วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

เมื่อสถาบันการเงินฟ้องและยึดทรัพย์ลูกหนี้-การบัญชี


ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี

เมื่อสถาบันการเงินฟ้องและยึดทรัพย์ลูกหนี้

ปกติการตั้งสำรองของสถาบันการเงิน จะตั้งสำรองเท่ากับ (ยอดสินเชื่อคงเหลือที่ต้องชำระ – มูลค่าหลักประกัน) คูณ อัตราตั้งสำรอง ซึ่งมาถึงขั้นฟ้องร้องก็จะใช้อัตราสูงสุดคือ 100% ถ้าลูกหนี้ใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน ก็เอามูลค่าที่ดินที่ใช้ค้ำหักออก แล้วที่เหลือก็ตั้งสำรองทั้งจำนวน ถ้าใช้รถยนต์ค้ำก็คิดทำนอนเดียวกัน ถ้าไม่มีหลักประกัน ก็ต้องตั้งสำรองทั้งหมด

              เมื่อศาลตัดสินเรียบร้อยว่าชนะคดีให้ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ในขั้นแรก ลูกหนี้ที่มีหลักทรัพย์เป็นหลักประกันสถาบันการเงินก็จะล้างลูกหนี้และสำรองออก และบันทึกมูลค่าทรัพย์สินนั้นป็นทรัพย์สินรอขาย ไม่ใข่การกลับสำรอง (สำรองโอนกลับ) ที่เราจะมักจะคิดว่าลงเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนครับ กรณีนั้นคือการที่ลูกหนี้ที่ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปแล้วเรียกเงินชำระมาได้ (จะกล่าวต่อไป)



ตย. สมมติศาลตัดสินคดีจบและสถาบันการเงินยึดหลักประกันตามคำพิพากษา

เดบิต ทรัพย์สินรอการขาย_______________50,000

เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ____________150,000

__________________เครดิต ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม______________200,000



ต่อมาสิ้นงวดสถาบันการเงินต้องตีมูลค่าหลักประกันใหม่เสมอ ถ้าราคาลดลงจะบันทึกด้อยค่า (ถ้าไม่ลดลงไม่ต้องบันทึกใดๆ)

เดบิต การด้อยค่าทรัพย์สินรอการขาย________5,000

__________________เครดิต ทรัพย์สินรอการขาย_______________5,000



เมื่อขายทรัพย์สินรอการขายออกไปได้มา 37,900

เดบิต  เงินสด______________________________37,900

เดบิต ขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย_____7,100

__________________เครดิต ทรัพย์สินรอการขาย_______________45,000



แต่ถ้าไม่ส่งฟ้องศาล แต่ลูกหนี้ที่ตั้งไว้ บางส่วนมีการเรียกชำระได้ 16,000 กรณีนี้ เราจึงมีการกลับรายการที่ตั้งสำรองกลับคืนมา กรณีที่กล่าวข้างต้นนี้ เราได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปแล้ว แต่ยังไม่ได้จำหน่ายลูกหนี้ออกจากระบบบัญชี ก็เพียงกลับรายการค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญ แล้วตั้งลูกหนี้กลับมาใหม่ แล้วเก็บเงิน

เดบิตลูกหนี้____________16,000

__________________เครดิตหนี้สงสัยจะสูญ_______16,000 (บางที่เรียกหนี้สูญรับคืน)

เมื่อเก็บเงินได้

เดบิต  เงินสด________________________16,000

__________________เครดิตลูกหนี้_________________16,000



ดังนั้นเมื่อเห็นมีรายการกลับสำรองหนี้สังสัยจะสูญขึ้น แสดงว่ามีการเรียกเก็บหนี้ที่ตั้งสำรองไปแล้ว ไม่ใช่การชนะคดีแล้วยึดทรัพย์ เงินที่เก็บได้ ก็ไม่ใช่ลงรายได้อื่น แต่คือค่าใช้จ่ายติดลบ (รายการโอนกลับ) บางที่เรียกหนี้สูญรับคืนนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น