วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หุ้นแต่ละตัวมีค่า P/E เฉพาะตัว ไม่ใช่ต้องเท่าตัวอื่นในอุตสาหกรรมเสมอ


หุ้นแต่ละตัวมีค่า P/E เฉพาะตัว ไม่ใช่ต้องเท่าตัวอื่นในอุตสาหกรรมเสมอ

จาก P/E Payout Model ; P/E = Payout ratio / (k – g)

Franshise P/E Model ซึ่งขยายต่อจาก Payout ratio / (k – g)

คนที่สนใจให้ไปอ่านใน Franchise Value – A Modern Approach to Security Analysis

เป็น TEXT BOOK แค่ราว 500 หน้าเท่านั้น ผมสรุปให้ครับว่า

Franshise P/E Model = 1/k + (1/k – 1/ROE)(g/(k-g))

เมื่อ 1/k = Tangible P/E ; k = D/P + Price growth = Total return

ดังนั้น ถ้ากิจการใดทำ ROE > k (Reaquired Expected Total Return) ในระยะยาว

ก็จะเกิด Franshise Value ขึ้น หรือ P/E ส่วนเพิ่มหรือ  (1/k – 1/ROE)(g/(k-g))

P/E is composed of a basic term—the reciprocal of the discount rate, which applies to all companies in the same risk class—and a second term that depends solely on the firm’s ability to generate productive future growth.

P/E จึงประกอบด้วย ค่า P/E พื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงเท่ากัน (Unleverage firm) และความสามารถในการเติบโตที่สูงกว่าอุตสาหกรรม (ability to generate productive future growth)

จาก CAPM ; k = rf + Beta*(rm-rf) และ

Beta = Bata0*(1+D/E) ; when Beta0 = Beta of unleverage firm

ดังนั้นกิจการใดที่มี D/E ยิ่งสูง k จะยิ่งมาก หมายความว่า การจะมี Franshise Value ต้องมี ROE ที่สูงขึ้น ดังนั้นการรีบสรุปว่าบริษัทที่ดี จะมี ROE สูงทันทีก็อาจจะไม่ถูกทันทีนัก

1.     ROE = ROA*(1+D/E); when ROA = Net Income/Total Assets (Old approach)

2.     กิจการที่แม้มี ROA ต่ำ ROE อาจสูงได้ ถ้าโครงสร้างทุนเป็นหนี้มาก

3.     สัดส่วนหนี้มากย่อมเสี่ยงต่อ bankruptcy มากกว่า

4.     P/E หุ้นจะสูงกว่ากิจการอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ถ้า ROE สูงกว่า

5.     การประเมินมูลค่าหุ้นควรดูที่จะพิจารณาหลังสุด หลังจากหุ้นที่เลือกลงทุนระยะยาวนั้นมี Solvency และมีความสามารถในการ Generate Cash Flow ตามลำดับ

6.     หุ้นที่โครงสร้างการเงินแกร่ง และสามารถสร้างกระแสเงินสดได้แล้ว โอกาสล้มจะยาก จากนั้นจึงค่อยดูว่าราคาเวลานั้นควรเข้าซื้อลงทุนหรือไม่

7.     ปัจจุบันนี้ นลท มักถูกสอนเน้นให้เลือกการดูกำไร พิจารณาแต่การโตด้านกำไร ผลคือบางตัวกำไรแต่ลงทุนไม่นานกลายเป็นกิจการมีปัญหา ราคาลงอย่างเร็ว

8.     หุ้นที่ลงทุนระยะยาวได้ต้องมีสามองค์ประกอบครบ Make Profit, Generate Cash Flow และ Stay Solvency และพิจารณาจากข้อสุดท้ายก่อนคือ Stay Solvency ท้ายสุดคือ Make Profit

9.     ในอัตราส่วนที่เลือกด้าน Make Profit คือ Profitability Ratios ซึ่งได้แก่การพิจารณาด้าน Margin ต่างๆ และ ROA ROE

10. หุ้นที่มี ROE สูงโดยไม่ได้มาจากการสร้าง Leverage (D/E) มากๆ จะมี P/E ที่สูงได้

11. ROE ต้องหมายถึง ROE ในระยะยาว ไม่ใช่ snop shot ROE

12. บางหุ้น ROE สูงเพราะ Equity น้อย เพราะมีขาดทุนสะสม แสดงว่าในอดีตที่ผ่านมาไม่สามารถทำกำไร ก็ต้องระวัง

13. การวัดค่าความนิ่งในอัตราส่วนต่างๆ รวมทั้งค่า ROE จะทำให้มั่นใจได้ว่า ROE ในระยะยาวสามารถรักษาผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น (ROE) ได้มั่นคง

14. เมื่อผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น (ROE) ได้มั่นคง ค่า P/E ก็สามารถประเมินมูลค่าได้อย่างมั่นใจ

15. ตัวอย่างการประเมิน P/E ถ้า Beta เฉลี่ยสามปี อยู่ที่ 1.25 ค่า k = 1.5% + 1.25*(16%-1.5%) = 19.6%

16. k – g เราสามารถ ประยุกต์ใช้ Dividend Yield (or expected dividend yield) สมมติค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2%

17. จาก P  = D/(k-g) == > D/P = k –g  และคาดว่ามี g และคาดว่ามีการเติบโตปันผล (g) ราว 12%

18. บริษัทมี ROE เฉลี่ยที่ราว 25% จะมี P/E = 1/.196 + (1/.196– 1/.25)(12%/1.2%) = 5+6 = 15

2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับความรู้สำหรับเรื่อง P/E นะครับ เป็นประโยชน์ต่อการดูหุ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามถ้าสนใจด้านการ เทรด Forex สามารถเข้ามาศึกษา-สนทนาร่วมกันได้ครับ

    ตอบลบ