วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

Moats & Five Forces


Moats & Five Forces

Moats หรือปราการป้องกันธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ Chalie Munger คู่หูด้านการลงทุนของ Warran Buffett ได้กล่าวไว้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาการเลือกบริษัทลงทุน บริษัทใดมี Mosts ที่แข็งแกร่งจะดีมาก เพราะทำให้การเติบโตคงได้ยาวนาน ในทางการเงินการเติบโตสูงไม่ดีสู้การเติบโตที่แข็งแกร่ง เปรียบเหมือนการฝากเงินอัตาดอกเบี้นสูงๆ แต่มีเพียงชั่วคราวปีสองปี สู้ไม่ได้กับอัตราดอกเบี้ยปานกลาง แต่จ่ายนานนับสิบปี เช่นตราสารหนี้ระยะสั้นที่ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 12% ต่อปี สามเดือน พอครบกำหนดก็จ่านต้นจ่ายดอกเบี้ยคืน  เราก็ต้องเอาเงินมาลงทุนที่อัตราตลาดใหม่ ไม่เช่นนั้นต้องหาตราสารดอกเบี้ยสูงๆ ซึ่งมีไม่มากแน่นอน ถ้าหาง่ายแสดงว่าตลาดให้ดอกเบี้ยสูงอยู่แล้ว และกิจการที่ให้ดอกเบี้ยสูงล้วนเป็นบริษัทฐานะการเงินไม่แกร่ง วันนี้อาจไม่เจ๊ง แต่วันข้างหน้าไม่มีใครรู้ อาจไปลงทุนวันเจ๊งพอดีก็ได้ สมมติเราได้อัตราดอกเบี้ยตราสาร 4% ที่มีการจัดอันดับลงทุนกลางๆที่รับได้อายุตราสาร 3 ปี ถ้ามีเงินลงทุน 100 บาท วันนั้นตัดสินใจลงทุน อัตราดอกเบี้ยตลาดอยู่ที่ 2% ถ้าตัดสินใจเลือก 12% ได้ดอกเบี้ยสูงสามเดือน เมื่อครบกำหนดได้เงิน 100 + 100*12%*3/12 = 103 แล้วเอาเงินที่ได้ลงทุนในอัตราตลาดเท่านั้น (หลักการเปรียบเทียบต้องไม่ถือว่า reinvestmemt ที่อัตราสูงเดิมได้หากอายุต่างกัน เพราะหากคิดเช่นนั้นต้องคิดทางเลือกหากเกิดการผิดนัดชำระด้วย หรือ Default ในเวลา สามปีเท่ากัน ตราสาร 4% จะได้เงิน (100*(1+0.04)3) = 112.5 ขณะที่แบบแรกจะมีมูลค่าเท่ากับ 108.8 มาจาก 103*(1.02)2.75 บางคนคิดว่าทำไมไม่เอา 103 ลงต่อในตราสาร 4% อายุ 3 ปีละ ถือว่าวันนั้นให้เลือกแล้ว ไม่ลงทุนตราสารคนอื่นลงทุนหมดไปแล้ว ถ้าไปซื้อในตลาดต้องซื้อ premium ซึ่งผลตอบแทนจะเป็น 2% ตามอัตราตลาด ส่วนมากคิดไม่ถึงว่าแบบกลางๆ จ่ายนานๆ จะดีกว่า อย่าลืมพลังของการทบต้น อะไรที่ไม่ผันผวน ในเวลานานจะให้มูลค่ายิ่งสูง กิจการที่เติบโตสูงๆ มักยากที่จะรักษาการเติบโตขนาดนั้นได้ยาวนาน ดังนั้นการมี Moats จึงสำคัญมากต่อการรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (Sustainable Growth) สิ่งที่ลดทอนความสามารถในการแข่งขัน นิยมใช้ Micheal E. Porter’s Model หรือที่รู้จักกันดีคือ 5 Forces และเมื่อเอา Moats ของ Munger มาประกบกัน เราสามารถจับคู่ได้ดังนี้

1.     Rival Competition – Brand แรงกดดันจากการแข่งขันภายใน โดยเฉพาะในตลาดคู่แข่งขันมากราย ในตลาดแบบนี้มีมากที่สุดในเกือบทุกอุตสาหกรรม การยืนหยัดในอุตสาหกรรมได้คือต้องมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์สูง (Brand Loyalty) ในทางการตลาดจึงมีการสร้างแบรนด์ให้อยู่ในใจลูกค้าให้นานและเหนียวแน่นกที่สุด ใครทำให้ลูกค้าเป้าหมายจดจำได้ ย่อมสามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง

2.     Bargaining Power of Buyers – Network Effect แรงกดดันจากลูกค้าคืออำนาจการต่อรอง ปกติธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ลูกค้ามักมีทางเลือกมาก อำนาจต่อรองราคาจะมาก ดังนั้นแทบจะขายสูงกว่าคู่แข่งได้ยากมาก จะกดดัน margin ให้ลดลง เพราะการขายราคาสูงจะยาก แม้จะใช้กลยุทธ์ differntiation แต่ก็จะถูกเลียนแบบได้ แต่หากทำให้สินค้าเกิด Network Effect คือเกิดการใช้ตามๆกัน เธอมีฉันต้องมีด้วย ลักษณะแบบนี้จะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญคือติองทำให้สินค้าเกิดการใช้งานซ้ำหรือจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องไป

3.     Bargaining Power of Suppliers – Economy of Scales แรงกดดันจากซัพพลายเออร์คือส่วนที่มีผลต่อต่อทุนผลิต ที่มีขนาดการผลิตเล็ก ย่อมเสียเปรียบในเรื่องการต่อรองราคาเมื่อซื้อวัตถุดิบ โดยเฉพาะหากจัดหาซื้อได้เพียงที่เดียวหรือไม่กี่แหล่ง แต่หากมีขนาดการผลิตมาก ซื้อครั้งละมากๆ และต่อเนื่อง ผู้ผลิตก็เหมือนธุรกิจทั่วไป หากขายได้ต่อเนื่องก็ต้องอยากได้เช่นกัน กิจการที่มีขนาดการผลิตที่ใหญ่ ย่อมต่อรองได้ง่ายได้ดีกว่า ทำให้ควบคุมต้นทุนผลิตได้ง่ายขึ้น ลดแรงกดดันราคาขายได้ทางหนึ่ง ขณะเดียวกัน การมี Economy of Scales จะป้องกันคนเข้าใหม่ด้วย เพราะรายใหม่ที่เข้ามาต้องลงทุนมาก เพื่อให้ต้นทุนต่ำพอที่จะเจาะตลาดแข่งขันได้

4.     New Entrances – Regulation ปราการที่สำคัญในการกันคนเข้าใหม่ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมได้ยาก คือกฏระเบียบต่างๆ จากหน่วยงานรัฐ (Regulation) บางธุรกิจการเปิดธุรกิจต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐหรือหน่วยงานรัฐ เช่นธุรกิจโทรคมนาคม แม้จะป้องกันไม่ได้ 100% เพราะแนวโน้มโลกคือการเปิดเสรี แต่ก็ทำให้การเกิดคู่แข่งรายใหม่เกิดได้ช้าลง บางอุตสาหกรรมเงื่อนไขไม่มากก็ไม่ถือว่ามีปราการด้านนี้ แต่บางอุตสาหกรรมเงื่อนไขมาก ก็กลายเป็นข้อดีของคนที่เข้ามาแล้ว คนใหม่ๆอยากเข้าก็ต้องคิดมากขึ้นว่าคุ้มหรือไม่ ทำให้คู่แข่งไม่เพิ่มเร็วมาก

5.     Substituted Products/Services – Switching Cost or Intellectual Properties/Inovation แรงกดดันจากสินค้าทดแทน อุตสาหกรรมใดมีสินค้าใช้แทนได้ (ไม่ใช่เปลี่ยนไปใช้ของคู่แข่ง ตรงนี้เป็นข้อเรื่อง rival compettition) ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเปลี่ยนได้ง่าย การทำให้เกิดความยากในการเลิกใช้ เนื่องจากจะมี Switching Cost สูงทำให้ไม่คุ้มค่าในการเปลี่ยนสินค้า หรือการสร้างนวตกรรมใหม่ๆตลอดเวลา หรือมีสิทธิบัติ ก็จะเป็นเกราะคุ้มครองธุรกิจที่ดีในระยะเวลาหนึ่ง



            ดังนั้นการมองด้านเชิงคุณภาพเพียง business model ดี อาจไม่เพียงพอเพราะแค่มี business model ดี แต่ไม่ยั่งยืนก็ไม่ต่างอะไรกับการลงทุนตราสารที่มีดอกเบี้ยสูงๆ แต่อายุสั้นๆ 5 Forces ใช้วิเคราะห์แรงกดดันต่ออุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่ แรงกดดันเหล่านั้นทำให้อายุการเติบโตสั้นลง การรักษาการเติบโตให้ยาวออกไปต้องมี Moats ไว้ต้านทานแรงกดดันนั้น

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปัญาการเงิน “มะเร็งร้าย” ของธุรกิจ วิกฤตทางการเงิน 4 ระยะ


ปัญาการเงิน “มะเร็งร้าย” ของธุรกิจ วิกฤตทางการเงิน 4 ระยะ

ในระยะตั้งแต่ปลายปีที่แล้วถึงต้นปี เชื่อว่าหลายคนได้ข่าวการเบี้ยวตั๋วบีอีของบริษัทในตลาดหุ้นหลายแห่ง และมีหลายบริษัทก็ไปไม่รอด จนถูกขึ้น SP หลายบริษัท และหากได้ดูกันลึกๆ แล้ว โดยเฉพาะตัวเลขทางการเงิน จะพบว่าสัญญาณแสดงออกมาเป็นปีๆ ทีเดียว ไม่ใช่เกิดปุ๊บล้มปั๊บ แต่ส่วนมากถูกหลอกหรือมักหลอกตัวเองว่าทำแบบนี้มี Business Model ดี ดูมีอนาคต กำไรจะมา ยอดขายจะมา การวิเคราะห์เชิงคุณภาพยากมาก ไม่ใช่เรื่องข้อมูล แต่ยากเพราะข้อมูลนั้นต้องใช้ความระมัดระวัง จินตนาการ (มโน) อย่างรอบครอบ ใช้ประสบการณ์ล้วนๆ มองการเชื่อมโยงให้ออก ผมจะมองไปคู่กับสถิติข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ ถ้าข้อมูลงบการเงินที่ผ่านมาไม่เคยบอกว่าทำได้ ก็จะรับรู้เฉยๆ ผมคิดว่าขึ้นไม่ทันรถ ดีกว่าขึ้นแล้วตกจากรถ หรือรถคว่ำ อันนั้นเป็นตายเลยทีเดียว ตลาดหุ้นมีโอกาสเสมอ

ปัญหาที่นักลงทุนเมื่อวิเคราะห์กิจการคือ มักมองแต่ด้านการทำกำไร มักละเลยความเสี่ยง ผมเชื่อว่าทุกคนรู้อยู่แล้วว่า การลงทุนมีความเสี่ยง หุ้นทุนหรือตราสารเสี่ยงที่สุด การทำธุรกิจมีความเสี่ยงมากมาย การวิเคราะห์กิจการนอกจากการมองหาธุรกิจที่ Make Profit และ Generate Cash Flow แล้ว ต้องเป็นกิจการที่ Solvency ด้วย การทำกำไรคือเรื่องการตลาด Business Model ดี รูปแบบการทำกำไรดี ยังไม่ใช่สิ่งเดียวที่บอกว่าธุรกิจดี แต่ต้องมีการบริหารงานที่ดีมีประสิทธิภาพ (Generate Cash Flow) เพราะจะสร้างกระแสเงินสดเข้ากิจการได้อย่างแท้จริง แต่บางครั้งพฤติกรรมบางอย่างที่เราอาจไม่เห็น การดำเนินงานทุกอย่างจะถูกสะท้อนผ่านงบการเงินเสมอ คนที่ทำงานดี รายได้สูง มีประสิทธิภาพ แต่ก็อาจมีโรคร้ายซ่อนอยู่ได้ และโรครายนี้เองอาจทำให้ชีวิตอายุขัยสั้นลง หรือลดความสามารถการทำรายได้ลงในระยะยาวได้ ซึ่งปัญหาการเงินมักกลายเป็นปัญหาของธุรกิจ ซึ่งปัญหานี้คล้ายกับโรคมะเร็ง บางคนพอเป็นแล้วโรคลุกลามเร็ว ไม่เกินปีก็สียชีวิต บางคนกว่าจะพบว่าเป็น อาการอาจปรากฎให้เห็นเมื่อเข้าสู่ระยะที่สามหรือสี่สุดท้าย ในทางการแพทย์หากพบในระยะต้นๆ โอกาสรักษาหายสูงมาก ถ้าเป็นระยะท้ายๆ มักต้องทำคีโม บางคนก็ผ่านมาได้แต่ร่างกายทรุดหนักมาก ดังนั้นการพบอาการที่เริ่มบอกเหตุของปัญหาการเงินทำให้ธุรกิจรีบแก้ไขก่อนบานปลาย หรือในแง่การลงทุนก็ควรระวังหรือออกห่างไว้ แบ่งได้เป็น 4 ระยะอาการของโรคคือ



1. ระยะฟักตัว Earning Fluctuation - Non-quality of Earning

- ขยายธุรกิจอย่างหลับหูหลับตา รายได้อาจโตเร็ว แต่ AT มักลดลง และมักพบว่าเติบโตแบบ Non-organic Growth มากกว่าการเติบโตแบบ Organic Growth นอกจากนี้เมื่อพิจารณาด้าน Sustainable Growth ก็จะพบว่าไม่ดีเท่าไร ไม่นิ่ง และมี ROA แนวโน้มลดลง

- ทำการตลาดผิดพลาด แผนการตลาดที่ผิดพลาดมักพบได้จาก ยอดขายที่ไม่เพิ่มแต่ค่าใช้จ่ายการตลาดเพิ่มอย่างมาก หรือมี OM (Operating Margin) ลดลง (AT ลด OM ลด ย่อมทำให้ ROA ลด)

- ระบบบริหารไม่มีประสิทธิภาพ อัตราส่วนด้าน Turnover แย่ลงไม่นิ่ง ผันผวน วงจรเงินสดเริ่มยาวขึ้น บางกิจการที่มีวงจรเงินสดยาวขึ้นแต่ยังไม่มากกกว่า 45 วัน ยังถือว่าไม่น่ากังวล แต่บางกิจการที่ยาวเกิน 180 วันผมถือว่าเสี่ยง แม้จะลดลงก็ยังระวังอยู่

- ขาดระบบการบริหารวิกฤต Crisis Management วิกฤตกิจการเกิดได้จากทั้งภายในภายนอก ภายในมักกระทบการดำเนินงาน ทำให้อัตราส่วน turnover ไม่นิ่ง ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่นคนงานประท้วง พนักงานลาออกพร้อมๆกันหลายคน (ยกทีมออก) หรืออาจมีผลให้ยอดขายลดลง เช่น ข่าวที่ทำให้ผู้บริโภคต่อต้านใช้สินค้า ข่าวของกลุ่มลูกค้าลดลงจากการเกิดโรคระบาดในประเทศ เป็นต้น อัตราส่วนที่สะท้อนการเกิดผลกระทบนี้คือ Assets Turnover

-ใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดประสิทธิภาพ การจัดสรรการใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม จะทำให้ทรัพยากรไม่สามารถสร้างรายได้หรือต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้สินทรัพย์นั้นๆ สูงกว่าค่าของอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย พบได้ในอัตราส่วน AT GM OM เมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจเดียวกัน

- ละเลยต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจ หรือปรับตัวไม่ทัน กิจการที่ปรับตัวไม่ดี จะหลุดจากตำแน่งที่เคยโดดเด่นในอุตสาหกรรม อัตราส่วนการเงินต่างๆจะถดถอยลง บางครั้งอาจพบว่าพยามสร้างหรือรักษากำไรจากการมี one time gain มีการซื้อหุ้นคืน หรือจ่ายปันผลพิเศษแบบแปลกๆ ไม่สมเหตุสมผล



2. ระยะสำแดงอาการ Start Financial Crisis - Liquidity Problems หากอาการระยะที่ 1 เกิดแล้ว และหากยังดำรงอยู่ต่อสักระยะ สิ่งที่ตามมาคือ

- เงินทุนไม่เพียงพอ /ขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุน CFO เริ่มลดลง D/E เริ่มสูงขึ้น Debt/EBIT > 8

- พึ่งพาเงินกู้มากเกินไป ภาระดอกเบี้ยสูง DeBT/EBIT > 8  เริ่มมี ICR < 1.3 หรือ MICR < 1

- ขาดฐานข้อมูลและระบบบัญชีบัญชีที่มีประสิทธิภาพ รายงานการเงิน (งบการเงิน) มักมีปัญหา ส่งช้า (โดนขึ้น NP หรือ SP) ผู้สอบบัญชีมักมีเงื่อนไขหรือส่งสัญญาณผ่านรายงานผู้สอบบัญชี

- กระแสเงินสดการดำเนินงานติดลบต่อเนื่อง มักมาจาก Working Capital ที่เพิ่มมากจากการล้มเหลวในการบริหาร มี Turnover ที่ลดลง ทำให้ Cash Cycle ยาวมากขึ้น

- มีการยืดเวลาชำระหนี้  ผัดผ่อนการจ่ายหนี้

- ขาดความสามารถคาดการณ์อนาคตจากข้อมูล ในแง่นักลงทุนใช้ข้อมูลคาดการณ์ได้ยากมาก ในแง่ธุรกิจข้อมูลภายในใช้คาดการณ์ได้ไม่ดี ทำประมาณการได้ยาก



3. ระยะรุนแรง Temporary Bankruptcy - Liquidity Problems การเกิดมาถึงระยะที่สองแล้ว ร่างกายมักทรุดตัวลงเร็วเข้าสู่ระยะที่สามคือ

- ผู้บริหารเสียเวลากับการจัดการปัญหาสภาพคล่อง เมื่อผู้บริหารใช้เวลาไปกับการแก้ไขปัญหาการเงิน ย่อมเสียโอกาสในการวางแผนธุรกิจ มองโอกาสทางการตลาดหรือธุรกิจใหม่ๆ ยิ่งทำให้ขาดการขยายงาน สร้างโอกาสใหม่ๆ จนปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง จะหลุดจากตำแน่งที่เคยโดดเด่นในอุตสาหกรรมได้ง่าย ซึ่งเป็นอาการระยะที่หนึ่ง จะยิ่งตอกย้ำอาการของโรคยิ่งเด่นชัดขึ้น

-  เงินทุนขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง สภาพที่พบในอาการระยะที่สองจะชัดเจน CFO ที่ติดลบจากวงจรเงินสดที่ยาวแล้ว จะมาจากกำไรที่ลดลงด้วย (ระยะสอง GM อาจยังดีอยู่ แต่ Net Working Capital เพิ่มมาก แต่ระยะนี้ GM จะลดลงมากด้วย จนอาจถึงติดลบ) สถานะการณ์เช่นนี้มักจะทำให้กิจการต้องก่อหนี้ระยะสั้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สัดส่วนหนี้ระยะสั้นจะเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันอาจเริ่มเกิดขาดทุน ทำให้กำไรสะสมลดลงซึ่งไม่ได้เกิดจากการจ่ายปันผล ผมจะวัดด้วยอัตราส่วนกำไรสะสมต่อหนี้สิน (Retained Earnings / Debt < 70% จะหมายถึงอาการไม่ค่อยดี)

- ถูกลดหรือตัดเครดิตทางการค้าหรือการกู้ยืม นี่คือผลตามมาจากผลที่เกิดขึ้น

- หนี้เมื่อถึงกำหนดชำระไม่สามารถชำระได้ นี่คือผลตามมาจากผลที่เกิดขึ้นเช่นกัน



4. ระยะปรากฏเป็นจริง หรือสุดท้าย Permanent Bankruptcy และอาการสุดท้ายที่เกิดในระยะที่สามและหยุดไม่ได้คือสภาวะที่ดำเนินการต่อไม่ได้

- หนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์ ปิดกิจการ ล้มละลาย หรือ ตายนั่นเอง

- ปรับโครงสร้างหนี้ เปรียบเหมือนผ่าตัดใหญ่ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ที่นิยมทำคือ

        . ตัดขายสินทรัพย์ใช้หนี้ เหมือนกับตัดชิ้นส่วนอวัยวะสำคัญออก

        . ลดอัตราดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาจ่ายหนี้ หากเห็นว่ากิจการยังพอไปได้หากปรับเงื่อนไขลงบางส่วน

        . ลดหรือตัดหนี้ (Hair Cut)

        . แปลงหนี้เป็นทุน เจ้าของยอมลดสัดส่วนในกิจการลงให้เจ้าหนี้มาควบคุมแทน

ผมไม่นิยมหรือรีบลงทุนในกิจการที่ปรับโครงสร้างหนี้หรือเพิ่งผ่าตัดใหญ่ เปรียบเหมือนคนนั่นแหละ การผ่านผ่าตัดใหญ่มาใหม่ๆ ไม่รับประกันว่าหายขาด หรือแข็งแรงดังเดิม อย่างน้อยต้องพักฟื้นนานพอควร

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ-การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ


การวิเคราะห์เชิงปริมาณ-การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ

ในการวิเคราะห์ธุรกิจ เราสามารถแบ่งเป็นสองแนวทางคือการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)

        การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ไม่ใช่เพียงดูและการอ่านงบการเงินเท่านั้น แต่ต้องวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน อ่านและวิเคราะห์โน้มให้เป็นด้วย หลายคนแค่อ่านงบและดูงบรู้เท่านั้น แต่ยังไม่ถึงขั้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้อย่างแท้จริง ส่วนมากแค่ดูงบกำไรขาดทุน ดูกำไร เน้นแต่กำไรเป็นหลัก เทียบเพียงกำไรงวดต่องวด ปีต่อปี นั่นแค่ไว้เล่นระยะสั้น ลงทุนระยะยาวต้องอ่านและวิเคราะห์ได้ทั้งสามงบ และรู้จักใช้อัตราส่วนการเงินเป็น ตัวเลขในงบการเงินบอกได้หลากหลายมิติ ไม่ใช่เพียงอ่านข้อมูลอดีตเท่านั้นเหมือนที่คนส่วนมากเข้าใจ แต่หากเข้าใจแล้วก็เหมือนเจอลายแทงธุรกิจ มองได้ถึงอนาคต

          การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) ไม่ใช่แค่การอ่านรายงานประจำปีและ F56-1 แต่คือการทำความเข้าใจธุรกิจ ขายอะไร ขายใคร การแข่งขันเป็นอย่างไร จุดอ่อนจุดแข็ง อำนาจต่อรองเป็นอย่างไร อะไรคือสินทรัพย์หลักหรือทรัพยากรที่สำคัญ รูปแบบธุรกิจควรเป็นอย่างไร นอกจากนี้ควรมองความเสี่ยงของธุรกิจให้ออกว่ามีอะไรกระทบบ้าง การเข้าใจเชิงคุณภาพจะช่วยให้เรามองตัวเลขเชิงปริมาณอย่างเข้าใจมากขึ้น และเสริมให้เราอ่านงบการเงินได้ขาดมากขึ้น

         การวิเคราะห์เชิงคุณภาพไม่ใช่รู้เพียงว่าขายอะไร แต่ต้องมองว่าสิ่งที่ขายมี Value Proposition การนำเสนอคุณค่าอะไรให้กับลูกค้า เพราะหมายถึงการรักษาการเติบโตของตัวเลขในงบการเงิน การรักษาฐานลูกค้า เครื่องมืออะไรที่ช่วยเราพิจารณาเชิงคุณภาพได้ครบถ้วนรอบด้าน ไม่หลุดในประเด็นสำคัญไป โดยเฉพาะการมองด้านความเสี่ยง ซึ่งนักลงทุนมักไม่มอง เรามักอ่านแค่ข้อดีว่า หุ้นนั้นๆ หุ้นนี้ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ การพิจารณาด้านความเสี่ยงประกอบ ทำให้เรามองความเป็นไปได้ของการเติบโตระยาวได้ดีขึ้น และลงทุนด้วยความระมัดระวัง (prudence) เครื่องมือที่จะทำให้เรามีกรอบการมองรอบด้านครบถ้วน ทั้งด้านดี ด้านที่กดดันธุรกิจและโอกาสในการแข่งขัน (Competitive advantage) คือ 5 Forces จะทำให้เข้าใจลักษณะธุรกิจนั้นๆ ว่าผลิตภัณฑ์และธุรกิจมีจุดแข็งหรือไม่ ขายให้ใคร ขายอย่างไร ทรัพยากรหลักคืออะไร ยอดขายจะโตอย่างไรจากอะไร รูปแบบรายได้ ต้นทุน และพันธมิตรหรือคู่ค้าเป็นใคร จึงควรต้องเข้าใจ Business Model Canvas และสุดท้ายจะมองความเสี่ยงที่กระทบบริษัทได้รอบด้านครบถ้วนก็ควรใช้กรอบเรื่อง Enterprise Risk Management Model (ERM-LEPESTO) เมื่อเราเอาทั้ง การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) มาเชื่อมต่อสัมพันธ์กัน เราก็จะเข้าใจธุรกิจได้ลึกซึ้ง เข้าใจตัวเลขที่เป็นไป และจะเป็นไป

          ส่วนการวิเคราะห์ด้วยกราฟหรือทางเทคนิค คือการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงราคาและแนวโน้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงราคามาจากมุมมองของนักลงทุนที่มีต่อหุ้น อุตสาหกรรมและต่อตลาดทุน ซึ่งมีทั้งถูก ผิด เข้าใจ ไม่เข้าใจ ต่อข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนจิตวิทยาของนักลงทุนในตลาด แต่ในระยะยาวแล้วราคาหุ้นกับผลการดำเนินงานจะสะท้อนกันเสมอ เน้นนะครับว่าระยะยาว ไม่ใช่ข่าวกำไรไตรมาสหน้า ปีหน้า แต่หมายถึงห้าปีสิบปีข้างหน้า

          งบการเงินเป็นเพียงร่องรอยในการดำเนินธุรกิจ ทุกๆ เส้นทางที่ผ่านไปจะบ่งบอกหนทางที่กำลังเดินเสมอ เหมือนกับเวลาเราเข้าป่าล่าสัตว์ ร่องรอยที่เห็นเราจะรู้ได้ว่าเป็นของสัตว์ชนิดใด เดินมุ่งหน้าไปทางใด ตัวเล็กตัวใหญ่เพียงใด หากเราเป็นพรานป่าผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไม่ยากเลยที่จะตามรอยเป้าหมาย

          งบการเงินจึงสะท้อนได้ถึงราคาและความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่มีต่อกิจการ ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่าคนลงทุนแท้จริงในตลาดหุ้นคือผู้ลงทุนระยะยาว ตราบใดที่นักลงทุนระยะยาวนี้ยังคงมั่นใจในผลประกอบการระยะยาวราคาหุ้นก็จะไม่ลดลงแรงเพราะเมื่อราคาปรับลงต่ำกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังว่าจะได้ในอนาคต คนที่เชื่อมั่นก็กล้าพอที่จะลงทุนในระดับราคาที่ลดลงมา ดังนั้นหากงบการเงินสะท้อนถึงความอ่อนแอ ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน ในระยะยาวย่อมไม่มีผู้ที่จะมาลงทุนต่อเนื่อง ระดับราคาหุ้นก็จะลดลง แม้จะขึ้นให้เห็นก็จะพบว่าเกิดในช่วงสั้นๆ ไม่กี่เดือน เพราะนักลงทุนที่นิยมเล่นข่าวสั้นๆ สุดท้ายจะรีบขายทันทีที่ทำกำไรได้ ราคาก็ยากที่จะยืนอย่างยั่งยืน สรุปได้ว่างบการเงินที่ดี และหากอ่านและมองธุรกิจผ่านตัวเลขทางบัญชีที่ถือเป็นภาษาของธุรกิจได้เป็นแล้ว ถูกต้องแล้ว ตัวเลขงบการเงินจะบ่งชี้แนวโน้มระยะยาวเสมอ ยังไม่เคยพบกิจการใดขาดทุนยาวนานหรือตกต่ำต่อเนื่องมากกว่าห้าหกปีจนใกล้ล้มละลาย แต่ราคาหุ้นในห้าหกปีนั้นขึ้นอย่างแข็งแกร่งมั่งคงสวนทางผลประกอบการ