วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน และตลาดหุ้น


อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน และตลาดหุ้น

ปัจจัยหลายประการเป็นตัวกำหนดค่าเงิน เช่น

1.         ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อ

2.         ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย

3.         การมีบัญชีเดินสะพัดขาดดุล มีความหมายว่าประเทศได้ใช้จ่ายเงินในกิจการค้าระหว่างประเทศเกินขีดความสามารถในการหารายได้ของประเทศ ค่าเงินจะอ่อนลง กลับกันจะแข็งขึ้น

4.         หนี้สาธารณะประเทศ ยิ่งมีระดับสูงยิ่งอ่อนลง

5.         เสถียรภาพทางการเมืองและความสามารถเชิงเศรษฐกิจ  

การปรับตัวลงของตลาดหุ้นในปัจจุบันนี้ ที่กล่าวกันคือ การปรับสัดส่วนการลงทุน (ปรับ Portfolio) ในตลาด Emerging Market ทั่วทั้งโลก (บทความที่เขียนเมื่อ 25/5/2561) Market Catialization ของไทย เมื่อเทียบกับอเมริกาน้อยมากราว 1% กว่าๆ เท่านั้น แต่เขาลงทุนในตลาดไทย น่าจะกว่า 1.0 TBht (ล้านๆ บาท) ถามว่าเขาจะขายจนหมดเลยไหม ตอบเลยว่าไม่แน่นอน เพราะถ้าเราสังเกตทุกวันที่ขายก็มีซื้อ เพียงแต่สุทธิเป็นลบ เปรียบเหมือนขายออก แล้วซื้อกลับในราคาต่ำกว่าที่ขาย แสดงว่ายังไงก็มีหุ้นใน Portfoio ดังนั้นจึงไม่ใช่การขายเพราะพื้นฐานเปลี่ยนทุกตัว (บางตัวพื้นฐานอาจเปลี่ยน บางตัวไม่ใช่) จึงอย่าตระหนก แต่ให้กลับมายึดหลักการเสมอ ดูงบการเงิน ดูภาพในระยะยาว



ถ้าค่าเงินบาทอ่อน ตปท. จะขายหุ้นเสมอและหุ้นจะลง คิดง่ายๆ นะครับ ต้นปี ซื้อหุ้น 1 USD ที่อัตรา 31 Bth/USD ถ้าแนวโน้มบาทจะอ่อนลง 10% ถือหุ้นเฉยๆ จะขาดทุนในรูป USD 10% คือ 31/34 = 0.91 USD ดังนั้นเพื่อป้องกันเงินหายไปจากการถือหุ้นเงินบาท ก็ขายก้อนเงินบาทจะอ่อนไปที่ 34 ถ้าขายที่ ค่าเงินที่ 32 (สมมติราคาหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อง่ายต่อการคิดคำนวณ) จะได้เงินกลับไปที่ 31/32 = 0.97 USD ขาดทุน 3% ซึ่งดีกว่าถือไปเฉย จะเห็นว่าพื้นฐานหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแต่ค่าเงินปลี่ยน มุมมองคิดว่าอนาคตจะอ่อนลง การขายก็จะเกิดขึ้น

ทฤษฎีของอัตราแลกเปลี่ยน ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 แนวคิด คือเงินเฟ้อกับอัตรดอกเบี้ยแท้จริง

1) แนวคิดทฤษฎี Purchasing Power Parity (PPP เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน แนวคิดนี้กล่าวถึงการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ว่า “อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลใดๆจะถูกกำหนดจากปริมาณสินค้าและบริการที่สนองความต้องการซื้อของประเทศโดยเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศ หรือสามารถแสดงในรูปของสัดส่วนของระดับราคาสินค้าและบริการระหว่างประเทศ โดยระดับราคาจะเป็นเครื่องมือสะท้อนถึงค่าของเงินของแต่ละประเทศ ซึ่งก็คืออัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง” หรือ ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP) การใช้ทฤษฎีนี้ในการอธิบายอัตราแลกเปลี่ยนต้องตั้งข้อสมมติว่า

1) ระบบเศรษฐกิจไม่มีภาพลวงตาทางการเงิน  คืออุปสงค์และอุปทานของสินค้าทุกชนิดในแต่ละประเทศเป็น Homogeneous degree zero

2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินไม่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ  หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่คำนวณจากค่า PPP ไม่กระทบโดยนโยบายการเงิน

เขียนเป็นความสัมพัน์ได้ดังนี้   S1/S0= (P1/P0) / (P*1/P*0)   หรือ คิดง่ายๆ FX =  k (P/ P*)

เมื่อ S1 และ  S0 คือ Spot Rate ปีที่ 1 และปีปัจจุบัน (0) ส่วนP คืออัตราเงินเฟ้อประเทศ  P* อัตราเงินเฟ้อประเทศเปรียบเทียบ

2) แนวคิดทฤษฎี Monetary Approach ด้วยการพิจาณา real interest rate differential อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเปรียบเทียบตามแบบจําลองนี้ ถ้าอัตราดอกเบี้ยที่ แท้จริงไม่ได้ดุลยภาพ อัตราแลกเปลี่ยนจะห่างจากอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพระยะยาว ถ้าอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงภายในประเทศต่ำกว่าต่างประเทศ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินตรา ภายในประเทศจะมีค่าต่ำเกินไป (undervalued) เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพระยะ ยาว ก็จะมีการคาดคะเนการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินตราภายในประเทศชดเชย

เขียนเป็นความสัมพัน์ได้คล้ายแบบแรกดังนี้   S1/S0= (r1/r0) / (r*1/r*0)   หรือ คิดง่ายๆ FX =  k (r/ r*)

เมื่อ r คือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง real interest rate = norminal rate – inflation rate

ความจริงมีอีกหลายทฤษฎี แต่ที่นิยมใช้อ้างอิงคือสองเรื่องนี้

Norminal rate ใช้อัตรา Prime rate is a commonly used, short-term interest rate in the banking system of the United States. ของอเมริกาอยู่ที่ 5%

U.S. Prime Rate = (The Fed Funds Target Rate + 3) The Fed Funds Rate อยู่ราวๆ 2%

ของไทยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารอยู่ที่ 1.5%

อัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ที่ 0.7% อเมริกา 2.5% การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อของไทยจะสูงขึ้นไปที่ราวๆ 1% ของอเมริกาจะลดลงไปที่ราว 2.2-2.3% ดังนั้นในมุมมองสามถึงหกเดือนอัตราดอกเบี้ยแท้จริงไทย

จะห่างจากอเมริกามากขึ้น

ถ้าพิจารณาดอกเบี้ยจะเห็นชัดว่า อเมริกายังมีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง จึงทำให้ทั้งในแง่อำนาจซื้อเปรียบเทียบและอัตราดอกเบี้ยแท้จริงดีกว่าไทย ดังนั้นระยะสั้นๆใน 3-6 เดือนค่าเงินจะยังค่อยๆอ่อนค่าลงได้ แต่อัตราดอกเบี้ยอเมริกาไม่สามารถขึ้นสูงได้นานเพราะจะกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจได้หากสูงเกินไป นอกจากนี้ ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น การดุลบัญชีเดินสะพัด (ดุลการค้าเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่ง) ระดับหนี้สาธารณะ และเสถียรภาพทางการเมืองและความสามารถเชิงเศรษฐกิจ การทำสงครามการค้าในปัจจุบัน เพราะอเมริกาต้องการพลิกการขาดทุนดุลการค้าให้กลับมาบวก แต่ระยะยาวผมเชื่อว่าจะมีผลเสียต่ออเมริกามากกว่าบวก จะต่อเสถียรภาพทางความสามารถเชิงเศรษฐกิจ



ด้วยเหุตปัจจัยหลายๆ อย่างและประกอบกับแนวคิดทางหลักวิชาการสนับสนุน ทำให้เชื่อได้ว่าในระยะสามถึงหกเดือนข้างหน้าเราอาจจะยังเผชิญแรงกดดันจากการอ่อนค่าเงินได้ และจะค่อยๆลดความรุนแรงลง เมื่อแรงกดดันค่าเงินหมด ตลาดหุ้นจะกลับมาอีกครั้งด้วยภาพใหญ่ เศรษฐกิจไทยยังดูดีอยู่ในปีต่อๆไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น