ว่าด้วยเรื่องการซื้อหุ้นคืน ตอนที่ 2
บริษัทที่ทำการซื้อหุ้นคืนควรมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง
ผลของการซื้อหุ้นคืน ทำให้จำนวนหุ้นลดลง และ EPS
เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ในด้านบัญชีวิเคราะห์จากสมการบัญชีดังนี้ (กปป. = การเปลี่ยนแปลง)
ในด้านบัญชีวิเคราะห์จากสมการบัญชีดังนี้ (กปป. = การเปลี่ยนแปลง)
กปป.สินทรัพย์ = กปป. หนี้สิน + กปป ทุน
การซื้อหุ้นคืน เงินสดลดลง และส่วนทุนลดลง เท่าๆกันเช่น
บริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ดังนี้
1,000 = 500
+ 500
ซื้อหุ้นคืน 200 ลบ
(งบการเงินจะแสดงหุ้นซื้อคืนเป็นลบในส่วนของผ้ถือหุ้น)
1,000 -200 = 500
+ (500-200)
800 = 500
+ 300
จะเห็นว่าส่วนของเจ้าของลดลง
ถ้ากำไรเท่าเดิม ROE จะเพิ่มขึ้น EPS ก็จะเพิ่มขึ้นจากจำนวนหุ้นที่ลดลง
ในด้านตลาดทุนเหมือนดี เพราะ Investors ดูจะได้ประโยชน์
แต่ลองมาดูในด้านอื่นๆ และ Corporate financial management
อีกมุมหนึ่งของตลาดทุนต้องพิจารณาว่าผู้บริหารกำลังส่งสัญญาณว่า
1.
ราคาหุ้นถูกเกินไป
หรือ ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน
2.
ไม่มีโครงการใหม่ที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนเงินทุนของบริษัท
บริษัทจึงเอาเงินไปลงทุนในหุ้นตนเองแทน เพราะการลงทุนซื้อหุ้นตนเองได้ผลตอบแทนเท่ากับ
ROE
ปกติกิจการจะลงทุนเมื่อผลตอบแทนโครงการ IRR > WACC เพราะการลงทุนในโครงการที่ได้ผลตอบแทน
> WACC จะทำให้เพิ่มมูลค่ากิจการ (Maximize
shareholders’ value)
ทางเลือกที่ถูกต้องคือเอาเงินไปลงในโคงการที่ได้ผลตอบแทน > WACC หากกิจการเอาเงินมาซื้อหุ้นตัวเองแสดงว่า
ไม่มีโครงการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทนดีกว่าเดิม
3.
และจากสมการบัญชีพบว่าการซื้อหุ้นคืนทำให้กิจการลดขนาดลง
นั่นคือกำลังจะ down sizing ตนเองลงอุตสาหกรรมกำลังชะลอตัวหรือหดตัวลงใช่หรือไม่
4.
การซื้อหุ้นคืนทำให้
ROE สูงขึ้นก็จริง
แต่ D/E ก็สูงขึ้นด้วย ค่า D/E ที่เพิ่มขึ้นหมายถึง
ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หมายความว่า ต้นทุนเงินทุนเพิ่มขึ้น และทำให้ expected
return ของหุ้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของ
ROE ไม่ได้สะท้อนว่าราคาหุ้นต้องขึ้น เพราะเมื่อต้นทุน Cost
of Capital เพิ่ม Expected Return หรือ Discount
rate ใน DCF Model สูงขึ้น มูลค่ารวมจะลดลง
เพียงแต่จำนวนหุ้นลดลงมากกว่า
ทำให้เมื่อหารให้เป็นราคาต่อหุ้นดูสูงขึ้นดังนั้นในทางทฤษฎีแล้ว
การซื้อหุ้นคืนจึงไม่ใช่การ Maximize shareholders’ value
แต่เพียงผลทางจิตวิทยาตลาดทุนที่ทำให้หุ้นขึ้นเท่านั้นแต่ไม่เกิด value
addedโดยรวมในด้าน corporate financial management
5.
บริษัททำด้วยเหตุผลที่อยากจะให้ราคาหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้น
เพราะคิดว่าแรงซื้อจากบริษัทจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น พูดง่ายๆ คือปั่นหุ้นตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น