การรับรู้รายได้ที่เกิดจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม
กำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ
วันเปลี่ยนสถานะ และกำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง
เงินลงทุนในบริษัทร่วม จะต้องแสดงด้วยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย (Equity
Method) ในงบการเงินรวม ซึ่งการใช้วิธีนี้ทำให้เกิดการบันทึกส่วนแบ่งกำไร
(ขาดทุ) จากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ซึ่งแบ่งรับรู้ผลกำไรขาดทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วม
ปกติบริษัทร่วมมักจะเป็นเงินลงทุนระยะยาว บริษัทถือหุ้นในระดับที่มีอิทธิพล (Influence)
แต่ไม่ถึงกับควบคุม โดยกำหนดเบื้องต้นคือถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 20
แต่ไม่เกินร้อยละ 50
ในปัจจุบัน หลายบริษัทมีการแสดงกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม
ณ วันเปลี่ยนสถานะ และหรือ กำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง
เชื่อว่าหลายคนสงสัยว่ามาอย่างไร วันนี้จะมาสรุปให้เข้าใจที่มาที่ไป
แบ่งเป็นสองกรณี คือลดสัดส่วน และเพิ่มสัดส่วน ทั้งสองกรณี
บรษัทยังต้องดำรงสัดส่วนที่ยังป็นบริษัทร่วมอยู่ เช่นเดิมถือ 30% ลดแล้วเป็น 25% ยังมากกว่า 20% หรือ จากที่ถือ 28% เป็น 37% เป็นต้น
1.ลดสัดส่วนเงินลงทุน
จะแสดงกำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง เช่นบริษัท
A เดิมถือหุ้น B 30% โดย B มีทุน 400 MB (par@1) มี BV รวม
600 A ถือที่ BV เท่ากับ 180 MB
(120 ล้านหุ้น ต้นทุน 1.5 บาทต่อหุ้น) ต่อมา B
เพิ่มทุน จาก 400 MB เป็น 500 MB ขายหุ้นละ 2 บาท A ไม่เพิ่มตาม
สัดส่วน A ใน B จะเป็น 120/500
= 24% เนื่องจากหลักการ Equity Method คือ
งลท. ในร่วมคือการแสดงส่วนได้เสียใน Equity
ของบริษัทที่ถือหุ้น
A = L
+ E ; Asset ใน A งลท แสดงก่อน B เพิ่มทุน = 180
เมื่อ B เพิ่มทุน 100 ล้านหุ้น @
2 BV ของ B จะเป็น 600+200 = 800 MB
A ถอสัดส่วนใหม่ 24% ต้องแสดง
งลท ของ B 192 MB
งลท + 12 = E + 12
กำไรจากการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมเสมือนรายการขายจริง = 12
เปรียบเหมือนว่า A ซื้อตามสัดส่วนก่อน 30 ล้านหุ้น ที่ @ 2 บาท
เดิมมี 120 ล้านหุ้น ต้นทุน 1.5 บาทต่อหุ้น
ซื้อเพิ่ม 30 ล้านหุ้น ที่ @ 2 บาท
รวม = 120*1.5 + 30*2 = 180 + 60 = 240 ต/ท ใหม่ =
240/150 = 1.6
ขายออก 30 ล้านหุ้น ที่ @ 2 บาท กำไร 0.4
บาทต่อหุ้น
30 ล้านหุ้น จึงเสมือนมีกำไร = 30*0.4 = 12 ลบ.
2. เพิ่มสัดส่วนเงินลงทุน จะแสดงกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม
ณ วันเปลี่ยนสถานะ เช่นเดิม A ถือหุ้นใน B 25% มูลค่า งลท ใน B ก่อนเปลี่ยนสัดส่วนคือ 420 ลบ A ถือหุ้นใน B เพิ่มเป็น40%
โดยจ่ายซื้อเพิ่มจากการที่ B เพิ่มทุน อีก 200 ลบ.โดย A จ่ายซื้อส่วนใหญ่ทำให้สัดส่วนเพิ่มเป็น 40%
ไม่จำเป็นต้องซื้อที่ BV ของ B เมื่อซื้อ ในวันซื้อ งลท. ใน B วัดมูลค่ายุติธรรมใหม่เท่ากับ
750 ลบ.
งลท 420 + 200 = 620 งลท ใหม่ตามมูลค่าราคาทุน
วัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนร่วม ณ วันเปลี่ยนสถานะ = 750 ลบ
Asset งลท +130 = E +130 แสดงกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม
คงพอคลายความสงสัยที่มาที่ไปของรายการดังกล่าวนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น