การอ่านงบกระแสเงินสด
ส่วน MI
(Minority Interest) ได้ปันผลมากกว่า บอกอะไร
งบกระแสเงินสด_________________________________________________งบการเงินรวม
สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2558_____________________2558_________2557
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไรก่อนภาษีเงินได้_________________________________________1,946,335_____1,033,322
รายการปรับกระทบยอดกำไรก่อนภาษีเงินได้เป็น
ค่าเสื่อมราคา________________________________________________216,536_______243,788
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม_________________________(89,474)______(212,252)
กำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เข้ากองทรัสต์ฯ___________________(864,207) _________- ___
กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงใน ส/ท น/ส ดำเนินงาน__1,425,661______1,301,679
เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน_________________________________1,358,547______2,274,488
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน_____________________________1,176,141______2,079,573
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
ดอกเบี้ยจ่าย_______________________________________________(254,403)_______(293,552)
เงินปันผลจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ___________________________(533,463)_______(266,740)
เงินปันผลจ่ายแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย___(640,237)_________(77,513)
เงินสดสุทธิจากใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน_____________________(3,168,684)________(703,788)
งบกำไรขาดทุน
สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2558 (หน่วย: พันบาท)
_________________________________________________งบการเงินรวม______งบการเงินเฉพาะกิจการ
___________________________________________________2558_____2557_______2558_____2557
กำไรสำหรับงวด__________________________________1,597,459___802,765____1,312,738__218,415
การแบ่งปันกำไร
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ___________________1,033,453___558,347_____1,312,738__218,415
ส่วนที่เป็นของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม________564,006____244,418____ 1,597,459__802,765
ตัวอย่างข้างต้น
เป็นของบริษัท AMATA ถ้าดูงบกระแสเงินสดในส่วน
CFF พบว่าเงินปันผลจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
น้อยกว่าเงินปันผลจ่ายแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย (MI) มีคนถามว่าเกิดได้อย่างไร
เกิดได้ครับ การจ่ายเงินปันผลจะยึดรูปแบบทางกฏหมาย
การรายงานทางบัญชีจะตามหลักบัญชี
กล่าวคือเมื่อบริษัทย่อยหรือร่วมมีกำไรก็จ่ายจากงบเดี่ยวของบริษัทย่อยหรือร่วม
ซึ่งในงบเฉพาะบริษัทแม่ก็ลงเป็นรายได้เงินปันผล แต่ในงบรวม
เมื่อจ่ายเงินปันผลและบริษัทแม่รับมา
1. กรณีบริษัทแม่รับจากย่อยจะไม่แสดงรายการ
ถือเป็นรายการระหว่างกัน ตัดหมดไปในการทำงบการเงินรวม
2. กรณีร่วมไม่แสดงในงบรวมเช่นกันเพราพรายได้รับร็ด้วยส่วนแบ่งกำไรไปแล้ว
แต่เงินปันผลที่รับมาจะนำไปลดเงินลงทุนในบริษัทร่วมลง (เหมือนลดส่วนเจ้าของ EQUITY ลงนั่นเอง)
3. ในงบกระแสเงินสดจะแสดงให้เห็นภาพรวมว่าเงินไหลออกจากงบรวมไปที่ใดบ้างถ้าไหลวนกันเองจากย่อยไปแม่
ก็ไม่แสดงเพราะเงินไม่ได้ออกไปจากกลุ่มธุรกิจ (งบรวม)
แต่บอกอะไรได้บ้างไหมกรณีแบบนี้
ถ้าใช้หลักสามัญสำนึกปกติ การจ่ายปันผลย่อมแสดงว่าต้องมีกำไร เมื่อลูกมีกำไร
กำไรนั้นก็ต้องส่งผลมาที่บริษัทแม่ ในงบเฉพาะแม่ รายได้ปันผลก็ต้องเพิ่ม แต่ถ้าแม่รายได้ของตัวเองน้อย
(หรือบางบริษัทขาดทุน) ก็อาจจ่ายปันผลน้อยได้
งบกระแสเงินสดบริษัทเงินปันผลจ่ายจะเหลื่อมปีกับกำไร ดังนั้นเงินจ่ายปันผลงวดปี 2558 จะเป็นกำไรทางบัญชีปี 2557 เราจะพบว่าบริษัทแม่มีกำไรจากตัวเองในปี 2557 เท่ากับ 218.4 MB งบรวมมีกำไร 802.8 MB แสดงว่า งบย่ยเองมีกำไรราว 600 MB มากกว่าบริษัทแม่มาก ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมได้ส่วนแบ่งกำไรมาน้อย
แต่การจ่ายปันผลเกินกว่าส่วนแบ่งกำไรที่ได้ของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม
บอกให้รู้ว่าบริษัทย่อยปีก่อนจ่ายปันผลจากกำไรสะสมออกไป อัตราจ่ายปันผลปีที่แล้วเกินกว่า
100% ประเด็นนี้ตีความได้หลากหลาย
ถ้าเป็นบริษัทไม่มีธรรมาภิบาลอาจมองไปถึงการไซฟ่อนเงินทีเดียว แต่กรณีนี้ มองด้าน growth ของย่อยว่าอาจจะเริ่มโตช้าลงแล้วจึงจ่ายปันผลออกมากๆ
ถ้าดูกำไรเก้าเดือน ย่อยทำกำไรเพยงราว 200 กว่าล้านเท่านั้น (1,597-1,313)
ขณะที่แม่กำไรเพิ่มมากจาก
218 ลบ. เป็น 1,313 ลบ. ซึ่งถ้ามองรายละเอียดลึกลงไปกำไร 1,313 ลบ. มีกำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เข้ากองทรัสต์ฯ
864 ลบ. กำไรปกติจึงเกิดราว 499 ลบ. (1,313-864) ไม่ใช่ 1,313 ลบ.
ถ้ามองภาพรวมกำไรจากบริษัทย่ยหายไปหมดแล้ว (ซึ่งอาจเกิดจากเอา AMATAV เข้าตลาดลดสัดส่วนถือหุ้นเพียง 36% รับรู้เพียงส่วนแบ่งกำไร) ตัว AMATAV มีกำไร 118 ลบ. รับรู้ 36% ราว 42 ลบ. แต่เก้าเดือนรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนมา
5.9 ลบ. แสดงว่าย่อยที่เหลือขาดทุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น