ถ้าหากในสภาวะทั่วไปที่ g(s) ไม่เท่ากับ g(o)

g(s) = ROE *(1-b)     ……….(1)

g(o) = ROA               ……….(2)

นำเอาสมการ (1)/(2) จะได้  g(s)/g(o)  = ROE *(1-b)/ROA = (1+D/E)*(1-b)

 g(s) * E/A  = g(o) * (1-b) …(3)

จากสมการที่ (3) นี้ sustainable growth = organic growth * (1-b) / (E/A)

When   E = Equity and  A = Assets



หุ้นที่มีส่วนทุนมากๆ (ส่วนทุนนี้รวมทั้งหมดคือรวมกำไรสะสมด้วย = ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด) ย่อมสามารถจ่ายอัตราปันผลที่สูงได้มากกว่า หุ้นที่มีสัดส่วนหนี้สูง (E/A ต่ำๆ) ซึ่งจะจ่ายอัตราปันผลได้ไม่มาก สำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันเพราะจะทำให้ g(o) ลดลง สูญเสียหรือแสดงถึงความเสียเปรียบทางการแข่งขันในโลกความจริงหาได้ยากที่ g(o) = g (s) เอาแค่ใกล้ๆ กันก็พอ



การเติบโตแบบ Organic Growth นั้นคล้ายกับ Sustainable Growth แต่ในด้านของ Sustainable Growth จะเน้นด้าน Capital Structure การเติบโตนี้ต้องรักษาระดับ D/E ให้คงที่เสมอ แต่ใน Organic Growth ไม่พูดถึง แต่ก็ไม่ใช่การขยายธุรกิจด้วยการก่อหนี้เพราะมุ่งใช้ทรัพยากรภายในที่มีอยู่ การก่อหนี้หรือเพิ่มทุน ถือเป็นการใช้ External Resources จึงบอกว่าคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน ตรงที่ Organic Growth เน้นทางด้าน Assets Side ส่วน Sustainable Growth เน้นทางด้าน Financing Side



สำหรับนักลงทุนระยะยาวแล้ว การหาหุ้นที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว โดยเฉพาะแนวทาง VI แบบวอร์เรน บัฟเฟตต์ การหาหุ้นที่เติบโตแบบ Organic Growth สำคัญอย่างมาก แนวทางการหามูลค่าหุ้นด้วย EPV (Earning Power Value) ก็อยู่บนหลักคิดเรื่อง Organic Growth

ว่าด้วยเรื่องการเติบโต  Organic Growth กับ Sustainable Growth ตอนที่ 1


ว่าด้วยเรื่องการเติบโต  Organic Growth กับ Sustainable Growth ตอนที่ 1

Growth สองตัวนี้ ไม่เหมือนกันทีเดียว เวลาใช้หลายคนใช้ปนเปกัน ทำให้เกิดการสำคัญผิดได้

Organic Growth คือการเติบโตของบริษัทที่เติบโตด้วยทรัพยากรหรือสินทรัพย์ที่มีอยู่ของบริษัท (Organic growth is growth that comes from a company's existing businesses) เป็นการเจริญเติบโตที่มาจากธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งอยู่ที่ผู้บริหารจะนำทรัพยากรภายในบริษัทมาทำให้กำไรได้ขนาดไหน ซึ่ง Organic Growth จะไม่รวมการเติบโตที่มาจากการควบรวมกิจการอื่น ในด้านของบริษัทจะแบ่งการเติบโตออกเป็น 2 ส่วน คือ Organic Growth กับ Non-Organic Growth (or Inorganic Growth) โดย Organic Growth สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนได้อีก คือสินค้าเดิม ลูกค้าเดิม หรือสินค้าเดิม ลูกค้าใหม่ Organic Growth ที่ดีหรือผู้บริหารที่เก่งควรต้องโตเร็วกว่าตลาด การเติบโตแบบ Organic Growth เป็นการเติบโตที่ปลอดภัยและมั่นใจได้มากกว่าการเติบโตด้วยการหันเข้าสู่ ธุรกิจใหม่ๆ (non-organic) Organic Growth จะมีการใช้สิ่งที่บริษัทมีอยู่แล้วรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้เป็นประโยชน์ เช่น ฐานลูกค้ากลุ่มเดิมแต่เพิ่มการบริโภคให้มากขึ้น (Re-used strategy) หรือสินค้าเดิมแต่ขยายฐานลูกค้าออกไป เป็นต้น นั่นคือใช้ฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่หรือใช้ฐานสินค้าเดิม คนที่เรียนด้าน Strategic Managemnt จะรู้จักคำว่า Red-Ocean Strategy การเติบโตด้าน Organic Growth จะอยู่ใน Red-Ocean Strategy ส่วน Non-Organic Growth ในด้าน Strategic Managemnt คือการเติบโตในการขยายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นแนวดิ่ง (Vertical Growth) เช่นการขยายธรกิจโดยการขยายไปยัง Downstream หรือ Upstream ก็ตาม หรือขยายไปทางแนวนอน (Horizonal Growth) และยังรวมถึงกลยุทธ์แบบ Blue-Ocean ด้วย (สินค้าใหม่ ตลาดใหม่)



การเติบโตแบบ Non-organic (Inorganic Growth) ที่พบเห็นได้บ่อยๆ คือ การเติบโตโดยวิธีควบรวมกิจการ (M&A) วิธีนี้บริษัทจะซื้อกิจการเพื่อนำงบการเงินมารวมกัน (หรือบันทึกส่วนแบ่งกำไร แล้วแต่กรณีว่าถือแบบร่วมหรือย่อย) วิธีนี้จะว่าไปก็เหมือนกับการเติบโตแบบหลอกๆ ได้เหมือนกันหากไม่วิเคราะห์ให้ดี เพราะบริษัทที่ซื้อมายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย แต่งบการเงินของบริษัทแม่ก็โชว์ว่า มีกำไรเพิ่มขึ้นได้แล้ว บางทีปีที่ไปซื้อก็โชว์กำไรเพิ่มก้าวกระโดดจากกำไรต่อรองจากการซื้อ



การเติบโตแบบ Organic Growth นั้นคล้ายกับ Sustainable Growth แต่ในด้านของ Sustainable Growth จะเน้นด้าน Capital Structure การเติบโตนี้ต้องรักษาระดับ D/E ให้คงที่เสมอ แต่ใน Organic Growth ไม่พูดถึง แต่ก็ไม่ใช่การขยายธุรกิจด้วยการก่อหนี้เพราะมุ่งใช้ทรัพยากรภายในที่มีอยู่ การก่อหนี้หรือเพิ่มทุน ถือเป็นการใช้ External Resoursces จึงบอกว่าคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน ตรงที่ Organic Growth เน้นทางด้าน Assets Side ส่วน Sustainable Growth เน้นทางด้าน Financing Side



สำหรับนักลงทุนระยะยาวแล้ว การหาหุ้นที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว โดยเฉพาะแนวทาง VI แบบวอร์เรน บัฟเฟตต์ การหาหุ้นที่เติบโตแบบ Organic Growth สำคัญอย่างมาก แนวทางการหามูลค่าหุ้นด้วย EPV (Earning Power Value) ก็อยู่บนหลักคิดเรื่อง Organic Growth