วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การเลือกกลยุทธ์การเติบโต


การเลือกกลยุทธ์การเติบโต

ไม่มีกลยุทธ์ใดที่ดีที่สุด แต่กิจการจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ และทรัพยากรที่มี และสามารถทำได้ ต้องมีทรัพยากรใดที่จะเป็นต้องใช้ในการดำเนินกลยุทธ์นั้นๆ ในด้านการบริหารการจัดการโดยใช้ข้อมูลทางบัญชี ต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนตนเอง และเลือกเดินกลยุทธ์ให้เหมาะสม การเลือกกลยุทธ์ที่ผิดพลาด บางครั้งอาจเกิดจากกลยุทธ์ที่ผิด แต่บางกิจการอาจล้มเหลวเพราะความไม่พร้อมของทรัพยากรที่ต้องใช้สำหรับกลยุทธ์ และขณะดำเนินไปก็ขาดการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อน สิ่งต่างๆ เหล่านี้สะท้อนผ่านงบการเงินให้ทราบได้ วิสัยทัศน์อาจดูสวยหรูได้ แต่ความพร้อมของทรัพยากรกับผลลัพธ์ที่ปรากฏจะฟ้องผ่านงบการเงินเสมอ

ในทางการบริหาร Corporate เลือกกลยุทธ์การเติบโตได้สองทางคือ

1.Concentric Growth Strategy CGS กลยุทธ์การเติบโตแบบมุ่งเน้น

            ใช้เมื่อธุรกิจเห็นโอกาสในการทำตลาด  (Demand >Supply) 

            ธุรกิจจะทุ่มเท การวิจัย การตลาด การผลิต

            เน้นสินค้าหรือบริการในตลาดใดตลาดหนึ่ง

            อาจจะขยายตัวไปข้างหน้า (Forward )/ถอยข้างหลัง (Backward) ก็ได้    

ข้อดี คือสามารถสร้างจุดแข็งของธุรกิจในการแข่งขันเพราะเกิดความชำนาญ 

ส่วนข้อเสียคือ มีความเสี่ยงเพราะฝากไว้กับสินค้าชนิดเดียว หรือบริการเดียว

ตัวอย่าง เช่น มุ่งธุรกิจอาหาร ก็ไปเพียงด้านนั้นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นลักษณะนี้ เพราะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ที่ใช้กลยุทธ์ด้านนี้ จำเป็นต้องควบคุมบริหารการจัดการการดำเนินงานทั้งการบริหารการผลิต การจัดซื้อ การบริหารคลังสินค้า การตลาด การบริหารด้านลูกหนี้ให้มีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อบริหารได้ดี จะสร้างทุนหมุนเวียนภายในที่เข้มแข็ง ในงบการเงินจะสะท้อนทาง CFO ในองค์กรฐานข้อมูลทางบัญชีจะช่วยให้การตัดสินใจที่เหมาะสม ทำให้สามารถใช้ Mixed  Marketing Strategy (4Ps-4Cs-4Es) (ไว้จะลงรายละเอียดต่อไป) การมีจุดแข็งภายในนี้ จะทำให้เกิด Moat – Brand ซึ่งเป็นตัวสำคัญของ Business Model - Value Proposition เป็นต้น

Concentric Growth Strategy โดยการขยายตัวในแนวดิ่ง (Vertical Integration) เป็นการขยายการเติบโตในธุรกิจเดิมด้วยกลยุทธ์ในการรวมตัวตามแนวดิ่ง ความหมายคือ การเป็นเจ้าของหรือการควบคุม ตั้งแต่สิ่งป้อนเข้า (Input) ไปยังกระบวนการ (Process) หรือช่องทางต่างๆ ไปยังสินค้าสำเร็จรูป (Output) แบ่งเป็น 2 วิธี ขยายตัวไปข้างหน้า (Forward )/ถอยข้างหลัง (Backward) ถ้ามุ่งหวังการเติบโตแนวดิ่ง ข้อมูลด้านต้นทุนทุกด้าน ไม่ว่าการผลิต การตลาด หรือลอจิสติกต้องละเอียดถึงรายผลิตภัณฑ์ เพราะการขยายตัวทางนี้จะมุ่งเน้นการลดต้นทุน

2.Diversification Growth Strategy DGS - จะกระจายการลงทุนไปในหลายธุรกิจ สร้างความหลากหลายและความแตกต่าง ในการดำเนินงาน  ซึ่งอาจเกี่ยวพันหรือไม่เกี่ยวพันกับธุรกิจเดิมเลยก็ได้  แบ่งออกเป็น 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบเกาะกลุ่ม  (Concentric Diversification) และกลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบไม่เกาะกลุ่ม (Conglomerate Diversification)

กลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบเกาะกลุ่ม  (Concentric Diversification) มีความแตกต่างจาก Concentric ในที่นี้อาจรวมถึงกิจการที่ขยาย line กำลังการผลิตในกลุ่มตลาดเดิม เพิ่มความหลากหลายในสินค้า ทำธุรกิจอื่นแต่คล้ายแบบเดิม เช่น ฟาร์มหมู ก็ขยายไปทำฟาร์มกุ้ง ฟาร์มไก่ เป็นต้น



การเลือกรูปแบบการเติบโตของกลยุทธ์ มีสองแบบ คือ Organic Growth OG และ Inorganic IG กิจการที่เลือกการเติบโตแบบมุ่งเน้นสามารถใช้ OG or IG ก็ได้ แต่จะไปรูปแบบใดนั้นข้อมูลงบการเงินจะบอกว่าโอกาสความสำเร็จจะใกหรือน้อย เพราะสิ่งสำคัญไม่ใช่เพียง Growth ที่เห็นระยะสั้น แต่ความสำเร็จนั้นยั่งยืนหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น