ทั้งหมดมีความสัมพันธ์กัน เพราะรากเดิมมาจากเรื่อง
การคิดลดเงินสดเป็นค่าเงินปัจจุบัน
DDM (Dividend Discount Model) หรือ Gordon Model คือการคิดลดเงินสดของเงินปันผลที่จะได้รับในอนาคต ตามทฤษฎี DDM มีสองรูปแบบ คือ Constant Growth และ Multiple
Growth
ที่นิยมใช้คือ Constant Growth; P = D1/(k-g)
เมื่อ P คือราคาหุ้น
D1 คือเงินปันผลที่คาดว่าจะได้ในงวดหน้า (Expected DPS
received)
k คือผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (Expected required rate
of return) -- > CAPM
g คืออัตราการเติบโตของเงินปันผล
(ซึ่งปกติคือการเติบโตเฉลี่ยระยะยาว และหมายถึงการเติบโตของกำไรธุรกิจด้วย)
ข้อสังเกต : ทุกค่าเป็น expected
(D1, k, g) และอยู่บนพื้นฐานคือ ประสิทธิภาพ turnover ทุกค่าเท่าเดิม เน้นการเติบโตแบบ Sustainable Growth
ถ้าให้ Dividend Yield (DY) = D/P (เงินปันผล/ราคา)
D1/P = k-g หรือบางครั้งเราคิดง่ายๆ เร็วๆ ว่า DY ก็คือ k-g และตรงนี้ขอเพิ่มเติมสักหน่อย เพราะเห็นโพสต์กันมากในเว็ป ในเฟส
จากบรรดากูรูและคนที่ให้ความรู้เรื่องการลงทุน มักจะบอกว่าหุ้นนั้นหุ้นนี้มีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลต่ำ
ก็มีส่วนถูกและผิดครับ ถ้าตั้งสมติฐานต้องซื้อๆ ขายๆ ทุกปีจะใช่
แต่ถ้าซื้อระยะยาวถือไปหลายๆปี การมองว่าขณะนี้สูงหรือต่ำอาจไม่ใช่จุดตัดสินครับ
สมมติง่ายๆ ดังนี้
หุ้น A ซื้อที่ 100 และถือไปไม่ขาย โดยมี DPS
ที่คาดว่าเติบโตเฉลี่ยปีละ 10%
DPS____________1.5______1.65______1.82_____2.00______2.20_____2.42
DY จริงของ งลท 1.50%____1.65%____1.82%____2.00%____2.20%____2.42%
จะเห็นว่า อัตราผลตอบแทนเงินปันผลจะเพิ่มทุกปี แต่ที่ตลาดแสดงคือ DY ที่เทียบราคาปัจจุบัน
เราจะได้ DY ที่ 1.50% ไปตลอดเมื่อเราซื้อขายทุกปี
ปรับต้นทุนไปที่ราคาใหม่ realized กำไรส่วนต่าง (ถ้าราคาหุ้นยังขึ้น
10% ตามผลประกอบการ และคง P/E เท่าเดิมไว้)
ดังนั้นถ้า growth ยิ่งมาก DY ในอนาคตของหุ้นที่ซื้อจะยิ่งสูง
เราจะได้ DY เพิ่ม และwealth (จาก capital
appreciation) ที่เพิ่มทุกปี โดยไม่ต้องมานั่งซื้อๆ ขายๆ
ทุกวันทุกเดือน คนที่มาเรียนกับผมจะทราบว่าผมมักย้ำเสมอในประเด็นนี้
เอาล่ะ เมื่อทราบว่า DY = k-g แล้ว ถ้าให้กิจการมี payout ratio อัตราการจ่ายปันผล = b (เช่น EPS 1.20 จ่ายDPS = 0.75 b = 0.75/1.2 = 62.5%) ปกติอัตราปันผลจะขึ้นลงเล็กน้อยไม่ได้คงที่เป๊ะๆ
เมื่อคำนวณเพื่อใช้งานอาจใช้ค่าเฉลี่ยอดีตแทนและ b คือ expected
payout ratio อย่าลืมนะครับ
ค่าเฉลี่ยในอดีตคือตัวแทนที่คาดว่าระยาวน่าจะจ่ายประมาณนี้ เมื่อแทนค่า DPS
= EPS*b or D = E*b
แทนค่าใน P =
D/(k-g) จะได้ P
= E*b/(k-g) -- > P/E = b/(k-g)
ผมขอเรียกว่า P/E payout model = b/(k-g)
ดังนั้นบางคราว เราหา P/E ง่ายๆ โดยใช้ b/DY เช่นหุ้น A จ่ายปันผลเฉลี่ยราว 40% มี DY ที่ราว 1.8
P/E จะซื้อขายราว 22.22 เท่า (40/1.8
= 22.2)
วิธีนี้คือเลี่ยงไปเลยในการหา k จาก CPAM ไม่ต้องถามหาว่าใช้
risk free rate (rf) เท่าไร ใช้ market return เท่าใด beta เท่าใดดี แต่ข้อควรระวังคือหุ้นที่
DY ผันผวนมากให้ระวังการนำไปใช้
Earning Yield คือ ส่วนกลับ P/E; Earning Yield = E/P ค่านี้ถ้าคูณ b คือ DY (E*b/P = D/P)
ดังนั้นหุ้น P/E สูงๆ จะมี Earning Yield ต่ำ ยิ่งจ่ายอัตราปันผลน้อยๆ
DY ยิ่งน้อย ปกติทั่วไปหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยๆ จะเป็นหุ้นที่มีการขยายงานและคาดหวัง
Growth อนาคตสูง และผมเคย prove ให้ดูแล้วว่า
ทำไม P/E ควรไม่เกิน g หรือที่ดู PEG
< 1 (PE/g) (บทความ ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี 3/5/60)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น