วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Business Model Canvas & TOWS


Business Model Canvas & TOWS 

ในการวิเคราะห์ Business Model คนทั่วไป นลท มักสนใจเพียง Revenue Stream - Revenues ในความจริง Business Model ที่ถูกต้องตามหลักการ และใช้แพร่หลาย ต้องดูให้ครบอย่างน้อย 9 ข้อ (VCD CRA CRP)เรียก BMC - Business Model Canvas จุดแข็งหรืออ่อนควรมองให้ครบทุกด้าน จะทำให้เข้าใจกิจการนั้นได้มากขึ้น รายได้ รายจ่าย และอัตราส่วนการเงินทำไมจึงเป็นเช่นนั้นและจะเกิดอะไรขึ้นต่อธุรกิจ ทั้ง 9 ข้อ (VCD CRA CRP) มีดังนี้;

-Value Proposition การนำเสนอคุณค่า สินค้า/บริการ นำเสนออะไรให้ลูกค้า แตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร สิ่งนี้แหละครับที่ทำให้เกิด Moat ด้าน Brand ทำให้เกิด Loyalty ขึ้น ไม่ใช่แค่ขายอะไรให้ใคร อย่างไร เพราะปัจจุบัน สินค้า/บริการมีการแข่งขันสูง มีความคล้ายและความเหมือนกันมาก อะไรคือสิ่งที่จะทำให้คนซื้อบอกว่าต้องสินค้าตัวนี้หรือบริษัทนี้เท่านั้น เช่นบางคนวิเคราะห์ค้าปลีก 7-11 สรุปว่ามี Business Model ดีขายเงินสด เปิดตลอด ใกล้บ้าน นั่นยังไม่ตอบโจทย์ว่าทำไมจะซื้อของต้องไป 7-11 เท่านั้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการลงทุนขยายสาขาต้องมีต่อเนื่อง และในด้านกิจการแล้ว เราจะเห็นว่าบริษัททำการตลาดโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อรักษาระดับยอดขาย Same Store Sales โดยใช้ campange คือ อิ่มอร่อยทุกเวลากับเซเว่นอีเลฟเวล เน้นมาขายอาหารสำเร็จรูป ซาเปา ขนมจีบ ไส้กรอก ฯลฯ ปัจจบัน 7-11 พยายามตอบโจทย์คนเมือง มากกว่าการตอบโจทย์ความเป็นเพียงร้านค้าปลีกทั่วไป ดังนั้นการมองเพียงขายเงินสด เปิดตลอด ใกล้บ้าน อาจต้องเปลี่ยนแล้ว สิ่งที่ต้องมองคือการเปลี่ยนมาพยายามตอบโจทย์คนเมือง เป็นอย่างไรในอนาคต CPALL ต้องลงทุนแบบใด การขยายตัวของความเป็นเมืองจะเร็วเท่าใด เป็นต้น ดังนั้นข้อนี้ของ Business Model ที่สุดโดยเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันสูง เพราะเกี่ยวพันกับ Brand/Immage ซึ่งป็น Moat ที่สำคัญ

-Customer target เมื่อดูว่าสร้างคุณค่าใดที่แตกต่างเด่นชัดจากคู่แข่งแล้ว บริษัทต้องมองกลุ่มลูกค้าตนเองให้ออก การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสำคัญ ในด้านของกิจการคือสามารถมองความต้องการได้ชัดเจน สามารถนำเสนอคุณค่าและส่งมอบสินค้า/บริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งนำมาซึ่งความพึงพอใจทำให้เกิดความภักดี (Loyalty) นำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ในมุมมองด้านการลงทุน นักลงทุนต้องมองถึงกลุ่มลูกค้า เพราะนั่นคือรายได้และการเติบโตในอนาคตของบริษัท จะโตมากหรือน้อยก็ขี้นกับขนาดตลาดหรือกลุ่มลูกค้า เช่นพลังงานทดแทน ลูกค้าไม่ใช่คนใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ แต่คือ กฟผ. ที่จะรับซื้อไฟฟ้า เพื่อมาขายต่อ ดังนั้นจึงจำกัดเพียงสัญญาที่ได้รับจากการขายไฟฟ้า สัญญาระบุแค่ไหนก็แค่นั้นมาซื้อเกินสัญญา รายได้โตเร็วช่วงแรกแล้วจะคงที่ เว้นแต่ได้สัญญาขายไฟฟ้าเพิ่ม เป็นต้น

-Distribution channel การวิเคราะห์เชิงคุณภาพของ Business Model ต่อมาคือ ดูเรื่องช่องทางการส่งมอบคุณค่า/สินค้า/บริการ ช่องทางการกระจาย/ขาย ย่อมนำซึ่งรายได้ ในทางการตลาด คือ Place ที่ควรมี Convenience และ Everewhare การที่ลูกค้าเข้าถึงง่ายและสะดวกเป็นจุดที่สร้างรายได้ให้กิจการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ขึ้นกับธุรกิจ บางสินค้าอาจต้องมีสาขาให้มาก บางสินค้าต้องใช้ช่องทางออนไลน์ บางสินค้า/บริการอาจต้องสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อให้สะดวกในการเข้าถึงและใช้บริการผ่านมือถือ ทั้งนี้การสร้างช่องทางการกระจาย/ขาย สินค้าและบริการขึ้นกับรูปแบบสินค้าบริการของแต่ละอุตสาหกรรม

 -Customer relationship หลังจากกำหนด VCD แล้ว สิ่งที่สำคัญต่อมาคือทำอย่างไรจึงสามารถเข้าถึงลูกค้า และสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ เพราะการมีลูกค้าที่ต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ ใน 5 Forces แรงกดดดันด้านหนึ่งคือ Bargaining Power of Buyers  การที่ลูกค้าใช้ต่อๆ เนื่องกัน จนเกิด Network Effect หรือในทางการตลาด คือ Evangelism ได้นั้นการมี Customer relationship เป็นสิ่งจำเป็น เพราะทำให้กิจการทราบปฎิกิริยาตอบสนองจากลูกค้าจากการใช้สินค้า/บริการ และนำมาพัฒนาปรับปรุงสินค้าให้ตอบสนอง need ได้ตรงมากขึ้น ทั้งยังเป็นการทราบและสร้าง E-Experience ในตัวสินค้าทางหนึ่ง ดังนั้นการพิจารณา Customer relationship ว่ามีชัดเจนมากน้อย จะช่วยบ่งบอกถึงความแกร่งที่จะสามารถปกป้องฐานลูกค้า และการเข้าถึงลูกค้า แต่การพิจารณาด้านนี้จะยาก ไม่ชัดเจนนัก เพราะค่อนข้างเป็นนามธรรม สินค้าขั้นปลาย สินค้าอุปโภคบริโภคจะเห็นชัดเจนกว่าสินค้าทุนและสินค้าต้นน้ำ

-Recource ทรัพยากรที่สำคัญในการผลิตหรือสร้างบริการเพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า ในงบการเงินคือดูที่สองรายการหลักๆ คือ PPE & Inventories ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ กับ สินค้าคงเหลือ ทุกบริษัทที่ผลิตหรือให้บริการ (ให้บริการอาจมีน้อยหรือไม่มีสินค้าคงเหลือ) ในงบการเงิน ประเด็นสำคัญคือใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ไม่ใช่มีหรือไม่ เพราะต้องมีอยู่แล้วถ้าไม่มีย่อมส่งมอบอะไรให้ลูกค้าไม่ได้เลย แต่มีแล้วทำให้เกิดประโยชน์เกิดประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งปัจจัยนี้ จะเกี่ยวข้องทั้งการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและการวิเคราะห์เชิงปริมาณคือ ด้านคุณภาพจะเกี่ยวข้องกับ Economy of Scales และ Bargaining Power of Suppliers ธุรกิจที่สินค้าหาความแตกต่างยาก เช่นสินค้าทุน สินค้าต้นน้ำ เราจะพบว่าขนาดที่ใหญ่จะได้เปรียบเสมอ สินค้า/บริการที่เป็น Mass Market ขนาดธุรกิจสำคัญมาก เพราะทำให้เกิด Moat ต่อธุรกิจ ถ้าบริหารให้มีโครงสร้างการเงินที่แกร่งยิ่งได้เปรียบมากขึ้น

-Activities เมื่อดู Resources แล้วถัดมาต้องดูว่า กิจกรรมหลักในการทำให้เกิดการส่งมอบคุณค่าคืออะไร ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างให้เกิด Value Chain กิจการขนาดเล็กอาจมองเพียง กระบวนการผลิตและตลาด จะทำอะไรอย่างไร แล้วขายอย่างไรให้ถึงมือลูกค้าอย่างพึงพอใจ แต่ในองค์กรใหญ่ อาจต้องแบ่งเป็น External Value Chain และ Internal Value Chain  โดย External Value Chain มักจะเป็นเรื่องของ Supply Chain Management ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง Logistic Management ส่วนและ Internal Value Chain จะเป็นเรื่อง Operating Process Management เอาละ ในแง่นักลงทุนเราคงไม่มองให้ยุ่งยากอย่างนั้น แต่ไม่ใช่ว่าจะละเลยไป เพราะกิจการที่ละเลย การบริหาร Major Activities สุดท้ายมักจะพ่ายแพ้ในการทำธุรกิจไป ในแง่ของนักลงทุน การดูอัตราส่วนด้าน Turnover ART IT APT จะบอกถึงกิจกรรมภายในที่สำคัญของกิจการ ควรต้องนิ่ง และมีระยะเวลาที่เหมาะสมทั้งสามตัวนี้ ART IT APT ยังบอกถึงวงจรเงินสดด้วย
-Cost structures ในการพิจารณา Business Model ธุรกิจต้องรู้ถึงโครงสร้างต้นทุนการผลิตให้ชัดเจน ต้องพิจารณาด้านค่าใช้จ่ายที่จำเป็น จากที่กล่าวมาแต่ตั้งแต่ต้นจะเห็นได้ว่าในการสร้าง Business Model นั้นไม่ใช่การมุ่งสร้างกระแสเงินสดรับก่อน แต่สิ่งสำคัญก่อนไปที่รายได้ ต้องพิจารณาด้านอื่นก่อน และดูด้านรายจ่ายก่อนรายได้ Start Up มากกว่า 90% ที่ล้มเหลวเพราะมุ่งแต่รายได้ก่อนเป็นหลัก ละเลยการควบคุมและพิจารณาต้นทุนและค่าใช้จ่าย ในด้านการลงทุนก็เช่นกัน มักมุ่งดูเพียงด้านรายได้เท่านั้น ในแง่รายจ่ายและต้นทุน ในทางบัญชี จะแยกทางด้านพฤติกรรมเป็นสองกลุ่ม ที่เราเห็นการแสดงรายการในงบการเงินเป็นการแยกต้นทุนและรายจ่ายตามหน้าที่ เช่น ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายบริหาร รายได้จากส่วนแบ่งกำไรในเงินลงทุน กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น แต่อีกด้านหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่กล่าวมาหากพิจาณาแยกตามพฤติกรรม จะแบ่งได้ สองกลุ่มคือ ค่าใช้จ่ายผันแปร และค่าใช้จ่ายคงที่ ถ้าดูตามหน้าที่ เราจะเห็นว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด แต่ถ้ามองตามพฤติกรรมแล้วจะเห็นผลที่กระทบกิจการอีกมุมหนึ่ง ขอกล่าวย่อๆ ค่าใช้จ่ายผันแปร จะขึ้นลงค่อนข้างสัมพันธ์กับยอดขายหรือปริมาณขาย เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงในการผลิต ค่านายหน้าการขาย ส่วนค่าใช้จ่ายคงที่จะไม่เปลี่ยนตามยอดขายแต่มักขึ้นกับกิจกรรมมากกว่า เช่นค่าเสื่อมราคา ขึ้นกับสินทรัพย์ในการตัดสินใจลงทุน ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ เงินเดือนต่างๆของฝั่ง สนง. เป็นต้น ค่าใช้จ่ายคงที่นี้ ทำให้จุดคุ้มทุนกิจการมากน้อยต่างกันไป แม้จะขายสินค้าแบบเดียวกันในตลาด ในการวิเคราะห์ทางการเงิน บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายคงที่ในสัดส่วนสูง การเพิ่มลดของยอดขายกำไรจะผันผวนสูงกว่า ยิ่งยอดขายน้อยกำไรจะผันผวนมากยิ่งขึ้น ข้อสังเกตหนึ่งคือ บริษัทที่มีค่าของความผันผวนกำไรมากกว่าการผันผวนยอดขาย มักจะมีค่าใช่จ่ายคงที่เป็นสัดส่วนมากกว่า การมีต้นทุนคงที่มาก จะลดค่าใช้จ่ายรวมได้ยากกว่าต้นทุนผันแปร

-Revenue stream จะเห็นว่ารายได้เป็นข้อท้ายๆในการพิจาณา Business Model Canvas บางคนอาจจะบอกว่าของสำคัญเลยไว้ท้าย แต่ถ้าพิจารณามาแต่ต้น รายได้เป็นเพียงบทสรุปของการพิจารณาด้านอื่นอย่างถ้วนถี่แล้ว หมายความว่า ก่อนจะมองว่าจะหารายได้มาทางใด ต้องคิดก่อนว่าจะส่งมอบคุณค่าใดให้ลูกค้า และใครคือลูกค้าของเรา ช่องทางใดที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้า แล้วนั่นคือ Revenue stream ที่จะได้มา ดังนั้นเมื่อถึงตรงนี้คงหายสงสัยแล้วว่า การพิจารณาว่าบริษัทใดมี Business Model ดีไม่ใช่ดูเพียง Channel แต่ต้องดูตั้งแต่ Value proposition, Customer Target, Distribution channel จึงได้ภาพของ Revenue stream ที่ชัดเจน และถ้าไล่เรียงร้อยเรื่องราวแล้ว ในแต่ละด้านมี Moat ด้านไหนอย่างไรก็จะได้ภาพที่แจ่มชัดขึ้น

-Partners/Network สุดท้ายของ Business Model Canvas คือธุรกิจมีใครคือคู่ร่วมค้า ในธุรกิจหนึ่งๆ ไม่ใช่มีเพียงบริษัท กับลูกค้าเท่านั้น เจ้าหนี้ต่างๆก็เป็นผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ การพึ่งพาหรือความสำคัญจะมากน้อยก็ขึ้นกับตัวของธุรกิจนั้นๆ เช่น กิจการอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องพึ่งพาสถาบันการเงินสูง โรงพยาบาลต้องพึ่งพาบุคคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น



ในตอนนี้ จะขอกล่าวสั้นให้เห็นการเชื่อมโยงจุดแข็งจุดอ่อน หรือที่รู้จักกันดีคือการมอง SWOT (Strenght, Weakness, Threat, Opportunity) หรือตำราบางเล่มใช้ TOWS ก็ได้ทั้งนั้น

T – Threat อุปสรรค เป็นปัจจัยนอกองค์กร

O – Opportunity โอกาส เป็นปัจจัยนอกองค์กร

S – Strenght จุดแข็ง เป็นปัจจัยในองค์กร

W – Weakness จุดอ่อน เป็นปัจจัยในองค์กร

ในการพิจารณา Business Model และ 5 Forces แล้ว จะสรุปได้ว่า Business Model เป็นการมองจากด้านในองค์กร ส่วน 5 Forces เป็นการพิจารณาผลกระทบจากภายนอกองค์กร จากที่เคยกล่าวมาแล้วในเรื่อง 5 Forces & Business Models เราจะวิเคราห์บริษัทได้ละเอียดขั้น มองได้ชัดขึ้นว่าทิศทางที่บริษัทดำเนินอยู่จะส่งผลทางใดกับบริษัท สรุปตัวอย่างแบบสังเขปดังนี้

TS  มีแรงกดดันจากการแข่งขัน RC ต้องมี Brand ที่แกร่ง คือสร้างด้วย VCD ที่ชัดเจน ทำตลาดเชิงรุก ดี เป็นธุรกิจ มีการเติบโตได้ดี หรือมี RA ที่ดีอาจรุกโดยการขยายการลงทุน ทั้งแนวราบหรือแนวดิ่ง เป็นต้น

TW มีแรงกดดันจากการแข่งขัน RC มี Brand ที่ไม่แกร่ง ขนาดเล็ก บริษัทแบบนี้ ลงทุนยาวต้องระวัง การทำตลาดเชิงรุกอาจไม่ใช่เรื่องดีนัก ถ้าสำเร็จอาจกลายเป็นหุ้นหลายเด้ง ถ้าพลาดก็อาจดับได้ (ล้ม)

OS แรงกดดันการแข่งขัน RC น้อย ถ้ามี Brand ดี และหรือ หรือมี RA ที่ดี เป็นลักษณะเด่นของหุ้น Blue Chip หรือหุ้นโตแกร่ง

OW หุ้นที่อุตสาหกรรมเอื้ออำนวย แต่บริษัทไม่มีข้อเด่น มีจุดอ่อนใน Business Models บางข้อหรือเกือบทุกข้อ พวกนี้เข้าข่ายบริษัทโตช้า หรือโตอ้วนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น