ดัดแปลงบางส่วนจากบทความใน JOURNAL OF ECONOMICS ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย พีรเดช ชูเกียรติขจร และ นลิตรา
ไทยประเสริฐ ข้อ 1-8
1. วิกฤตเศรษฐกิจปี 1990 ของญี่ปุ่น
และวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 แต่ในปี 1985
ประเทศญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศ อันเนื่องมาจากข้อตกลง
Plaza
Accord ที่เกิดจากการที่ประเทศ
สหรัฐอเมริกามีอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง
และค่าเงินดอลลาร์ก็ยังแข็งค่ามากและมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้อุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกามีความสามารถในการแข่งขันลดลงอย่างมากและส่งออกสินค้าได้น้อยลง
ทำให้เกิดภาวะการขาดดุลการค้าอย่างหนักในสหรัฐอเมริกา
2.ในขณะที่ญี่ปุ่นในขณะนั้นกลับมีค่าเงินเยนที่อ่อนมากเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
ทำให้การค้าของญี่ปุ่นเกินดุลสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมากปัญหาของสหรัฐอเมริกานี้ได้นำ
ไปสู่ข้อตกลง Plaza Accord
3. โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกัน
5 ประเทศ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการแทรกแซงที่จะทำ ให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง
เพื่อลดการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐอเมริกา โดยผลของข้อตกลง Plaza Accord นี้ได้ทำ
ให้ค่าเงินเยนของประเทศญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีการขยายตัวในอัตราที่ลดลง
4. เมื่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลดลงอันเนื่องมาจากการส่งออกที่ลดลง
รัฐบาลญี่ปุ่นได้หันมาใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว เป็นมาตรการในลักษณะที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นหรือ
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate) การปรับลดมาตรการทาง
การเงินบางประเภท
เป็นต้น “เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ” แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ
มีการกู้ยืมเงินเพื่อการเก็งกำ ไรในตลาดหุ้น อสังหาริมทรัพย์และการลงทุนในกิจการที่ให้ผลตอบแทนต่ำ
ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
จนท้ายที่สุดในช่วงปลายปี 1990 “ฟองสบู่ของราคา
ที่อยู่อาศัย
และราคาหุ้นได้แตกตัวลง” เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในประเทศญี่ปุ่น ราคาสินค้าภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของประเทศญี่ปุ่น
รวมไปถึงการลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่น
5. จากเหตุการณ์ Plaza Accord และค่าเงินเยนที่แข็งค่า
บริษัทข้ามชาติของประเทศญี่ปุ่นได้พยายามปรับตัวเพื่ออยู่รอดจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
โดยในกลางทศวรรษที่ 1980
บริษัทต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและการขนส่งทำ
ได้ง่าย ซึ่งคือประเทศในกลุ่ม ASEAN
6. โดยการย้ายฐานการผลิตในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น
ก่อนหน้านี้บริษัทข้ามชาติของประเทศญี่ปุ่นก็ได้เริ่มเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่
ทำให้ประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่กลายเป็นห่านฝูงแรกที่บินต่อจากประเทศญี่ปุ่นดังที่ได้กล่าวในข้างต้น
ไทยเลยได้อานิสงค์กลายเป็นเสือตัวที่ห้าแห่งเอเชีย
7. แต่ในครั้งนี้ขณะที่ค่าเงินของประเทศญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นค่าเงินของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ก็แข็งค่าตามค่าเงินเยน
ทำให้บริษัทของประเทศญี่ปุ่นที่เข้าไปลงทุนในประเทศอุตสาหกรรมใหม่มีความสามารถในการส่งออกลดลง
8. ในขณะนั้น ASEAN
เป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงด้านแรงงานราคาถูก ทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีความสนใจในการเข้าไปลงทุนใน ASEAN เพิ่มขึ้นและประเทศในกลุ่มดังกล่าวจึงกลายเป็นฝูงห่านฝูงที่สองที่บินตามประเทศญี่ปุ่นต่อจากประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
9. ในช่วงนั้นที่ไทยได้อานิสงค์จากการลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นในการย้ายฐานการผลิตไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เราได้มีการทำ BIBF เพื่อเอื้อต่อการไหลเข้า-ออก
ของเงินทุนระหว่างประเทศ โดยในเดือนกันยายน 2535 (1992)
รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (Bangkok International
Banking Facilities : BIBF)
10. เกิดการขายตัวของระบบการเงินของประเทศที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้ด้อยสภาพขึ้นมากในสถาบันการเงินและการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในเมืองไทย
ณ ปลายปี พ.ศ. 2540 หนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นในระดับสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศรวม
และสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำเพียง 70.40%
11. เกิดการลงทุนเกินตัวในภาคธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะในโครงการภาคอสังหาริมทรัพย์
และฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เติบโตอย่างมากในช่วงปีพ.ศ.
2530 - 2539 ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน สนามกอล์ฟ สวนเกษตร
เนื่องจากผู้ประกอบการมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่กำลังร้อนแรงได้ง่าย
เพื่อมาลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ นอกจากนั้นแล้ว
ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความต้องการเก็งกำไร
ซึ่งได้ดึงดูดให้มีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมากจนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
12. ค่าเงินบาทถูกโจมตีตั้งแต่ต้นปี 2540 ค่าเงินบาทอ่อนอย่างรุนแรง ภาคธุรกิจที่มีหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก
ขาดความสามารถในการชำระหนี้ เกิดปัญหาความไม่เชื่อมั่นอย่างรุนแรงต่อสถาบันการเงินในประเทศ
รัฐบาลสั่งปิดสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง
ปิดธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง ธนาคารมีปัญหาสภาพคล่อง
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้นสูง โดย
NPLสุดที่ 52.3% ของสินเชื่อรวม เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542
13. ความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายการเปิดให้มีการจัดตั้ง
BIBF ที่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี
โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่ยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่
ทำให้ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไม่มีเสถียรภาพปริมาณเงินในระบบได้สูงขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อแบงก์ชาติพยายามดูดซับสภาพคล่องโดยการขายพันธบัตร
ยิ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่แล้วไม่ลดลง
ยิ่งทำให้เกิดมีเงินทุนไหลเข้ามามากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นแล้วมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินของไทยก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบความหละหลวมของการปล่อยกู้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
กฎเกณฑ์การกำกับดูแลก็ไม่เข้มงวดเพียงพอที่จะทำให้สถาบันการเงินมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง
14. การโจมตีค่าเงินบาทจึงเกิดขึ้น
ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมานาน มีการขาดทุนบัญชีเดินสะพัดของประเทศต่อเนื่อง
ทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาสโจมตีค่าเงินบาทของไทย
15. อย่างไรก็ตามในช่วงปี 1997 การลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นก็ได้ชะลอตัวลงอันเนื่องมาจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ในหลายๆ ประเทศที่ได้รับผลจาก Asian Miracle เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการแข็งค่า
ของค่าเงินเยนในช่วงกลางทศวรรษที่ 1985 ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งประเทศเหล่านี้มีปัจจัยเสี่ยงที่คล้ายกัน คือ มีการลงทุนที่เข้ามาอย่างมากจากต่างประเทศ
มีอัตราการกู้ยืมที่สูงขึ้นซึ่งส่วนมากจะอยู่ในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์ และหนี้ค้างชำระที่เพิ่มขึ้น
โดยปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ทำ ให้ความเชื่อมั่นในการ
ลงทุนลดลงถึงแม้ค่าเงินของประเทศผู้รับการลงทุนจะอ่อนค่าลงก็ตาม
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 เป็นอย่างมาก
16. ในช่วงทศวรรษ
90 วิกฤตเศรษฐกิจเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตก จึงทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคมืด ซึ่งเรื้อรังจนมาถึงปัจจุบัน
คำถามคือว่าทำไมวิกฤตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจึงเรื่องรังมามากกว่า 10 ปี เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในปี
2010 อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดการส่งออกไปยุโรปลดลง
ในระหวางนี้ญี่ปุ่นเกิดปัญหาทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ (ในปี 2011) เศรษฐกิจจึงทรุดลง แต่ก็กลับมาฟื้นได้ จากการใช้การกระตุ้นเศรษฐกิจของอาเบะ และมาทรุดอีกครั้งจากการเพิ่มภาษีหรือลดรายได้ในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว เพราะพยายามลดหนี้สาธารณะและการขาดดุลงบประมาณของรัฐลงเร็วเกินไป
ความมั่นใจในการบริโภคลดลง ทำให้กลับไปสู่เงินฝืดอีกครั้งหนึ่ง
17. เล่ามาเสียยาว
สรุปคือค่าเงินแข็งไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจ หากยังสามารถดูแลมิให้เกิดภาวะฟองสบู่ และกระตุ้นความมั่นใจในการบริโภค
รักษาระดับหนี้สาธารณะและหนี้ภาคครัวเรือน
ไม่ต้องให้ลดลงแต่ให้เติบโตอย่างสมดุลกับการขยายตัวเศรษฐกิจ
ตอนนี้ไทยไม่ได้เข้าภาวะวิกฤต แต่ควรระวังไม่ให้เดินตกหลุมวิกฤต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น