สินค้าคงคลังหาย
เมื่อวานนี้ GGC ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต
จำหน่ายผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมิคอล ประกอบด้วย เมทิลเอสเทอร์ แฟตตี้แอลกอฮอลส์
แฟทตี้แอซิด แฟทตี้เอมีน และเอสเทอร์ของแอลกอฮอลส์อื่นๆ ได้รายงานผ่านตลาดว่า ณ 31 พค
61 วัตถุดิบจำนวน
71,848 ตัน มูลค่าราว 2,100 ลบ. (เฉลี่ยตกราวตันละ 30,000 บาท)
เมื่อเปรียบเทียบกับยอดรายงายในหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม ณ 31
มีค.
2561 วัตถุดิบมีมูลค่า 1,329
ลบ.
แสดงว่าในช่วง เมย. - พค. 61
ต้องมีการซื้อมากกว่า 800 ลบ. หรือมากกว่า
27,000 ตัน ประเด็นที่น่าสนใจคือ
1. มูลค่าวัตถุดิบที่สูญหาย
ราว 14.5% สินทรัพย์รวม ณ 31 มีค. 2561 หรือเทียบกับรายได้
เท่ากับ 45% ขณะที่มี GM
ราว
4.5-5% เท่ากับรายได้ไตรมาสที่สองนี้ จะหายไปราว เกือบ 45-50% กำไรขั้นต้นที่ได้มาจะไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายคงที่ในการดำเนินงาน
(S&A) ที่มีราว 178
ลบ
ณ 31 มีค. 2561 และเมื่อหุกค่าใช้จ่ายจากการสูญหายสินค้าอีกราว
2,100 ลบ ขาดทุนจะเกิดจำนวนมาก (1Q61 NI = 63 MB; Y60 NI = 521 MB)
2. บริษัทกล่าวว่าวัตถุดิบนี้ฝากไว้กับคู่ค้า
และสญหายไป ตามการเปิดเผยในหมายเหตุ บริษัทมีสัญญาให้บริการรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์กับบริษัทใหญ่ลำดับสูงสุด
และกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง และข้อมูลล่าสุด PTTGC คือผู้ถือหุ้นใหญ่
หมายความว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากวัตถุดิบหายคือ PTTGC
3. GGC อ้างว่าระบบการควบคุมภายในดี
เพียงแต่พนักงานไม่ปฎิบัติตามระบบ แต่ผมกลับมองตรงข้าม และขยายประเด็นแตกต่างออกไป
คำว่าการควบคุมภายในที่ดี ไม่ใช่การมีคู่มือตัวอักษรเป็นเล่มๆ สมบูรณ์
แต่ต้องรวมถึงการปฏิบัติตามระบบด้วย (Compliance) เพราะการเขียนให้ระบบการควบคุมภายใน
(Internal Control) ดูดีใครๆ ก็ทำได้ มีตำราบอกไว้
แต่หัวใจสำคัญหนึ่งของการควบคุมภายในคือ การทำให้เกิดการปฏิบัติตามระบบ
ดังนั้นการที่พนักงานไม่ปฏิบ้ติตามระบบ บ่งบอกว่าขาดระบบการควบคุมภายในที่สำคัญ
หรือบริษัทหย่อนยานในการ review และตรวจสอบการทำตามระบบ
4. เนื่องจากเกี่ยวพันกับคู่ค้าที่เป็นผู้รับฝากสินค้าคือ
PTTGC จึงเป็นไปได้สองประเด็นคือ หนึ่ง PTTGC ไม่ได้แยกสินค้าของบริษัท
PTTGC และ GGC ออกจากกันชัดเจนหรือวางปะปนกัน
เมื่อทาง PTTGC เบิกใช้ผลิตภายในหรือขาย อาจมีการหยิบหรือจำหน่ายออกจากคลังสินค้าผิดโดยเอาของ
GGC ไปแทน ของจึงหายไป หรือ สอง สินค้า (วัตถุดิบ)
อาจไม่ได้หาย แต่ถูกจัดเก็บในสถานที่คลังสินค้าอื่น หรือกล่าวง่ายๆ
คือระบุที่เก็บผิดในระบบคอมฯ (PTTGC และ GGC ลงรายละเอียดที่จัดเก็บอ้างอิงต่างกัน) เมื่อตรวจสอบข้อมูลจึงไม่พบสินค้า
5. ผมตัดประเด็นการขโมยของเพราะคิดว่า
สินค้า (วัตถุดิบ) ที่หายไม่ใช่สินค้าบริโภคทั่วไป
เป็นสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ผลิตเฉพาะอุตสาหกรรม และจำนวนมากเป็นหลายหมื่นตัน
การขโมยขายจึงเป็นไปได้ยาก ร้านขายของเก่าก็ไม่น่ารับซื้อ เมื่อขายยาก
จึงไม่รู้ขโมยไปทำไม และจำนวนมากขนาดนี้ถ้าขายโรงงานผลิต ก็ถือว่า volume มาก
มีกี่โรงงานที่รับซื้อของจากคนธรรมดาโดยไม่ผ่านบริษัท
6.
ย้อนกลับมาที่ประเด็นกล่าวในข้อสี่ ผลกระทบต่อ GGC ได้กล่าวถึงในข้อ 1.
ไปแล้ว
แต่ในข้อนี้จะเกี่ยวโยงไปถึง PTTGC ไม่ใช่เพียงแค่รับรู้ผลขาดทุน
แต่ประเด็นนั้นกระทบน้อยมาก PTTGC มีกำไรงบรวม 1Q61 ที่ 12,000 MB ส่วน GGC มีกำไร 63
MB ถึงแม้ GGC จะขาดทุน
แต่รายการดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกัน จะหายจริงหรือไม่ก็ตาม ในการทำงบรวมจะตัดออก
(รายการระหว่างกัน) ด้วยจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับ PTTGC
และตัดออกในการทำงบการเงินรวม
จึงไม่มีผลอย่างเป็นนัยะต่อ PTTGC
7.
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ PTTGC
หยิบวัตถุดิบผิดไปผลิตหรือขาย
จะมีผลทำให้สินค้าคงเหลือของ PTTGC ผิดไปแน่นอน
ในแง่งบรวมอาจไม่มีผล แต่ PTTGC ได้คะแนน CG 5 เต็ม
แต่ระบบการควบคุมภายในระหว่างบริษัทในกลุ่มหละหลวม คะแนนที่ได้ยังน่าเชื่อถืออยู่เพียงใด
ข้อนี้อาจบ่งชี้ว่าทั้งกลุ่ม ปตท. แท้จริงแล้ว มีการควบคุมภายในและระบบบัญชีที่มีประสิทธิผลดีจริงหรือไม่
8.
ผลทางบัญชีที่มีต่องบ PTTGC
เมื่อสินค้าคงเหลือผิด จะส่งผลให้กำไรผิดด้วย สินค้าแสดงมากไป
กำไรก็จะมากไป สินค้าแสดงต่ำไปกำไรก็จะแสดงน้อยเกินไป แม้ขนาดรายการเมื่อเทียบกับ PTTGC
จะไม่มาก แต่ก็ทำให้ขาดความมั่นใจต่อการแสดงมูลค่าใบงบการเงินรายการอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น