Capitalism paradigm and the Principle of a Sufficient Economy
แนวคิดแห่งหลักเศรษฐกิจพอเพียงกำลังเป็นแนวคิดที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อสังคมไทยกว้างขวางขึ้น
มีผู้บริหารและนักลงทุนจำนวนมากยังมองว่าแนวคิดทั้งสองแนวทางยากต่อการเดินมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
พบว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก
1. ผู้บริหารและนักลงทุนจำนวนมาก มุ่งที่กำไรมากๆ
ไว้ก่อน ผู้บริหารเน้นสร้างตัวเลขกำไรมากๆ เพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นสูงๆ
ส่วนนักลงทุนก็เน้นข่าวบริษัททำกำไรไตรมาสหน้าสูงๆ มุ่งเน้นแต่ทำส่วนต่างราคา
กำไรมากๆ เร็วๆ ด้านหนึ่งก็บอกว่าความยั่งยืนคือเศรษฐกิจพอเพียง
แต่แนวคิดและการปฏิบัติไปคนละทาง ยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายแท้จริงของเศรษฐกิจและที่มุ่งเพียงเรื่องของเม็ดเงินอย่างเดียว
2. ความเข้าใจเรื่องทุนยัง focus หรือมองเพียงทุนทางการเงิน วัดทุนในมิติ “เงิน” เท่านั้น
3. ขาดความเข้าใจในเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
หรือเข้าใจแต่นำมาเชื่องโยงกับวิทยาการบริหารแนวใหม่ไม่ได้
4. ยังเข้าใจแนวคิดการบริหารยังไม่มากพอในเชิงบูรณการทางทฤษฎี
5. มองการพัฒนาเติบโตในมิติของเศรษฐกิจพอเพียงกับกับเศรษฐกิจทุนนิยมต่างกัน
เมื่อตั้งคำถามพื้นฐานที่สุดว่า
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของธุรกิจคืออะไร
คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่จะตอบเหมือนกันหมดคือกำไร
นั่นแสดงว่ามุมมองต่อทุนนิยมยังคงมองทุนเพียงตัววัดค่าทางการเงิน
หรือทุนทางการเงิน (Financial Capital) และมองผลที่วัดได้เพียงระยะสั้นเพราะงบการเงินจะวัดผลอย่างน้อยปีละครั้งหรือบางทีอาจจะมากว่านั้นเช่นวัดผลการดำเนินงานไตรมาสละครั้ง
แต่ในมุมมองการบริหารแนวคิดใหม่จะมุ่งวัตถุประสงค์ไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนร่วมกับกิจการในระยะยาวอย่างมั่นคง
(Sustainable Stakeholders’ Value Creation) ทุนในแนวคิดใหม่ไม่ใช่เพียงทุนทางการเงิน
แต่ทุนในแนวคิดใหม่ครอบคลุมไปถึงทุนทางปัญญา
เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ต้องถกประเด็นกันยาว
อนาคตของทุนนิยมจะเปลี่ยนไปจากระบบทุนนิยมเดิมที่เป็นอยู่
- ทุนนิยมเดิมในปัจจุบัน คือระบบที่ใช้เงินตราวัดค่า
เงินถือเป็นตัววัดสำคัญเพราะใช้ตีค่าสิ่งที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน
เพราะทรัพยากรที่มนุษย์มีความอยากได้มีจำกัด
- ระบบทุนนิยม (เดิม)
คือระบบที่คนกลุ่มหนึ่งทำงานอย่างหนักเพื่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง
และหวังว่าตัวเองอนาคตจะร่ำรวยบ้าง ความเพียรความขยันเป็นสิ่งที่ดี หากแต่ถ้าขยันเพราะเพียงอยากร่ำรวยอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องในชีวิต
ความเพียรและความพยายามเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความดีงาม
- ระบบทุนนิยม (เดิม)
ทำให้คนเราหมดเวลาไปกับเรื่องงานมากกว่าความเป็นชีวิตที่มีอะไรมากกว่าคำว่า งานและเงิน
ความคิดใหม่ต่อระบบทุนนิยม
- เดิมเน้นที่การสร้างมูลค่าให้เจ้าของเงิน
หรือที่นิยมสอนกันคือ maximize shareholders’ wealth or building shareholders’ value
- แนวคิดใหม่ต้องมองทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่นไปพร้อมกัน
บนแนวคิดตัวตนและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นสองแยกจากกัน นั่นคือเปลี่ยนจาก
ผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) นั่นคือจะมุ่งไปสู่ Sustainable
Stakeholders’ Value Creation การสร้างคุณค่าที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติขององค์กร
- ระบบความคิดเดิมบ่อเกิดแห่งความมั่งคั่งอยู่ที่
ที่ดิน เงิน มูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
- ปัจจุบันบ่อเกิดแห่งความมั่งคั่งเป็นสมอง ปัญญา
และทักษะของคน
- จากทุน financial capital => intellectual capital คำถามคืออะไรคือทุนของธุรกิจในยุคใหม่และใครเป็นเจ้าของทุน
- Capital =
Financial + Intellectual ; Intellectual = Human + Structural
- Capital =
Financial + Human + Structural
- Capital =
Financial + Human + Information + Organizational
- Human
Capital = Skill + Knowledge + Training
- Information
= System + Database + Network (= IT + Process (supp chain mgt) + Customer)
- Organization
= Culture + Leader + Teamwork + Alignment
การเลือกธุรกิจหรือเป้าหมายธุรกิจก็จะต้องเปลี่ยนไปจากเพียงการทำกำไรสูงสุด
(Maximize Profit) มาเป็น Make Profit, Generate
Cash Flow and Stay Solvency
การนำเอาแนวคิดใหม่ไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เกิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง จากแนวคิดดังกล่าวที่สรุปมานั้น
หากนำมาเทียบกับหลักแห่งเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีองค์ประกอบคือ พึ่งพาตนเอง พอประมาณ
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันตนเอง
-พอประมาณ ไม่ใช่การมีกำไรน้อยกำไรมาก
แต่ต้องเป็นกำไรที่ยั่งยืน บริษัทที่สร้างความมั่งคั่งให้นักลงทุนระดับโลก
หรือนักลงทุนชั้นนำ ไม่ใช่บริษัทที่สร้างกำไรสูงสุด แต่เป็นบริษัทที่ทำกำไรได้ต่อเนื่องยั่งยืน
การทำกำไรสูงนั้นดี แต่กำไรที่เติบโตที่นิ่งและมั่นคงสำคัญกว่า
นั่นคือทำไม่คนที่เรียนกับผม จึงมักได้ฟังว่าผมเน้นความนิ่งของการเติบโตต่อเนื่อง
ไม่ชอบพวกกระโดดขึ้น มากๆ (และพวกนี้จะมีลงด้วยเสมอ)
-พึ่งพาตนเอง ธุรกิจที่ดีคือการเติบโตแบบ
Organic Growth
เติบโตด้วย Existing Assets ที่สร้าง Real
Operating Profit ถ้าหลานท่านที่เรียนจะทราบดีว่าผมให้เน้นหุ้นที่เติบโตแบบ
Organic Growth
-มีเหตุผล ความมีเหตุมีผลคือทุกกิจกรรมต้องมีหลักคิดที่ถูกต้องเหมาะสม
มีหลักการที่ดี กิจการที่โต หรือกำไรมากๆแล้ว แต่ขาดหลักการที่ดี ดูไม่สมเหตุสมผล
เช่นซื้อหุ้นคืนเพื่อสร้างราคา เพิ่ม EPS สำหรับผมแล้วไม่ใช่การสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ
ต่อให้หุ้นขึ้นก็อยู่ได้ไม่นาน ผมไม่สนใจหุ้นเหล่านี้เลย
คนเรียนกับผมก็จะทราบดีว่าผมไม่เคยมีมุมมองบวกกับธุรกิจ นอกจากนี้การพึ่งพาตนเองคือการมี
Cash Flow ที่แข็งแกร่ง ไม่ใช่ run ธุรกิจไปได้ด้วยหนี้
ไม่ว่าจะหนี้สถาบันการเงินหรือหนี้จากการค้า (ก่อหนี้ได้ แต่ต้องเหมาะสม พอประมาณ)
-มีภูมิคุ้มกันตนเอง
คือความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภายใน กิจการที่มีภูมิคุ้นกันต้องมี
โครงสร้างทางการเงินแข็งแกร่ง มี Moats
นั่นคือการพิจารณาหุ้นที่ดีบนหลักของการดำเนินธุรกิจบนหลักเศรษฐกิจพอเพียง
และต้องพร้อมด้วยการใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) ผนวกกับ
คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) หากคนที่อบรมกับผมมาอย่างต่อเนื่องจะรู้ว่าผมเน้นสอนเช่นนี้มาตลอด
และจะยังคงสอนตลอดไป เพราะผมเชื่อว่านี่คือการลงทุนที่ถูกต้องยั่งยืนโดยแท้จริง คนที่เข้าใจ
หลักของ Make Profit,
Generate Cash Flow and Stay Solvency และเรื่องนิ่ง กับ Organic
Growth ได้อย่างสอดประสานกัน
จะเข้าใจภาพธุรกิจที่เหมาะสมการลงทุนระยะยาว
ซึ่งหากพิจารณาแนวคิดที่ทุนนิยมและโลกในยุคใหม่ที่จะดำเนินไป
จะเห็นได้ชัดว่าในหลักการพื้นฐานโดยแท้จริงนั้นเป็นแนวทางเดียวกัน
ไม่ได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใดทั้งเป้าหมายและวิธีการ
และเพื่อให้ธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายในระยะยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น