วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ทำไมควรใช้ T-Bill พันธบัตร 1 ปีเป็น Risk Free Asse

ทำไมควรใช้ T-Bill พันธบัตร 1 ปีเป็น Risk Free Asset
อ้างอิงจากงานวิจัย
THE CAPITAL ASSET PRICING MODEL’S RISK-FREE RATE by Sandip Mukherji, Howard University
The International Journal of Business and Finance Research Volume 5 Number 2 2011
The risk-free rate is an important input in one of the most widely used finance models: the Capital Asset Pricing Model. “ Only Treasury bills do not have any market risk for 1- and 5-year periods, and they have the lowest market risk over 10 years. Although Treasury securities of all maturities have significant inflation risk, Treasury bills have the lowest inflation risk over all three horizons”. Treasury bills are better proxies for the risk-free rate than longer-term Treasury securities regardless of the investment horizon.”
ผมขอตัดบทสรุบงานวิจัยมาย่อๆครับ ใครอยากอ่านเต็ม ลองไป search ชื่อเรื่องดูครับ
จากสมการ
Rk = rf + B*(rm – rf) == > CAPM
Rk = B*rm + rf +B*rf
Rk = B*rm + rf*(1-B)
B*rm = > B = beta = sytematic risk of stock i compared to market.
1. หุ้นที่มีความเสี่ยงต่อระบบมาก ย่อมต้องการผลตอบแทนสูงกว่าตลาด อันนี้หากใช้โอเค
2. 1-B จะเป็นค่าลบ เมื่อ B สูงกว่าความเสี่ยงตลาดโดยรวม (beta ตลาด = 1) เนื่องจากในเรื่องหลักการลงทุน portfolio management นลท. สามารถใช้ risk free asset ช่วยลดความเสี่ยงลงได้ระดับหนึ่ง แต่โดยรวมยังมี required rate of return ที่สูงกว่าตลาด.
3. หากใช้ rf (ที่สูง อายุยาวๆ เช่นพันธบัตร 10 - 20 ปี) หุ้นที่มี beta มากๆ คือมีความเสี่ยง (systematic risk) สูง จะมีความต้องการผลตอบแทนน้อยลง ยิ่งใช้ risk free rate ของ T-note พันธบัตรยิ่งยาว ความต้องการผลตอบแทนยิ่งน้อยลง กลายเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงเชิงระบบยิ่งสูง required rate of return ยิ่งน้อยลง เหตุผลนี้ดูขัดกับหลักการเงิน High risk, High return
4. ในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยสูง convexcity ยิ่งมาก (ความชันของ curve ราคาตราสารหนี้) ความผันผวนราคายิ่งมากซึ่งต่างกับระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกัน fixed income instrument ที่มี Duration (อายุตราสาร) ที่ยาวก็จะมีความผันผวนราคามากกว่า ดังที่เราทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ทิศทางราคาหลักทรัพย์โดยรวมจะตรงข้ามกับทิศทางของดอกเบี้ย ดังนั้นการใช้ risk free rate ของพันธบัตรที่อายุยิ่งยาว การประมาณค่าคาดหวังของผลตอบแทนของหลักทรัพย์ยิ่งผันผวนมากตาม งานวิจัยจึงได้ผลสรุปดังที่ออกมา
5. Beta ที่วัดและใช้ในการหาค่า Rk ใน CAPM นั้น เรามักใช้ค่าข้อมูลเปรียบเทียบกับตลาด 1 ปีย้อนหลัง และวัดเป็นช่วงๆ ช่วงละ 1 ปี เช่น Beta ปี 2014, 2015, 2016 แล้วอาจนำมาเฉลี่ย แต่ไม่มีใครวัดค่า Beta 10 หรือ 20 ปี เมื่อ Beta มี time frame 1 ปี risk free rate ก็ควรใช้ 1 ปีด้วยใช่หรือไม่
ทั้ง 5 ข้อเป็นเหตุผลที่ผมเพิ่มเติมจากข้อสุปงานวิจัยว่าทำไม Treasury bills are better proxies for the risk-free rate than longer-term Treasury securities. ใครที่อ่านงานวิจัยซึ่งผู้ทำวิจัย (Sandip Mukherji, Howard University) ใช้ข้อมูลจริงมากกว่า 1000 ตัวอย่างระหว่างปี 1926-2007 ซึ่งถ้าใครเรียนเรื่อง Valuation กับผม จะทราบดีว่าผมเน้นให้ใช้พันธบัตร 1 ปี ไม่ใช่ 10-20 ปีเหมือนที่ผู้สอนหลายๆ ท่านนิยมใช้กัน ทุกเรื่องอย่างที่คนเรียนกับผม ผมจะบอกเสมอ ทุกเรื่องผมมีเหตุผล มีที่มาที่ไปไม่ใช่แค่จำมาบอกต่อ บอกตามตำรา แต่บอกเหตุผลไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น