วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

Moats & Five Forces


Moats & Five Forces

Moats หรือปราการป้องกันธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ Chalie Munger คู่หูด้านการลงทุนของ Warran Buffett ได้กล่าวไว้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาการเลือกบริษัทลงทุน บริษัทใดมี Mosts ที่แข็งแกร่งจะดีมาก เพราะทำให้การเติบโตคงได้ยาวนาน ในทางการเงินการเติบโตสูงไม่ดีสู้การเติบโตที่แข็งแกร่ง เปรียบเหมือนการฝากเงินอัตาดอกเบี้นสูงๆ แต่มีเพียงชั่วคราวปีสองปี สู้ไม่ได้กับอัตราดอกเบี้ยปานกลาง แต่จ่ายนานนับสิบปี เช่นตราสารหนี้ระยะสั้นที่ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 12% ต่อปี สามเดือน พอครบกำหนดก็จ่านต้นจ่ายดอกเบี้ยคืน  เราก็ต้องเอาเงินมาลงทุนที่อัตราตลาดใหม่ ไม่เช่นนั้นต้องหาตราสารดอกเบี้ยสูงๆ ซึ่งมีไม่มากแน่นอน ถ้าหาง่ายแสดงว่าตลาดให้ดอกเบี้ยสูงอยู่แล้ว และกิจการที่ให้ดอกเบี้ยสูงล้วนเป็นบริษัทฐานะการเงินไม่แกร่ง วันนี้อาจไม่เจ๊ง แต่วันข้างหน้าไม่มีใครรู้ อาจไปลงทุนวันเจ๊งพอดีก็ได้ สมมติเราได้อัตราดอกเบี้ยตราสาร 4% ที่มีการจัดอันดับลงทุนกลางๆที่รับได้อายุตราสาร 3 ปี ถ้ามีเงินลงทุน 100 บาท วันนั้นตัดสินใจลงทุน อัตราดอกเบี้ยตลาดอยู่ที่ 2% ถ้าตัดสินใจเลือก 12% ได้ดอกเบี้ยสูงสามเดือน เมื่อครบกำหนดได้เงิน 100 + 100*12%*3/12 = 103 แล้วเอาเงินที่ได้ลงทุนในอัตราตลาดเท่านั้น (หลักการเปรียบเทียบต้องไม่ถือว่า reinvestmemt ที่อัตราสูงเดิมได้หากอายุต่างกัน เพราะหากคิดเช่นนั้นต้องคิดทางเลือกหากเกิดการผิดนัดชำระด้วย หรือ Default ในเวลา สามปีเท่ากัน ตราสาร 4% จะได้เงิน (100*(1+0.04)3) = 112.5 ขณะที่แบบแรกจะมีมูลค่าเท่ากับ 108.8 มาจาก 103*(1.02)2.75 บางคนคิดว่าทำไมไม่เอา 103 ลงต่อในตราสาร 4% อายุ 3 ปีละ ถือว่าวันนั้นให้เลือกแล้ว ไม่ลงทุนตราสารคนอื่นลงทุนหมดไปแล้ว ถ้าไปซื้อในตลาดต้องซื้อ premium ซึ่งผลตอบแทนจะเป็น 2% ตามอัตราตลาด ส่วนมากคิดไม่ถึงว่าแบบกลางๆ จ่ายนานๆ จะดีกว่า อย่าลืมพลังของการทบต้น อะไรที่ไม่ผันผวน ในเวลานานจะให้มูลค่ายิ่งสูง กิจการที่เติบโตสูงๆ มักยากที่จะรักษาการเติบโตขนาดนั้นได้ยาวนาน ดังนั้นการมี Moats จึงสำคัญมากต่อการรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (Sustainable Growth) สิ่งที่ลดทอนความสามารถในการแข่งขัน นิยมใช้ Micheal E. Porter’s Model หรือที่รู้จักกันดีคือ 5 Forces และเมื่อเอา Moats ของ Munger มาประกบกัน เราสามารถจับคู่ได้ดังนี้

1.     Rival Competition – Brand แรงกดดันจากการแข่งขันภายใน โดยเฉพาะในตลาดคู่แข่งขันมากราย ในตลาดแบบนี้มีมากที่สุดในเกือบทุกอุตสาหกรรม การยืนหยัดในอุตสาหกรรมได้คือต้องมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์สูง (Brand Loyalty) ในทางการตลาดจึงมีการสร้างแบรนด์ให้อยู่ในใจลูกค้าให้นานและเหนียวแน่นกที่สุด ใครทำให้ลูกค้าเป้าหมายจดจำได้ ย่อมสามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง

2.     Bargaining Power of Buyers – Network Effect แรงกดดันจากลูกค้าคืออำนาจการต่อรอง ปกติธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ลูกค้ามักมีทางเลือกมาก อำนาจต่อรองราคาจะมาก ดังนั้นแทบจะขายสูงกว่าคู่แข่งได้ยากมาก จะกดดัน margin ให้ลดลง เพราะการขายราคาสูงจะยาก แม้จะใช้กลยุทธ์ differntiation แต่ก็จะถูกเลียนแบบได้ แต่หากทำให้สินค้าเกิด Network Effect คือเกิดการใช้ตามๆกัน เธอมีฉันต้องมีด้วย ลักษณะแบบนี้จะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญคือติองทำให้สินค้าเกิดการใช้งานซ้ำหรือจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องไป

3.     Bargaining Power of Suppliers – Economy of Scales แรงกดดันจากซัพพลายเออร์คือส่วนที่มีผลต่อต่อทุนผลิต ที่มีขนาดการผลิตเล็ก ย่อมเสียเปรียบในเรื่องการต่อรองราคาเมื่อซื้อวัตถุดิบ โดยเฉพาะหากจัดหาซื้อได้เพียงที่เดียวหรือไม่กี่แหล่ง แต่หากมีขนาดการผลิตมาก ซื้อครั้งละมากๆ และต่อเนื่อง ผู้ผลิตก็เหมือนธุรกิจทั่วไป หากขายได้ต่อเนื่องก็ต้องอยากได้เช่นกัน กิจการที่มีขนาดการผลิตที่ใหญ่ ย่อมต่อรองได้ง่ายได้ดีกว่า ทำให้ควบคุมต้นทุนผลิตได้ง่ายขึ้น ลดแรงกดดันราคาขายได้ทางหนึ่ง ขณะเดียวกัน การมี Economy of Scales จะป้องกันคนเข้าใหม่ด้วย เพราะรายใหม่ที่เข้ามาต้องลงทุนมาก เพื่อให้ต้นทุนต่ำพอที่จะเจาะตลาดแข่งขันได้

4.     New Entrances – Regulation ปราการที่สำคัญในการกันคนเข้าใหม่ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมได้ยาก คือกฏระเบียบต่างๆ จากหน่วยงานรัฐ (Regulation) บางธุรกิจการเปิดธุรกิจต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐหรือหน่วยงานรัฐ เช่นธุรกิจโทรคมนาคม แม้จะป้องกันไม่ได้ 100% เพราะแนวโน้มโลกคือการเปิดเสรี แต่ก็ทำให้การเกิดคู่แข่งรายใหม่เกิดได้ช้าลง บางอุตสาหกรรมเงื่อนไขไม่มากก็ไม่ถือว่ามีปราการด้านนี้ แต่บางอุตสาหกรรมเงื่อนไขมาก ก็กลายเป็นข้อดีของคนที่เข้ามาแล้ว คนใหม่ๆอยากเข้าก็ต้องคิดมากขึ้นว่าคุ้มหรือไม่ ทำให้คู่แข่งไม่เพิ่มเร็วมาก

5.     Substituted Products/Services – Switching Cost or Intellectual Properties/Inovation แรงกดดันจากสินค้าทดแทน อุตสาหกรรมใดมีสินค้าใช้แทนได้ (ไม่ใช่เปลี่ยนไปใช้ของคู่แข่ง ตรงนี้เป็นข้อเรื่อง rival compettition) ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเปลี่ยนได้ง่าย การทำให้เกิดความยากในการเลิกใช้ เนื่องจากจะมี Switching Cost สูงทำให้ไม่คุ้มค่าในการเปลี่ยนสินค้า หรือการสร้างนวตกรรมใหม่ๆตลอดเวลา หรือมีสิทธิบัติ ก็จะเป็นเกราะคุ้มครองธุรกิจที่ดีในระยะเวลาหนึ่ง



            ดังนั้นการมองด้านเชิงคุณภาพเพียง business model ดี อาจไม่เพียงพอเพราะแค่มี business model ดี แต่ไม่ยั่งยืนก็ไม่ต่างอะไรกับการลงทุนตราสารที่มีดอกเบี้ยสูงๆ แต่อายุสั้นๆ 5 Forces ใช้วิเคราะห์แรงกดดันต่ออุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่ แรงกดดันเหล่านั้นทำให้อายุการเติบโตสั้นลง การรักษาการเติบโตให้ยาวออกไปต้องมี Moats ไว้ต้านทานแรงกดดันนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น