เมื่อเกิดการด้อยค่าในเงินลงทุนในบริษัทย่อย
เมื่อวานมีคำถามว่ากรณีเกิดการด้อยค่าในเงินลงทุนบริษัทย่อย
แม่บันทึกรับรู้ขาดทุนด้อยค่า ปรากฏในงบเฉพาะ
แต่เมื่อทำงบการเงินรวมรายการดังกล่าวหายไปในงบกำไรขาดทุนรวม (ลองไปดูในงบไทยคม 58) จึงมีคำถามว่า งบการเงินรวมกำไรเพิ่มขึ้นใช่ไหม ต้องทำความเข้าใจครับว่า
1. การดำเนินงานจริงรวมยังเมือนเดิม ด้อยค่าเป็นเรื่องการปรับมูลค่าสินทรัพย์
งบแม่ต้องแสดงเพื่อให้รู้ว่าสินทรัพย์ (เงินลงทุนในย่อย)
มูลค่าได้ลดลงเมื่อมีข้อบ่งชี้ตามมาตรฐาน
2.
งบการเงินรวมเป็นงบที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มมีต่อบุคคลภายนอก
รายการรหว่งกัน รายการที่เกี่ยวเนื่องกันนในกลุ่ม จะตัดรายการระหว่างกัน
เช่นแม่ขายของให้ลูกมีกำไร แต่งบรวมเมื่อไม่ถือว่ามีการขายเกิดขึ้น แม่แสดงกำไร
แต่งบรวมจะตัดยอดขายและต้นทุนขายสินค้าระหว่างกันนั้นออก
กำไรก็เอาไปตัดลดมูลค้าสินค้าคงเหลือลูกออก (ถ้ายังไม่ขายออก)
ถ้าขายออกก็ไปลดต้นทุนขายของลูกลงเหมือนแม่ขายเอง ตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้
บริษัท แม่_____________บริษัทลูก_________งบรวม
เงินสด________500_____เงินสด_____50____เงินสด_____550
สินค้า________1000____สินค้า_____500____สินค้า_____1400
งลท ย่อย______500
ส่วนทุน______2000____ส่วนทุน___550____ส่วนทุน____1950
ขาย_______500____ขาย____200____ขาย____200__(แม่ขายลูกทั้งหมด 500)
ต้นทุนขาย__400___ต/ท ขาย_150___ต/ท ขาย_150__(ลูกขายของที่ไม่ได้ซื้อจากแม่)
กำไร______100___กำไร_____50___กำไร_____50__กำไรจากคนนอกกลุ่มทั้งหมด
แม่มีทุนเจ้าของปลายปี 2000 เพราะรวมกำไรขายให้ลูก
100 ไว้ด้วย ทุนเดิมคือ 1900 มีสินค้าเดิม
1400 เงินสด 500 เอาเงินลงทุนในลูก
500 ลูกเอามาซื้อของแม่ 500 ดังนั้น
สินค้าเดิมมี 1400 เมื่อลูกไปเอาของมาขาย (ขายสด
และจ่ายค่าของหมดแล้ว) กำไรทำให้ทุนเพิ่ม 50
3. สังเกตตุ๊กตาข้างต้น แม่ไม่ได้ทำอะไรเลยนะครับจากทุน
1900 เป็น 2000
ทุนมันงอกได้จาการตั้งลูก ขายกันเองแม่ลูก
ถ้าลูกไม่ขายอะไรเลยก็ไม่ทำให้กิจการรวมโตได้ นี่ดีที่ลูกขายเองกำไรเพิ่มมา 50
ดังนั้นงบรวมจึงมองภาพได้ดีที่สุด
นี่คือเหตุผลที่ผมย้ำเสมอว่าต้องดูและวิเคราะห์จากงบรวมเท่านั้น งบเฉพาะก็บิดเบือนได้
ใช้ดูเทียบบางรายการเพื่อหาประเด็นเท่านั้น
4.
กลับมาที่ประเด็นกรณีมีการด้อยค่าเงินลงทุนในย่อยต่อ ปกติการมำงบรรวม
ถ้าลงทุนมากกว่ามูลค่ายุติธรรม (Fair Value - FV) จะเกิดค่านิยมขึ้น
(GW Goodwill) การด้อยค่าเมื่อเกิดขึ้นจะลดค่านิยมก่อน
(ในงบไทยคม ปีก่อนหน้าค่านิยมด้อยค่า) เหมือนกับสินทรัพย์ PPE ด้อยค่าเอาไปลดส่วนเกินจากการตีราคาก่อน ลดจนหมด จึงรับรู้ขาดทุนในท่อนที่
1 (คนเรียน 12 เรื่องบัญชีและมาตรฐานฯ
ที่ผ่านมาไม่นานนี้ไปทบทวนดูครับ) ลดหมดก่อน เนื่องจากค่านิยมอยู่ในงบเป็น ส/ท
จึงหักทันทีในกำไรท่อน 1 (บน) ถ้าดูงบไทยคมจะพบว่าปีก่อนมีด้อยค่าความนิยมลงก่อนแล้ว
ปีนี้ย่อยยังไม่มีทีท่าฟื้นก็ลดมูลค่าเงินลงทุนต่อ
จะเห็นว่าปีที่แล้วมูลค่ายังลงไม่ต่ำกว่า FV ที่ตีราคาตอนซื้อ
ปีนี่ต่ำลงกว่า FV ปีก่อน แต่ยังสูงกว่า BV ก็ไม่เกิดในท่อน 1 งบรวม
5. ในการทำงบรวม ส/ท ลูกที่เอามารวม เป็นมูลค่า FV
ไม่ใช่ BV (ตรงนี้คนเรียน 12 เรื่องบัญชีและมาตรฐานฯ ที่ผ่านมาไม่นานนี้ไปทบทวนดูเช่นกันครับ)
เมื่อด้อยค่า งลท. ย่อย ต้องเอาส่วนด้ยค่านี้ลดมูลค่า FV ลงก่อน
(ลดกระจายตามสัดส่วนให้หมดก่อน) เมื่อถีง BV ทางราคาทุนบัญชี
จึงลงขาดทุนในท่อน 1 ตัวอย่างง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ
แม่______________ย่อย(BV)____FV_______งบรวม
Asset______900_______80_____100_______1000 (900+100)
งลท ย่อย___100 (ถือ 100%)
Equity____1000_______80_____100_______1000
6. ถ้าย่อยด้อยค่าต่ำลงกว่า BV ส่วนที่ต่ำกกว่ BV จะแสดงในงบกำไรขาดทุนรวมท่อนบนแล้ว
สมมติต่อจากข้อ 5. งลท. ด้อยค่าลดลงเหลือ 40
แม่______________ย่อย(BV)____FV_______งบรวม
Asset______900_______80_____100______1000___(900+100)
งลท ย่อย____40 (ถือ 100%)
Equity____1000_______80_____100_______1000
ขาดทุน____(60)_________________________(-)
FV ย่อย ลดลงจาก 100 เหลือ FV
ในมุมแม่เพียง 40 บริษัทย่อยไม่ตีลงได้มั๊ย
ได้ครับมาตรฐานไม่ได้บังคับ แต่ในหลักการควรต้องตีราคาลง
ย่อยอาจไม่มีมาตรฐานเรื่องนี้ หรือหลักเกณฑ์ต่างกัน (IFRS ไม่ได้บังคับใช้ทุกประเทศ
บางประเทศ adap บางที่ก็ adop) แม่กับย่อยอยู่คนละประเทศเป็นต้น
แต่ถ้า งลท. ด้อยค่าลดลงเหลือ 70 และ FV ย่อย ก็ลดลงตาม ย่อยรับรู้ด้อยค่า 10 เพื่อให้ ส/ท
ลดจาก 80 เหลือ 70
แม่______________ย่อย(BV)____FV_______งบรวม
Asset______900_______80_____70_______970___(900+70)
งลท ย่อย___70 (ถือ 100%)
Equity____1000_______80_____70_______1000
ขาดทุน___(30)________(10)_____________(30)
จะเห็นว่าขาดทุนจากการด้อยค่าในงบรวม = 30 ไม่ใช่ 40
7. ดังนั้น
ถ้าบริษัทแม่ด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย จะลดในค่านิยมก่อน (ถ้ามี)
จากนั้นปรับลด FV ที่ตีมูลค่าสินทรัพย์ในย่อยลง ซึ่งย่อยไม่บันทึกด้อยค่าก็ได้
ถ้าเมื่อไร FV ลดลงต่ำกว่าที่บันทึกจึงรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าแม่
ต้องเข้าใจด้วยนะครับหลังวันซื้อกิจการถือเป็น FV หมด
ไม่ใช่ตี ส/ท ที่ FV ใหม่ทุกปีเพิ่มลด GW ใหม่ทุกปี ในการอ่านงบถือว่า GW เกิดวันที่ตัดสินใจซื้อเท่านั้น
ว่าวันซื้อตัดสินใจไปแล้วจบ
หลังจากนั้นมูลค่าลูกเพิ่มมากน้อยก็คือการดำเนินธุรกิจล้วนๆ
ค่านิยมยังคงอยู่ได้หากลูกยังสร้างมูลค่าหรือกระแสเงินสดไม่น้อยกว่าที่ตัดสินใจซื้อ
ดังนั้นส่วนเจ้าของบริษัทย่อยจะเพิ่มขึ้น ถ้าด้อยค่าแต่มูลค่าลดลงไปรวมแล้วยังสูงกว่าราคาทุน
(มูลค่ายุติธรรม) วันที่ลงทุน ขาดทุนในเงินลงทุนย่อยที่ปรากฎในงบแม่ (เฉพาะ)
ก็เพียงไปลบเงินลงทุนย่อย แต่ไม่ปรากฎในงบรวม
แสดงว่าการด้อยค่าเงินลงทุนในงบรวมไทยคม
ยังไม่ทำให้มูลค่าเงินลงทุนปุจจุบันลดลงต่ำกว่งเงินลงทุนแรกเริ่ม
แต่ก็ส่งสัญญาณบอกว่า เงินลงทุนบางส่วนกำลังไม่เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็น Non-Performing
Assets
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น