ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมามีบริษัทหนึ่งสร้างความฮือฮา
กังขาปนสับสนแปลกใจพอควรกับการรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุนจากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อย ทำให้ผลกำไรงวดไตรมาสที่สองกระโดดขึ้นมากมาย ได้มีคนสอบถามและได้อ่านความเห็นมากมาย
พบว่ายังไม่ใครให้ความหมายและหลักการหรือความเห็นที่ถูกต้องตรงประเด็นว่า
การลงรายการดังกล่าวถูกผิดอย่างไร แต่รายงานของผู้สอบบัญชี บริษัท เบเคอร์ ทิลลี่ ออดิท
แอ็ดไวเซอร์รี่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ให้ข้อสรุปต่องบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม
และการให้ข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไขต่องบแสดงฐานะการเงินระหว่างกาลสำหรับงวด สิ้นสุดวันที่
30 มิถุนายน 2560 ซึ่งผมเห็นด้วยต่อการรายงานของผู้สอบบัญชีและเห็นอีกว่าผู้สอบบัญชีพยายามที่จะลดความเห็นเชิงลบมากแล้ว
สำหรับผมเห็นว่าเป็นการทำ creative accounting ด้วยซ้ำและผิดหลักการทางบัญชีหลายประเด็น ไม่ใช่เพียงการถูกจำกัดขอบเขตโดยสถานการณ์เรื่องการประมาณการรายได้
สามารถสรุปข้อไม่ถูกต้องในหลักการบัญชีดังนี้
1. มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ได้กล่าวถึงเรื่องของการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อย สามารถบันทึกผลต่างในกำไรขาดทุนจากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อยในงบกำไรขาดทุนท่อนบน
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การรับรู้งบกำไรขาดทุน และกรณีนี้ต่างกับของ CK ที่บันทึกการสูญเสียไว้โดยใช้คำว่ากำไรเปรียบเสมือนการขายจริง
(งบปี 2556) ในกรณีที่กล่าวเกิดเนื่องจาก CK สละสิทธิ์ในการเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการควบคุมจึงคล้ายกับ CK ขายหุ้นในสิทธิ์ที่ควรได้ออกให้ผู้อื่นในราคาเพิ่มทุน แต่ของบริษัทที่เป็นประเด็นที่กล่าวถึงนี้
ไม่ได้บอกรายละเอียดไว้ แต่น่าจะเกิดเพราะมีคนถือหุ้นออกใหม่สำหรับหุ้นใหม่ที่ออกเพิ่ม
ไม่ใช่การสละสิทธิ์เพิ่มทุนใหม่ให้ผู้ถือเดิมเหมือนดั่ง CK เป็นผลจากทางบัญชีโดยแท้จริง
เป็น One-time Gain จะต้องรับรู้รายการดังนี้
o มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากรายการ หมายถึงสูญเสียไปโดยการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ (เช่นได้เงิน)
o จำนวนที่มีการกระจายนั้น
หากรายการเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้สูญเสียการควบคุม
เกี่ยวข้องกับการกระจายหุ้นของบริษัทย่อยให้กับเจ้าของนั่นคือหุ้นลดลงหรือสัดส่วนลดลง
และ
o เงินลงทุนที่เหลืออยู่ในบริษัทย่อยเดิมในมูลค่ายุติธรรม
ข้อนี้แหละที่สำคัญ เดิมบันทึกเงินลงทุนหอดูวิวด้วยมูลค่าเท่าใด ต้องปรับส่วนสูญเสียแต่ตรงนั้น
การตีราคาใหม่คือการ mark to market ไม่ใช่เสียการควบคุมแล้วมาตีราคาเพิ่มเพื่อบุ๊คกำไร
ซึ่งส่วนเพิ่มนี้ควรไปอยู่ที่ท่อนล่าง กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI) เพราะเงินลงทุนนี้ไม่ใช่เงินลงทุนเพื่อค้า จากการอ่านคำชี้แจง ไม่ใช่เสียการควบคุมจากการจำหน่าย
หรือการสละสิทธิ์ แต่เพราะมีคนมาเพิ่มทุนทำให้ตัวเองถือหุ้นลดลง
แล้วมาตีมูลค่าเองใหม่ บุ๊คกำไรส่วนต่างเพิ่ม อันนี้ผิดหลักบัญชี
(นี่ยังไม่กล่าวถึงเรื่องตีมูลค่า ว่าเหมาะหรือไม่ด้วยนะครับ)
o รับรู้ส่วนต่างเป็นกำไรหรือขาดทุน
ในกำไรขาดทุนส่วนของบริษัทใหญ่ ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กล่าวมา คือลดสัดส่วนลงเพราะขายออก
หรือสละสิทธ์ในการรักษาสัดส่วน ถ้าเสียเพราะคนใหม่เข้ามาให้พิจรณาปรับเงินลงทุนที่เหลืออยู่ในบริษัทย่อยเดิมในมูลค่ายุติธรรม
ซึ่งในราคายุติธรรมจะกล่าวต่อไป เพราะคือตัวปัญหา ปกติเงินลงทุนในบริษัทย่อยเราไม่ตีราคาแบบ
mark to market ในการบันทึก เราแสดงราคาได้มาในงบแม่
แล้วเอามาทำงบรวม ถ้าลดลงเหลือร่วมเราก็ต้องแสดงในมูลค่า equity method ไม่มีมาตรฐานการบัญชีใดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมที่ตีใหม่ (เอง)
2. มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง
การวัดมูลค่ายุติธรรม ให้คำนิยามมูลค่า ยุติธรรมว่าเป็นราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์
หรือจะจ่ายเพื่อโอนหนี้สินในรายการที่ เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ
วันที่มีการวัดมูลค่า (ราคาขายหรือโอนออก (exit price)) วัตถุประสงค์ของการวัดมูลค่ายุติธรรมมีลักษณะ
คือ เพื่อประมาณการราคาสำหรับรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติในการขายสินทรัพย์หรือการโอนหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ร่วมตลาด
ณ วันที่วัดมูลค่าภายใต้สภาพปัจจุบันของตลาด ถ้าพิจารณาจากนิยาม การวัดมูลค่าตึกที่ยังสร้างไม่เสร็จจึงเป็นไปไม่ได้
ในทางการเงินวัดได้ เพราะมโนหรือตั้งสมตติฐานได้
เช่นจะทำโครงการหนึ่งเราก็คาดเอาว่าโครงเท่านี้บาท ควรลงทุนกี่บาท
แต่ไม่ใช่บันทึกบัญชีทั้งก้อนทันทีที่ปักเสาเข็ม เราบันทึกมูลค่าโครงการระหว่างก่อสร้างด้วยราคาทุนที่จ่ายลงทุนซื้อวัสดุต่างๆไป
พอเสร็จถึงตีมูลค่าเพิ่มตามมาตรฐานเรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือ อสังหาริมทรพย์เพื่อการลงทุนก็ว่าไป
ไม่ใช่ตีทั้งหมดด้วยหลักการเงินทั้งก้อน ทั้งที่ยังทำไม่เสร็จ เหมือนงานระหว่างทำ
สินค้าผลิตไม่เสร็จบันทึกต้นทุนเต็มรอไปก่อนไม่มีใครเขา ย้ำอีกทีมาตรฐานเน้นว่าอยู่ในสภาพปกติ
หอนั้นอยู่ในสภาพปกติแล้วหรือยัง อันนี้ก็ผิดเต็มๆ อีกข้อ
3. เมื่อมาพิจารณานิยามของสินทรัพย์
ในทางบัญชีได้กำหนดนิยามของสินทรัพย์ไว้ 3 ข้อ คือ
3.1 เป็นทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ
คำว่าควบคุมหมายถึงทรัพยากรดังกล่าว
กิจการสามารถนำไปใช้ในกิจการหรือก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
3.2 เกิดจากเหตุการณ์ในอดีต
หรือกล่าวง่ายๆ คือ สินทรัพย์ที่อยู่ในงบดุลต้องมีที่มาที่ไป
นั่นคือมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นแล้ว จึงมีผลทำให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์
3.3 มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
หมายความว่าสิ่งที่แสดงเป็นสินทรัพย์ ว่ามีมูลค่าเท่านั้นเท่านี้
จะต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจหรือกระแสเงินสดสุทธิ (ค่าปัจจุบัน)
เข้าไม่น้อยกว่ามูลค่าที่อยู่ในงบ ถ้าดูข้อนี้ใช่ แต่ตกสองข้อแรก ข้อแรกยังไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
และการได้มายังไม่สมบูรณ์ (สร้างยังไม่เสร็จ) การตีมูลค่าโครงการที่ลงทุนจึงยังไม่ได้เวลานี้
นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขอีก
2 ประการคือ
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่กล่าวมานั้นต้องมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่หรือต้องค่อนข้างมั่นใจพิสูจน์ได้โดยหลักวิชาการหรือหลักฐานว่าจะได้รับ
และมูลค่าดังกล่าวต้องประมาณการตัวเลขขึ้นมาได้อย่างน่าเชื่อถือ ผู้สอบบัญชีเขาปราณีแล้ว
ที่เอาแค่นิยามมาเป็นเงื่อนในการแสดงความเห็น ในส่วนของผมจะมี 3 ข้อ ผมยังไม่ให้คุณค่าอะไรกับงบกำไรขาดทุนด้วยซ้ำ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + กำไร (สะสม)
กำไรผิด สินทรัพย์ก็จะผิดด้วย
หรือกลับกัน ดังนั้นงบดุลก็ผิดนะครับท่านผู้ลงทุน
ท่าซื้อด้วยมโนหรือไม่
คิดเอาเอง มโนได้แต่ควรถูกหลักการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น