วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การลงรายการรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุนจากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทลูก


การลงรายการรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุนจากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทลูก  

บริษัท A ถือ 60% ในบริษัท B โดย B มีทุนจดทะเบียน 200 ลบ. A ลงทุน 120 ลบ. (at par = cost)

ต่อมา B เพิ่มทุน อีก 100 ลบ. โดยขายในราคาส่วนเกินรวมเป็น 150 ลบ. โดยให้ A เพิ่มทุนรักษาสัดส่วนได้ คือ 90 ลบ. (ทุน 60 ลบ. ส่วนเกินทุน 30 ลบ.)

ถ้า A สละการซื้อส่วนเพิ่ม ให้คนอื่นแทน สมมติคือ C ต้องจ่ายเงินเพิ่มทุนให้ B 90 ลบ.

ในส่วนเจ้าของ B จะมีส่วนทุนหลังเพิ่มทุนเป็น 300 ลบ. มีส่วนเกิน 150 ลบ.

ในงบการเงินเฉพาะ A ยังคงแสดงเงินลงทุน 120 ลบ. ในงบการเงินรวมเดิมจะไม่แสดงเงินลงทุนเพราะ A ถือ 60% ในบริษัท B ซึ่งมากกว่า 50%  งบใหม่ A ถือใน B = 120/300 = 40% ต้องแสดงเงินลงทุน และงบการเงินจะให้แสดงงบการเงินวิธีส่วนได้เสียในเงินลงทุนแทน (ไม่ใช่งบรวม)

B ยังไม่มีผลกำไร เงินลงทุนในงบ A ต้องแสดง = 350x40% = 140 ลบ. ส่วนเกินที่เพิ่มจากเงินลงทุนเดิม 20 ลบ. นี้แหละที่จะนำมาลงเป็นรายการรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุนจากการสูญเสียการควบคุม หรือที่ CK เคยแสดงเป็นชื่อว่า กำไรเปรียบเสมือนการขายจริง

20 ลบ. นี้ มาได้อย่างไร มองในสมการบัญชี ส/ท (งลท) เพิ่ม = ส่วนทุนเพิ่ม (กำไรฯ)

มองในด้าน transaction เปรียบเสมือน A ซื้อส่วนเพิ่มแล้วขายออกทันที

A 120 ลบ. (par 1) ซื้อตามสิทธิ์ที่ได้ 60 ล.หุ้นที่หุ้นละ 1.5 บาท = 90 ลบ.

จากนั้นขายออกส่วนที่ได้ใหม่ออกทั้งหมด 60 ล้านหุ้น ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยใหม่ = (120+90)/(120+60) = 1.167

ขายที่หุ้นละ 1.5 (ราคาเพิ่มทุน) จึงเหมือนเกิดกำไร = 60 x (1.5-1.167) = 60 x 0.333… = 20

มองในอีกด้าน ส่วน 20 ลบ. นี้ คือส่วนเกินทุนจริงที่ B ได้มานำมาเฉลี่ยใหม่ให้ทุกหุ้นหลังเพิ่มทุน

50/(200+100) = 0.167 บาทต่อหุ้น เมื่อ A ถือ 120 ล.หุ้น = 20 ลบ.

ดังนั้นจะเห็นว่า

1. ต้องเป็นการใส่เงินเพิ่มทุนในลูก (B) จริงๆ เท่านั้น ไม่ใช่จ่ายผ่าน A โดย A รับส่วนต่างแบบนี้ไม่ใช่ความหมายแท้จริงตามความตั้งใจมาตรฐานบัญชี

2. สมมติ A ขายให้ C ในส่วนที่ได้สิทธิ์เพิ่มทุน 60 ล. หุ้น ในราคา หุ้นละ 40 บาท ถ้าวิเคราะห์ transactions

A มีภาระส่งเงินให้ B = 90 ลบ. แล้วส่งมอบใบหุ้นให้ C (โดยอาจให้หุ้นออกในชื่อ C ไปเลยก็ได้) กรณีนี้ไม่ใช่การเสียส่วนมีอำนาจควบคุม เหมือนเรามีหุ้นแล้วขายหุ้นออก ไม่ใช่การสูญเสียการควบคุมจากการเพิ่มทุน เพราะ B ไม่ใช่ได้เงินค่าหุ้นที่ราคา 40 บาท ยังได้แค่ 1.5 บาทต่อหุ้นเท่าเดิม ส่วนต่างราคาได้เพียงเฉพาะ A ไม่ได้เกลี่ยผุ้ถือหุ้น ดังนั้นสรุปสั้นๆ ง่ายๆ กำไรจากการสูญเสียการควบคุม เกิดจากบริษัทแม่สละการเพิ่มทุน แต่เอี่ยวส่วนแบ่งเพิ่มจากส่วนเกินทุนใหม่ ด้งนั้นจะเห็นว่าอาจเกิดขาดทุนจากการสูญเสียการควบคุมได้ ถ้าเพิ่มทุนต่ำกว่า par แล้วไม่เพิ่ม เหมือนลงทุนแล้วเราไม่เพิ่มตามตอน XR ราคาในกระดานจะเกิด dilution effect



คิดว่าคงมองได้ครอบคลุมนะครับกับบทความที่ลงมาทั้งหมด บางคนบอกเขียนตอนนี้ก็จบไปแล้ว แต่ผมต้องการปูให้ครบทุกเรื่องว่า ไม่เกี่ยวกับการทำการประเมิน Income Approach อันนั้นอ้างผิดแต่แรกเลยในการชี้แจง ตีราคาไม่ได้ นั้นเป็นเรื่อการขาย ไม่เกี่ยวกับการลงจากการสูญเสียการควบคุมแต่อย่างใด และทำไม่ได้ สินทรัย์ก็ตีไม่ได้ บอกในบทความก่อนแล้ว นี่แหละสไตล์ผม รู้แล้วต้องแน่นปึก ทุกกรณี ทุกมุมจริงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น