1. สิ่งแรก ดูเงินลงทุนในร่วมและย่อย บริษัทจะแสดงที่ราคาทุนการลงทุน ปัจจุบันให้เลือกแสดงได้ด้วยทุน หรือวิธีส่วนได้ส่วนเสีย แต่หากเปลี่ยนวิธีต้องปรับปรุงย้อนหลังเสมือนทำมาย้อนหลัง จึงคาดว่าไม่มีใครอยากทำ เพราะเพิ่มงานและไม่มีผลต่อราคาหุ้นที่เกิดไปแล้ว นักลงทุนก็วิเคราะห์โดยดูงบรวมและงบแสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุนอยู่แล้ว และหากใครแสดงในงบเฉพาะด้วยราคาทุน ก็ต้องแสดงงบวิธีส่วนได้ส่วนเสียเปรียบเทียบอยู่ดี จึงไม่มีผลใดๆ
2.
สังเกตเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบเฉพาะกิจการที่แสดงด้วยราคาทุนกับงบการเงินที่แสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุน
หากกิจการของเงินลงทุนในร่วมเติบโตมีกำไร มูลค่าจะสูงกว่ารายการที่แสดงในงบเฉพาะ
กิจการร่วมที่ลงทุนนั้นมีกำไร และหากจะดูให้ละเอียดขึ้น ให้ใช้ร่วมกับงบกำไรขาดทุน
ดูที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม หากเงินลงทุนปีก่อน
(ด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย) บวกกำไรส่วนแบ่ง บวกการลงทุนเพิ่ม
มากกว่าเงินลงทุนในร่วมตามวิธีวิธีส่วนได้ส่วนเสียแล้วในงวดปัจจุบันแล้ว
แสดงว่าระหว่างนั้นมีการจ่ายปันผลจากบริษัทร่วม
3.
การจ่ายปันผลจากร่วมให้บริษัทให้บริษัทแม่ จะไม่แสดงรายได้เงินปันผลในงบรวมหรืองบที่แสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสียในเงินลงทุน
แต่ถ้าอยากทราบ ให้ดูจากงบกระแสเงินสดในกิจกรรมการลงทุน
4.
สิ่งที่ได้เราจะได้เพียงภาพรวมแต่ไม่สามารถทราบรายบริษัทที่ลงทุน
แต่นั่นไม่สำคัญ กิจการที่ดีที่ผู้บริหารมีความรับผิดชอบต่อเงินผู้ถือหุ้น
ต้องเลือกลงทุนในกิจการที่สร้างผลตอบแทนที่ดี หรือถ้าไม่สร้างกำไร
ต้องเป็นกิจการที่เป็น Strategic Parners ที่ดี ซึ่งหมายความว่า ถ้ากำไรส่วนแบ่งต่ำ
ผลตอบแทนเงินลงทุนต่ำ ROA ภาพรวมของกิจการต้องดี ถ้า ROA
ยังต่ำแสดงว่ากลยุทธ์ลงทุนที่บริษัทตัดสินใจอยู่กำลังน่าจะเดินผิดทาง
5.
ดังข้อ 4 ถ้าการลงทุนในร่วมนั้นมีกรรมการร่วม
มีการปล่อยเงินกู้ยืมระหว่างกันมาก กำไรไม่มี ROA ก็ต่ำตามที่กล่าวมา
มีโอกาสที่จะ siphon ผ่านการกู้ยืม
และจ่ายซื้อหุ้นราคาสูงให้ผุ้ถือหุ้นเดิมได้ แม้จะไม่ได้ถือหุ้นเกินกว่า 50%
ก็ตาม แต่เงินไหลออกไปแล้ว
6.
กรณีถือเกิน 50% จนเป็นบริษัทย่อย
ใช้วิธีการเดียวกัน แต่การถือตั้งแต่ 50% ต้องทำงบการเงินรวม
ในงบการเงินรวมเราจะไม่เห็นเงินลงทุนในบริษัทย่อย สินทรัพย์และหนี้สินในบริษัทย่อย
จะนำบวกรวมตามรายการด้วยมูลค่ายุติธรรม และตัดรายการระหว่างกันออก
7.
จำไว้ง่ายๆ ว่า
บริษัทย่อยจะเปรียบเหมือนแผนกใหญ่หนึ่งในบริษัทแม่ มองทั้งกลุ่มเป็น Entity หรือหน่วยธุรกิจเดียวกัน
8.
ในการทำงบรวม สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทลูกต้องตีด้วยมูลค่ายุติธรรม
ดั้งนั้นส่วนเจ้าของก็จะแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม
เงินลงทุนในงบเฉพาะจะแสดงด้วยเงินที่จ่ายซื้อ
9.
ถ้าราคาจ่ายซื้อหุ้นลูกสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม
ส่วนที่จ่ายเกินจะแสดงเป็นค่านิยม ดังนั้นหากมองเร็วๆ
จากงบการเงินเฉพาะกิจการมีเงินลงทุนในย่อย X บาท แล้วงบการเงินรวมแสดงค่านิยม G บาท
แสดงว่าสินทรัพย์สุทธิที่ลงทุนมีมูลค่ายุติธรรม X-G บาท
10.
ยิ่งค่านิยมสูงแสดงว่ากิจการแม่จ่ายซื้อแพงกว่ามูลค่าตลาดยุติธรรม
ตรงนี้แหละที่ต้องระวัง เพราะอาจเป็นหรือไม่เป็นช่องทาง Siphon ได้ทั้งสิ้น คือจ่ายเงินซื้อหุ้นให้ผู้ถือหุ้นย่อยในราคาสูงด้วยเงินของกิจการใหญ่หรือแม่
11.
หากยิ่งมีการปล่อยกู้ให้ย่อย (ซึ่งจะเห็นได้ในงบเฉพาะ
งบรวมจะไม่เห็นเพราะรายการระหว่างกันจะตัดออก)
จะบ่งชี้ถึงการโยกย้ายเม็ดเงินออกจากบริษัทใหญ่ เปรียบย่อยไม่ต่างจากเห็บดูดเลือด
12.
ต่อมาดู ROA ของงบการเงินรวม
(ที่รวมค่านิยมไว้ด้วย) ว่าดีไหม ลดลงไหม ถ้าต่ำ หรือลดลงจากการซื้อย่อยรวม
ย่อยบ่งชี้ว่าการลงทุนในย่อยนั้นเป็นกลยุทธ์ที่อาจมีปัญหา ไม่สมเหตุสมผลทางการเงิน
ตรงนี้นักลงทุนมักถูกหลอกด้วยเรื่องเล่าอันสวยหรูจากผู้บริหารว่าลงทุนดีอย่างนั้นอย่างนี้
13.
กรณีซื้อบริษัทย่อยต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม
จะไม่มีค่านิยม แต่จะเกิดกำไรจากการต่อรอง ตรงนี่อาจมีทั้งดีและไม่ดีได้
ต้องพิจารณาดีๆ
14.
การซื้อได้ราคาถูกมากๆ จะบันทึกกำไรจากการต่อรองสูง
ทำให้กำไรงบรวมเพิ่มอย่างมีนัยได้ ข้อคิดคือกิจการดีแต่คนเดิมขายถูก
กิจการลูกนั้นดีจริงหรือไม่
ถ้ามีอนาคตทำไมขายถูกมากเกินไปจนกำไรจากการต่อรองสูงมาก ถ้าไม่มากยังพอมีเหตุผล
คนทำธุรกิจหากกิจการพอมีอนาคตบ้างคงไม่ขายถูกเหมือนโยนทิ้ง ถ้าต่อรองมาแบบถูกมากๆ
ผมจะมองแบบไม่ไว้วางใจนัก หากถูกพอประมาณยังรับได้
15.
กิจการที่เป็นร่วมหรือย่อย จะไม่มีการตีราคาหุ้นที่ตลาด
ตีราคาสินทรัพย์หนี้สินได้ ส่วนเกินจากการตีมูลค่าเพิ่มจะไปแสดงเพิ่มในท่อนสอง ไม่รวมในกำไรขาดทุนงวดปัจุบันหรือท่อนหนึ่ง
16.
กรณีที่สูญเสียการควบคุมต้องหมายถึงเมื่อก่อนควบคุมคือเป็นบริษัทย่อย
แต่มีกลุ่มใหม่มาถือหุ้นเพิ่มจากการเพิ่มทุนแล้วแม่เสียสัดส่วนจากย่อยจนเป็นร่วมหรือต่ำกว่า
แต่การคำนวณต้องเป็นการสละหรือสูญเสียในหุ้นสามัญที่บริษัทมีการควบคุม กำไรเกิดจากการที่แม่ได้ส่วนเพิ่มจากการที่คนใหม่จ่ายแพงกว่าราคาบัญชีหรือทุนที่แม่ถือ
ถ้าคนใหม่จ่ายต่ำก็ขาดทุนได้ ย้ำครับว่ต้องหมายถึงหุ้นสามัญในระดับเดียวกัน (Claim) ที่กิจการจะได้รับ ไม่ใช่ Claim ที่เหนือกว่า เพราะถ้าเป็นหุ้นบุริมสิทธิ์
ส่วนที่จ่ายเกิน ห้นสามัญจะไม่มีสิทธิได้เลยต้องคืนหุ้นบุริมสิทธิ์เท่านั้น ประเด็นนี้
คือส่วนที่ PACE บันทึกกำไรจาการสละการควบคุมผิดทั้งจำนวณกว่าแปดพันแปดร้อยล้านบาท
17.
สุดท้ายลองกลับไปพิจารณาบริษัทที่ล้มเหลว มีปัญหาจำนวณมาก
สังเกตให้ดี มีจุดเริ่มจากการลงทุนแบบนี้โดยส่วนใหญ่ ล้มเหลวในย่อยแทบทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น