วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันเปลี่ยนสถานะ และกำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง


การรับรู้รายได้ที่เกิดจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม

กำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันเปลี่ยนสถานะ และกำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง



เงินลงทุนในบริษัทร่วม จะต้องแสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย (Equity Method) ในงบการเงินรวม ซึ่งการใช้วิธีนี้ทำให้เกิดการบันทึกส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุ) จากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ซึ่งแบ่งรับรู้ผลกำไรขาดทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วม ปกติบริษัทร่วมมักจะเป็นเงินลงทุนระยะยาว บริษัทถือหุ้นในระดับที่มีอิทธิพล (Influence) แต่ไม่ถึงกับควบคุม โดยกำหนดเบื้องต้นคือถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 20 แต่ไม่เกินร้อยละ 50



ในปัจจุบัน หลายบริษัทมีการแสดงกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันเปลี่ยนสถานะ และหรือ กำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง เชื่อว่าหลายคนสงสัยว่ามาอย่างไร วันนี้จะมาสรุปให้เข้าใจที่มาที่ไป แบ่งเป็นสองกรณี คือลดสัดส่วน และเพิ่มสัดส่วน ทั้งสองกรณี บรษัทยังต้องดำรงสัดส่วนที่ยังป็นบริษัทร่วมอยู่ เช่นเดิมถือ 30% ลดแล้วเป็น 25% ยังมากกว่า 20% หรือ จากที่ถือ 28% เป็น 37% เป็นต้น

1.ลดสัดส่วนเงินลงทุน จะแสดงกำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง เช่นบริษัท A เดิมถือหุ้น B 30% โดย B มีทุน 400 MB (par@1) มี BV รวม 600 A ถือที่ BV เท่ากับ 180 MB (120 ล้านหุ้น ต้นทุน 1.5 บาทต่อหุ้น) ต่อมา B เพิ่มทุน จาก 400 MB เป็น 500 MB ขายหุ้นละ 2 บาท A ไม่เพิ่มตาม สัดส่วน A ใน B จะเป็น 120/500 = 24% เนื่องจากหลักการ Equity Method คือ งลท. ในร่วมคือการแสดงส่วนได้เสียใน Equity ของบริษัทที่ถือหุ้น

A     =     L   +   E     ; Asset ใน A งลท แสดงก่อน B เพิ่มทุน = 180

เมื่อ B เพิ่มทุน 100 ล้านหุ้น @ 2 BV ของ B จะเป็น 600+200 = 800 MB

A ถอสัดส่วนใหม่ 24% ต้องแสดง งลท ของ B 192 MB

งลท + 12   =  E  + 12

กำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง = 12

เปรียบเหมือนว่า A ซื้อตามสัดส่วนก่อน 30 ล้านหุ้น ที่ @ 2 บาท

เดิมมี 120 ล้านหุ้น ต้นทุน 1.5 บาทต่อหุ้น ซื้อเพิ่ม 30 ล้านหุ้น ที่ @ 2 บาท

รวม = 120*1.5 + 30*2 = 180 + 60 = 240 ต/ท ใหม่ = 240/150 = 1.6

ขายออก 30 ล้านหุ้น ที่ @ 2 บาท กำไร 0.4 บาทต่อหุ้น

30 ล้านหุ้น จึงเสมือนมีกำไร = 30*0.4 = 12 ลบ.

2. เพิ่มสัดส่วนเงินลงทุน จะแสดงกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันเปลี่ยนสถานะ เช่นเดิม A ถือหุ้นใน B 25% มูลค่า งลท ใน B ก่อนเปลี่ยนสัดส่วนคือ 420 ลบ A ถือหุ้นใน B เพิ่มเป็น40% โดยจ่ายซื้อเพิ่มจากการที่ B เพิ่มทุน อีก 200 ลบ.โดย A จ่ายซื้อส่วนใหญ่ทำให้สัดส่วนเพิ่มเป็น 40% ไม่จำเป็นต้องซื้อที่ BV ของ B เมื่อซื้อ ในวันซื้อ งลท. ใน B วัดมูลค่ายุติธรรมใหม่เท่ากับ 750 ลบ.

งลท 420 + 200  =  620 งลท ใหม่ตามมูลค่าราคาทุน

วัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนร่วม ณ วันเปลี่ยนสถานะ = 750 ลบ

Asset งลท +130   =   E +130 แสดงกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม



คงพอคลายความสงสัยที่มาที่ไปของรายการดังกล่าวนะครับ

Redeemable Perfered Stock and Perpetual Bond


Redeemable Perfered Stock and Perpetual Bond

Perpetual Bond คือตราสารหนี้ที่ไม่มีวันหมดอายุ โดยไม่มีการไถ่ถอนคืนจนกว่าบริษัทจะเลิกกิจการ และจะมีการจ่ายดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนด ในทางการเงินจะมีลัษณะเหมือนกับ Redeemable Preferred Stock ในขื่อภาษาไทยเรียกว่า หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนได้ โดยมีนิยามดังงนี้

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นตราสารประเภททุนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของลักษณะที่คล้ายหนี้สิน คือ เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิเป็นอัตราตายตัวและถือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ของบริษัท แม้ว่าบริษัทอาจงดจ่ายเงินปันผลในปีที่ไม่มีกำไรหรือภาวะทางการเงินไม่อำนวย

ส่วนลักษณะที่คล้ายเจ้าของ คือ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์ของบริษัทภายหลังเจ้าหนี้แต่ก่อนหุ้นสามัญ แต่ถ้าไม่มีสินทรัพย์เหลือหลังการชำระคืนเจ้าหนี้แล้ว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก็จะไม่ได้รับทุนคืนเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิหากแบ่งตามรูปแบบการรับปันผล มีได้หลากหลายดังนี้

1) หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลในปีที่ไม่ได้ประกาศจ่ายเงินปันผล เช่นปีนี้ขาดทุนหรือกำไรต่ำ บริษัทอาจงดจ่ายปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์ได้ แต่จะสะสมจำนวนที่ต้องจ่ายไปครั้งหน้า เช่น ตอนออกสัญญาจะจ่าย 5% แต่ปีนี้ขาดทุนกำไรหรือขาดทุนจึงงดจ่าย ปีหน้าต้องจ่ายปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์ 10%
2) หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม (
Non – Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่หากปีใดไม่ได้จ่ายเงินปันผล จะไม่สามารถยกยอดไปจ่ายในปีถัดไป
3) หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ (
Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญอีก หลังจากที่ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดแล้ว หมายความว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิแบบนี้จะได้ปันผลไม่น้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ
4) หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ (
Non – Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดเท่านั้น

5) หุ้นบุริมสิทธิประเภทสะสมและร่วมรับ (Cumulative and Participating Preferred Stock) หมายถึง ลักษณะการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิประเภทนี้ ซึ่งมีสิทธิที่ได้รับเงินปันผลทุกปี ถ้าปีใดไม่ประกาศจ่ายเงินปันผลจะสะสมเงินปันผลไปรับในปีที่ประกาศจ่ายและมีสิทธิร่วมรับเงินปันผลที่เหลือตามส่วนแบ่งอัตราส่วนของเงินทุนในหุ้นแต่ละประเภท เป็นการนำ แบบ 1) และ 3) มารวมกัน

6) หุ้นบุริมสิทธิประเภทสะสมแต่ไม่ร่วมรับ (Cumulative but Nonparticipating preferred Stock) หมายถึง ลักษณะการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิประเภทนี้ จะมีสิทธิได้รับเงินปันผลในปีที่บริษัทยังมิได้ประกาศจ่ายเป็นการย้อนหลังของปีก่อน รวมถึงสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลสำหรับปีที่ประกาศจ่ายอีกตามอัตราที่ระบุไว้ หลังจากนั้นเงินปันผลที่เหลืออีกจำนวนเท่าใดให้นำไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญทั้งหมด เป็นการนำ แบบ 1) และ 4) มารวมกัน

บริษัทผู้ออกสามารถทำได้อีกมาก ในการ structure ตราสารทุนออกมา



หลายบริษัทออกและการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ เพราะ

1. มีความคล่องตัวและความยืดหยุ่น กล่าวคือ เงินปันผลจ่ายหุ้นบุริมสิทธิไม่เป็นภาระผูกพันที่ต้องจ่ายประจำเมื่อเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยจ่ายให้หุ้นกู้ซึ่งมีฐานะเป็นหนี้สินของกิจการ
2. ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืน ทำให้ธุรกิจไม่ต้องเตรียมจัดสรรเงินทุนไว้เพื่อไถ่ถอน
3. หุ้นบุริมสิทธิถือเป็นส่วนของเจ้าของ ดังนั้น การออกหุ้นบุริมสิทธิจึงยังทำให้บริษัทรักษาฐานะและอำนาจในการก่อหนี้ไว้ได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมในอนาคต
4. การออกหุ้นบุริมสิทธิไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้กิจการสามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปค้ำประกันหนี้ชนิดอื่นได้

ส่วนข้อเสียของการจัดหาเงินทุนโดยมีการออกหุ้นบุริมสิทธิ

1. อัตราเงินปันผลจ่ายหุ้นบุริมสิทธิสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้
2. เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปหักภาษีในการคำนวณหากำไรสุทธิ
3. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ค่านายหน้า มักสูงกว่าหุ้นกู้
4. ความนิยมลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิมีน้อย เนื่องจากข้อเสียเปรียบบางประการสำหรับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหารงาน ดังนั้นการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิจึงมีความเสี่ยงต่อการไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการเนื่องจากขายไม่ได้

5. หุ้นบุริมสิทธิไม่มีหรืออาจถูกจำกัดสิท์ในการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปประจำปี



เนื่องจากข้อดีข้อเสียที่มีอยู่ นักการเงินก็อยากให้เงินที่จ่ายปันผลถูกเรียกเป็นดอกเบี้ยจ่ายจะได้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีเพื่อเอาไปลดภาษีเหมือนดอกเบี้ยปกติ เพราะแม้จะแสดงกำไรมาก แต่เมื่อคำนวณ EPS (กำไรต่อหุ้น) ต้องหักเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์ก่อน จึงหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญ ดังนั้นอย่างไรกำไรต่อหุ้นก็ต้องหักปันผลหุ้นบุริมสิทธิ ทำให้ EPS ลดลงอยู่แล้วไปเรียก หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) ก็จะไม่ได้ประโยชน์ทางภาษี เลียเรียกใหม่ว่าเป็นหุ้นกู้ เงินที่จ่ายจะได้บันทึกเป็นดอกเบี้ยจะได้เกิดประโยชน์ทางภาษี (Tax Shield) แต่ทำอย่างไรให้กลายเป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ก็เขียนเงื่อนไขว่าไม่มีอายุไถ่ถอน และด้อยสิทธิ์ (Subordinate Bond or Unsecured Bond) ถ้าดูดีๆ ถ้าเลิกบริษัทจ่ายหนี้อื่นก่อนให้หมดเหลือจึงค่อยให้ Perpetual Bond ไม่พอหรือไม่ถึงทั้งหมดก็ไมม่มีสิทธิ์ฟ้องร้อง ดังตัวอย่างที่มีการออกของบรษัทในตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้



PTTEP บริษัทสามารถเลื่อนการชำระผลตอบแทนได้ตามดุลยพินิจของบริษัทโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งผลตอบแทนที่ค้างชำระดังกล่าวจะถูกสะสมไว้โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้ภายหลังการเลื่อนการชำระผลตอบแทน 12 เดือน ทั้งนี้ หากบริษัทมีการเลื่อนการชำระผลตอบแทน บริษัทจะไม่สามารถประกาศจ่ายเงินปันผล รวมทั้งไม่สามารถชำระดอกเบี้ย หรือแจกจ่ายสินทรัพย์ใดๆ ให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีสถานะทางกฎหมายเท่าเทียมกับ หรือด้อยกว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนนี้ และจะไม่สามารถทำการไถ่ถอน ลด ยกเลิก ซื้อ หรือซื้อคืนซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีสถานะทางกฎหมายเท่าเทียมกับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน

ANAN เป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนชนิดระบุชื่อผู้ถือไม่มีประกัน ไม่แปลงสภาพและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ชำระคืนเงินต้นเพียงครั้งเดียวเมื่อเลิกกิจการ หรือเมื่อบริษัทฯ ใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป หรือตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน โดยบริษัทฯมีสิทธิสะสมดอกเบี้ยจ่ายและเลื่อนการชำระดอกเบี้ยเป็นวันใดๆตามดุลยพินิจของบริษัทฯ กรณีที่บริษัทฯเลื่อนการชำระดอกเบี้ย บริษัทฯห้ามประกาศหรือจ่ายเงินปันผล หรือชำระดอกเบี้ยหรือแจกจ่ายทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯที่มีสถานะทางกฎหมายเท่าเทียมกับหุ้นกู้หรือผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯที่มีสถานะทางกฎหมายด้อยกว่าหุ้นกู้ และบริษัทฯจะไม่สามารถไถ่ถอน ลด ยกเลิก ซื้อ หรือซื้อคืนซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทฯที่มีสถานะทางกฎหมายเท่าเทียมกับหุ้นกู้หรือหลักทรัพย์ของบริษัทฯที่มีสถานะทางกฎหมายด้อยกว่า หุ้นกู้โดยมีค่าตอบแทน

ในแง่ของนักลงทุนเวลาวิเคราะห์เองจริงๆ นั้น ควรจัดเองใหม่ให้เป็นหนี้สิน ไม่ใช่ไปอยู่ในส่วนทุน เพราะ

1. เวลาหา ROE เราเอากำไรที่หักดอกเบี้ย Perpetual Bond แล้ว ตัวหารต้องไม่มี Perpetual Bond รวมอยู่

2. D/E เราวัดโครงสร้างแหล่งทุน สองส่วน คือแหล่งทุนที่มีภาระต้นทุนคงที่ กับแหล่งทุนที่ไม่มีภาระคงที่ แต่ได้ผลประโยชน์สุดท้ายจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งหมายถึงผู้ถือหุ้น (สามัญ) ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจริงทั้งหมดหลังหักภาระทุกอย่างออกไปหมดแล้ว แม้ Perpetual Bond หรือ Prefered Stock ถ้าเลิกกิจการ ก็ต้องได้คืนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ จึงต้องวัด    D/E โดย Debt ต้องรวม Perpetual Bond หรือ Prefered Stock เสมอ เจ้าหนี้ไม่รวมมันเรื่องของเขา เขาไปเสี่ยงเอง แต่คนถือหุ้นสามัญ เราได้ส่วนที่เหลือจากการจ่ายคืน Perpetual Bond ไม่ใช่ได้พร้อมเขา บัญชีจัดอย่างไรก็จัดไป นั่นเป็นเพียงนิยามทางบัญชี แต่นิยามการเงินต้องมองแบบนักการเงิน

3. คำถามที่อยากฝากไว้ว่าทำไมจึงเอา Perpetual Bond เป็นหนี้สิน ถ้ากิจการออก หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinate Bond) เรานับเป็นหนี้สินด้วยใช่ไหม การออกหุ้นกู้ไม่กำหนดเวลาไถ่ถอน Perpetual Bond ความจริงก็คือ การออกหุ้นกู้ที่ให้ auto-refinance นั่นเอง มันยังไงก็คือหนี้เพียงแต่มีสภาพที่พอครบอายุก็ refinance ตัวเอง เมื่อหุ้นกู้ทที่ refinance เรายังถือเป็นหนี้ ทำไม Perpetual Bond จะไม่นับเป็นหนี้ อย่าให้นิยามบัญชีหรืการจัดประเภททางบัญชี มาบิดเบือนแนวคิดทางการเงินพื้นฐาน



Perpetual Bond กระทบต่อผู้ถือหุ้นสามัญอย่างไร กระทบเมื่อบริษัทไม่จ่ายดอกเบี้ย (เป็นการหยุดจ่ายด้วยเหตุใดก็ตาม) บริษัทห้ามจ่ายผลกำไรหรือผลตอบแทนใดๆ ให้ผู้ถือหุ้นสามัญทุกกรณี ในทางการเงินคือ ผลกำไรของธุรกิจถูกกระทบโดยตรงจากภาระหนี้ประจำงวดของ Perpetual Bond ไม่ต่างจากดอกเบี้ยจ่าย ที่ดีกว่าหนี้ทั่วไปคือ ไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องใดๆ



การลงทุนในกิจการที่ออก Perpetual Bond ต้งคำนวณอัตราส่วนบางตัวให้ถูก ไม่อย่างนั้นอาจถูกตัวเลขบิดเบือนได้ จำไว้ บางค่าดีกับมุมมองเจ้าหนี้ นั่นก็เรื่องเจ้าหนี้ เราสนใจว่า ผลต่อคนถือหุ้นสามัญอย่างเราได้อะไรมากกว่า

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เมื่อเกิดการด้อยค่าในเงินลงทุนในบริษัทย่อย


 เมื่อเกิดการด้อยค่าในเงินลงทุนในบริษัทย่อย

เมื่อวานมีคำถามว่ากรณีเกิดการด้อยค่าในเงินลงทุนบริษัทย่อย แม่บันทึกรับรู้ขาดทุนด้อยค่า ปรากฏในงบเฉพาะ แต่เมื่อทำงบการเงินรวมรายการดังกล่าวหายไปในงบกำไรขาดทุนรวม  (ลองไปดูในงบไทยคม 58) จึงมีคำถามว่า งบการเงินรวมกำไรเพิ่มขึ้นใช่ไหม ต้องทำความเข้าใจครับว่า

1. การดำเนินงานจริงรวมยังเมือนเดิม ด้อยค่าเป็นเรื่องการปรับมูลค่าสินทรัพย์ งบแม่ต้องแสดงเพื่อให้รู้ว่าสินทรัพย์ (เงินลงทุนในย่อย) มูลค่าได้ลดลงเมื่อมีข้อบ่งชี้ตามมาตรฐาน

2. งบการเงินรวมเป็นงบที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มมีต่อบุคคลภายนอก รายการรหว่งกัน รายการที่เกี่ยวเนื่องกันนในกลุ่ม จะตัดรายการระหว่างกัน เช่นแม่ขายของให้ลูกมีกำไร แต่งบรวมเมื่อไม่ถือว่ามีการขายเกิดขึ้น แม่แสดงกำไร แต่งบรวมจะตัดยอดขายและต้นทุนขายสินค้าระหว่างกันนั้นออก กำไรก็เอาไปตัดลดมูลค้าสินค้าคงเหลือลูกออก (ถ้ายังไม่ขายออก) ถ้าขายออกก็ไปลดต้นทุนขายของลูกลงเหมือนแม่ขายเอง ตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

บริษัท แม่_____________บริษัทลูก_________งบรวม

เงินสด________500_____เงินสด_____50____เงินสด_____550

สินค้า________1000____สินค้า_____500____สินค้า_____1400

งลท ย่อย______500                     

ส่วนทุน______2000____ส่วนทุน___550____ส่วนทุน____1950



ขาย_______500____ขาย____200____ขาย____200__(แม่ขายลูกทั้งหมด 500)

ต้นทุนขาย__400___ต/ท ขาย_150___ต/ท ขาย_150__(ลูกขายของที่ไม่ได้ซื้อจากแม่)

กำไร______100___กำไร_____50___กำไร_____50__กำไรจากคนนอกกลุ่มทั้งหมด

แม่มีทุนเจ้าของปลายปี 2000 เพราะรวมกำไรขายให้ลูก 100 ไว้ด้วย ทุนเดิมคือ 1900 มีสินค้าเดิม 1400 เงินสด 500 เอาเงินลงทุนในลูก 500 ลูกเอามาซื้อของแม่ 500 ดังนั้น สินค้าเดิมมี 1400 เมื่อลูกไปเอาของมาขาย (ขายสด และจ่ายค่าของหมดแล้ว) กำไรทำให้ทุนเพิ่ม 50

3. สังเกตตุ๊กตาข้างต้น แม่ไม่ได้ทำอะไรเลยนะครับจากทุน 1900 เป็น 2000 ทุนมันงอกได้จาการตั้งลูก ขายกันเองแม่ลูก ถ้าลูกไม่ขายอะไรเลยก็ไม่ทำให้กิจการรวมโตได้ นี่ดีที่ลูกขายเองกำไรเพิ่มมา 50 ดังนั้นงบรวมจึงมองภาพได้ดีที่สุด นี่คือเหตุผลที่ผมย้ำเสมอว่าต้องดูและวิเคราะห์จากงบรวมเท่านั้น งบเฉพาะก็บิดเบือนได้ ใช้ดูเทียบบางรายการเพื่อหาประเด็นเท่านั้น

4. กลับมาที่ประเด็นกรณีมีการด้อยค่าเงินลงทุนในย่อยต่อ ปกติการมำงบรรวม ถ้าลงทุนมากกว่ามูลค่ายุติธรรม (Fair Value - FV) จะเกิดค่านิยมขึ้น (GW Goodwill) การด้อยค่าเมื่อเกิดขึ้นจะลดค่านิยมก่อน (ในงบไทยคม ปีก่อนหน้าค่านิยมด้อยค่า) เหมือนกับสินทรัพย์ PPE ด้อยค่าเอาไปลดส่วนเกินจากการตีราคาก่อน ลดจนหมด จึงรับรู้ขาดทุนในท่อนที่ 1 (คนเรียน 12 เรื่องบัญชีและมาตรฐานฯ ที่ผ่านมาไม่นานนี้ไปทบทวนดูครับ) ลดหมดก่อน เนื่องจากค่านิยมอยู่ในงบเป็น ส/ท จึงหักทันทีในกำไรท่อน 1 (บน) ถ้าดูงบไทยคมจะพบว่าปีก่อนมีด้อยค่าความนิยมลงก่อนแล้ว ปีนี้ย่อยยังไม่มีทีท่าฟื้นก็ลดมูลค่าเงินลงทุนต่อ จะเห็นว่าปีที่แล้วมูลค่ายังลงไม่ต่ำกว่า FV ที่ตีราคาตอนซื้อ ปีนี่ต่ำลงกว่า FV ปีก่อน แต่ยังสูงกว่า BV ก็ไม่เกิดในท่อน 1 งบรวม

5. ในการทำงบรวม ส/ท ลูกที่เอามารวม เป็นมูลค่า FV ไม่ใช่ BV (ตรงนี้คนเรียน 12 เรื่องบัญชีและมาตรฐานฯ ที่ผ่านมาไม่นานนี้ไปทบทวนดูเช่นกันครับ) เมื่อด้อยค่า งลท. ย่อย ต้องเอาส่วนด้ยค่านี้ลดมูลค่า FV ลงก่อน (ลดกระจายตามสัดส่วนให้หมดก่อน) เมื่อถีง BV ทางราคาทุนบัญชี จึงลงขาดทุนในท่อน 1 ตัวอย่างง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ

แม่______________ย่อย(BV)____FV_______งบรวม

Asset______900_______80_____100_______1000 (900+100)

งลท ย่อย___100 (ถือ 100%)

Equity____1000_______80_____100_______1000

6. ถ้าย่อยด้อยค่าต่ำลงกว่า BV ส่วนที่ต่ำกกว่ BV จะแสดงในงบกำไรขาดทุนรวมท่อนบนแล้ว สมมติต่อจากข้อ 5. งลท. ด้อยค่าลดลงเหลือ 40

แม่______________ย่อย(BV)____FV_______งบรวม

Asset______900_______80_____100______1000___(900+100)

งลท ย่อย____40 (ถือ 100%)

Equity____1000_______80_____100_______1000

ขาดทุน____(60)_________________________(-)

FV ย่อย ลดลงจาก 100 เหลือ FV ในมุมแม่เพียง 40 บริษัทย่อยไม่ตีลงได้มั๊ย ได้ครับมาตรฐานไม่ได้บังคับ แต่ในหลักการควรต้องตีราคาลง ย่อยอาจไม่มีมาตรฐานเรื่องนี้ หรือหลักเกณฑ์ต่างกัน (IFRS ไม่ได้บังคับใช้ทุกประเทศ บางประเทศ adap บางที่ก็ adop) แม่กับย่อยอยู่คนละประเทศเป็นต้น

แต่ถ้า งลท. ด้อยค่าลดลงเหลือ 70 และ FV ย่อย ก็ลดลงตาม ย่อยรับรู้ด้อยค่า 10 เพื่อให้ ส/ท ลดจาก 80 เหลือ 70

แม่______________ย่อย(BV)____FV_______งบรวม

Asset______900_______80_____70_______970___(900+70)

งลท ย่อย___70 (ถือ 100%)

Equity____1000_______80_____70_______1000

ขาดทุน___(30)________(10)_____________(30)

จะเห็นว่าขาดทุนจากการด้อยค่าในงบรวม = 30 ไม่ใช่ 40

7. ดังนั้น ถ้าบริษัทแม่ด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย จะลดในค่านิยมก่อน (ถ้ามี) จากนั้นปรับลด FV ที่ตีมูลค่าสินทรัพย์ในย่อยลง ซึ่งย่อยไม่บันทึกด้อยค่าก็ได้ ถ้าเมื่อไร FV ลดลงต่ำกว่าที่บันทึกจึงรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าแม่ ต้องเข้าใจด้วยนะครับหลังวันซื้อกิจการถือเป็น FV หมด ไม่ใช่ตี ส/ท ที่ FV ใหม่ทุกปีเพิ่มลด GW ใหม่ทุกปี ในการอ่านงบถือว่า GW เกิดวันที่ตัดสินใจซื้อเท่านั้น ว่าวันซื้อตัดสินใจไปแล้วจบ หลังจากนั้นมูลค่าลูกเพิ่มมากน้อยก็คือการดำเนินธุรกิจล้วนๆ ค่านิยมยังคงอยู่ได้หากลูกยังสร้างมูลค่าหรือกระแสเงินสดไม่น้อยกว่าที่ตัดสินใจซื้อ ดังนั้นส่วนเจ้าของบริษัทย่อยจะเพิ่มขึ้น ถ้าด้อยค่าแต่มูลค่าลดลงไปรวมแล้วยังสูงกว่าราคาทุน (มูลค่ายุติธรรม) วันที่ลงทุน ขาดทุนในเงินลงทุนย่อยที่ปรากฎในงบแม่ (เฉพาะ) ก็เพียงไปลบเงินลงทุนย่อย แต่ไม่ปรากฎในงบรวม แสดงว่าการด้อยค่าเงินลงทุนในงบรวมไทยคม ยังไม่ทำให้มูลค่าเงินลงทุนปุจจุบันลดลงต่ำกว่งเงินลงทุนแรกเริ่ม แต่ก็ส่งสัญญาณบอกว่า เงินลงทุนบางส่วนกำลังไม่เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็น Non-Performing Assets