เงินลงทุนของบริษัทกับการรับรู้กำไร
เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ล้วนต้องการลงทุนระยะยาวในหุ้นเติบโต
และมักมองเพียงหรือหาจากการดูกิจการที่มีการเติบโตของกำไรสุทธิมากๆ ก็ถูกแต่ไม่หมด
1.
กำไรสร้างได้จาก one-time gain
2.
กำไรสร้างได้จากการทำ creative
accounting
ประเด็นทั้งสองทำได้มากมาย
แต่ในบทความครั้งนี้ขอมุ่งในประเด็นการทำ one-time gain และ creative
accounting ผ่านรายการเงินลงทุน
เงินลงทุนเราแบ่งได้หลายๆ มุม ผมยำมารวมแล้วกัน
และสรุปสั้นๆ ครับ
1.
เงินลงทุนเพื่อค้า (For Trading) –
เป็นเงินลงทุนระยะสั้น (เงินลงทุนชั่วคราว) เสมอ แสดงในสินทรัพย์หมุนเวียนเท่านั้น
เป็นหุ้นหรือตราสารต่างๆ ที่ไว้ซื้อขายเพื่อเก็งกำไรราคาสั้นๆ ต้อง Mark to
Market แสดงว่าต้องมีราคาตลาดซื้อขาย ต้องเป็นหุ้นหรือตราสารที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
ทุกครั้งที่แสดงงบการเงินต้องแสดงมูลค่าที่ราคาปิด (Market Price) ผลต่างที่เกิดขึ้นจะแสดงเป็นกำไรหรือขาดทุนในงวดทันที (ท่อนบน) กำไรขาดทุนจากการตีราคาบางครั้งอาจเห็นในชื่อกำไรขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรม
กำไรขาดทุนนี้ในกิจการธนาคา ประกันภัย หลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงินถือเป็นรายได้ปกติการดำเนินงานไม่ต้องปรับออก
เพราะธุรกิจเหล่านี้ต้องมีเพื่อธุรกรรมอยู่แล้ว ถือว่าปกติ แต่ในกิจการอื่นการซื้อขายหุ้นไม่ใช่กิจกรรมหลัก
เพราะควรผลิตสินค้าขาย ซื้อสินค้ามาขาย ไปให้บริการขนส่งสินค้า ฯลฯ ดังนั้นในกิจการที่ไม่ใช่กลุ่มการเงินจะถือเป็น
one-time gain
2.
เงินลงทุนเผื่อขาย (Available for Sell) – เป็นได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว อยู่ที่วัตถุประสงค์ของการถือลงทุน
มีไว้เพื่อขาย ถ้าเป็นระยะสั้นอาจถือ ยาวกว่า 3-6 เดือนหรือนานกว่านั้น
แต่ไม่เกินปี ตรงนี้ต่างกับเงินลงทุนเพื่อค้า (For Trading) ที่ต้องถือสั้นมากๆ
ไม่เกินไตรมาสควรขายออกแล้ว หุ้นกลุมนี้ก็ต้องแสดงมูลค่าที่ราคาตลาด หรือต้อง Mark
to Market เช่นกัน ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะแสดงในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
(ท่อนสอง) ในมูลค่าสุทธิจากภาษี ผลกำไรขาดทุน จะถูกกลับไปแสดงในท่อนบน (กำไรขาทุน)
เมื่อมีการขายเงินลงทุนนั้นออกไป ทั้งเงินลงทุนเพื่อค้าและเงินลงทุนเผื่อขาย
ต้องเป็นหุ้นในตลาด มีราคาตลาด และถือน้อยกว่า 20% ถ้ามากกว่านั้นจะถือเป็นเงินลงทุนร่วมหรือย่อย
ซึ่งเงินลงทุนพวกนี้เราจะไม่มีการทำ Mark to Market รายละเอียดจะกล่าวเมื่อถึงหัวข้อนี้ต่อไป
*ทั้ง งลท เพื่อค้าและเผื่อขายจะถือน้อยกว่า 20% และแสดงด้วยมูลค่าตลาดเสมอ การด้อยค่าอาจเกิดได้ถ้าหุ้นนั้นติด SP
ซึ่งราคาหุ้นจะถูกแช่แข็งไว้
แต่มูลค่าหากเกิดการซื้อขายอาจลดลงได้กว่าราคา ณ วัน SP กิจการต้องประเมินการด้อยค่า
3.
เงินลงทุนทั่วไป – เป็นเงินลงทุนที่ถือไว้และไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
ถือสัดส่วนน้อยกว่า 20% แสดงที่ราคาทุนและต้องประเมินการด้อยค่า
4.
เงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนด (Held to Matutity)
– เป็นตราสารหนี้ที่ไม่ได้มีไว้ซื้อขาย เช่นหุ้นกู้ ถ้ามีไว้ซื้อขายเก็งกำไรราคาจะจัดเป็นเพื่อค้า
เงินลงทุนตราสารหนี้ที่ถือไว้จนครบกำหนดจะแสดงด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย เข้าใจง่ายๆ
สั้นๆ สมมติ เราลงทุนในหุ้นกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยตามหน้าตั๋วที่ 5% อายุ 7 ปี ในขณะนั้นตลาดสำหรับตราสารหนี้อายุดังกล่าว
ต้องการผลตอบแทน 4% หุ้นกู้นี้ขายที่ 1060 บาท (ราคาต่อหน่วยคือ 1000) 60 บาทนี้เรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้
ซึ่งลงบัญชีดังนี้
เดบิต เงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนด 1000
____ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้_____________60
_____________________________เครดิต เงินสด 1060
เมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ย สมมติจ่ายปีละครั้ง
เดบิต เงินสด____________50
____________________________เครดิต ดอกเบี้ยรับ_____42.4
____________________________เครดิตส่วนเกินมูลค่า____7.6
จะตัดจ่ายส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ด้วยวิธี Effective Rate การแสดงมูลค่าหุ้นกู้
ปีที่ 0 วันซื้อ 1000 + 60 = 1060
ปีที่ 1 1000 + 52.4 = 1052.4
จะพบว่าราคาที่ลงทุนในหุ้นกู้จะค่อยๆ ลดลงจนปีสุดท้ายที่จะได้เงินต้นคืนคือ 1000
กิจการที่ออกหุ้นกู้ก็จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน แต่ลงบัญชีตรงกันข้าม
5.
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนด (Held to Matutity)
จะไม่แสดงราคาตลาดที่ซื้อขาย
เว้นแต่จัดเข้าเป็นเพื่อค้าหรือเผื่อขาย
6.
กิจการที่ถือหุ้นทุนในบริษัทอื่นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปโดยทั่วไปจะจัดเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม
(ตั้งแต่20% แต่ไม่เกิน 50%) ถ้าถือตั้งแต่
50% ขึ้นไปจัดเป็นบริษัทย่อย ทั้งสองถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ไม่แสดงด้วยวิธีราคาตลาด แต่แสดงด้วยวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) สำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม และต้องจัดทำงบการเงินรวมเมื่อเป็นบริษัทย่อย
7.
การแสดงวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) คือการทำ One line consolidation
8.
หลักของ One line consolidation คือแสดงส่วนของสินทรัพย์สุทธิที่บริษัทมีส่วนได้ส่วนเสีย
ซึ่งหมายถึงหุ้นสามัญที่ลงทุนอยู่เท่านั้น
9.
การแสดงด้วยวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) สำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม คือทุนที่ลง (อาจซื้อมาด้วยราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาบัญชีหรือราคายุติธรรมก็ได้ทั้งนั้น)
แล้วปรับปรุงทุกครั้งที่แสดงงบการเงินด้วยการเปลี่ยนแปลงส่วนทุนที่บริษัทมีส่วนได้เสีย
(คือหุ้นสามัญ) เช่น บวกกำไรขาดทุนของหุ้นสามัญ และหักเงินปันผลจ่าย กรณีที่มีหุ้นประเภทอื่นที่มี
Claim เหนือกว่า เช่นหุ้นบุริมสิทธิ์ จะไม่นับแสดงรวม
เพราะบริษัทไม่ได้ร่วมในส่วนได้เสีย ดังเช่นหนี้สินของบริษัทร่วมก็ตัดออก แสดงเพียงสินทรัพย์สุทธิ
(ส่วนของหุ้นสามัญเท่านั้น)
10.
กรณีบริษัทร่วมซื้อสูงหรือต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ไม่ต้องแสดงค่านิยมหรือกำไรจากการต่อรอง
ซื้อเท่าไรก็แสดงแรกเริ่มที่ราคาซื้อ แล้วต่อมาปรับปรุงเงินลงทุนด้วยกำไรขาดทุนของหุ้นสามัญและหักเงินปันผลจ่ายสำหรับหุ้นสามัญ
เงินลงทุนร่วมจะไม่มีการแสดงด้วยราคาประเมินใดๆทั้งสิ้น (PACE จึงแสดงผิดหลักบัญชี ส่งผลให้เกิดการลงรับรู้กำไรที่เกี่ยวข้องผิดในจำนวนที่มากเกินจริง)
11.
ค่านิยม และกำไรจากการต่อรองจากการซื้อเกิดเมื่อทำงบการเงินรวม
และรายการนี้ จะมากล่าวต่อไปภายหลัง และวิธีการสังเกตถึงการนำมาสู่การทำ Creative accounting
& Siphon
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น