การลงทุนแบบเน้นเรื่องเล่ากับการลงทุนเน้นเชิงปริมาณ
หลายวันก่อนได้สนทนาทาง message ได้ความว่านักลงทุนแนววีไอหลายคน
(จำนวนไม่น้อย) ไม่ค่อยเน้นดูงบ แต่เน้นเรื่องเล่า เน้น business model มาก ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าผิด แต่เห็นว่าเข้าใจผิดหลายอย่าง
1.
งบการเงินหลายคนบอกว่ามันคืออดีต
บอกอนาคตไม่ได้ อันนี้ถือว่าอ่านงบการเงินไม่ขาด ไม่รู้ลึกซึ้งจริงๆ
ในเรื่องงบการเงิน เหมือนคนดูทรานสคริบเด็กจบ ม. 6 แล้วบอกว่า
ผลการเรียนไม่เกี่ยวกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะสอบไปแล้ว
สอบเข้ามหาวิทยาลัยสอบ จะสอบวันพรุ่งนี้ไม่เกี่ยวกัน เกรดรวมอาจบอกหรือไม่บอกได้ 100%
แต่ผลการเรียนบางวิชาบอกได้ว่าจะมีโอกาสได้หมอ ได้วิศวะ ได้นิเทศน์
นิติหรือไม่ สอบได้คะแนนคณิตย์ศาสตร์ ได้ฟิสิกส์ เคมี ชีวะต่ำๆมาตลอด
คงยากจะสอบเข้าหมอ อาจสอบได้แต่โอกาสได้ต่ำมาก
2.
งบการเงินเน่า ก่อหนี้มาก
ขาดทุนเป็นอาจิณ หรือเดี๋ยวกำไร เดี๋ยวขาดทุน กิจการจะไปทำธุรกิจใหม่
ของเดิมไม่เอาแล้ว สิ่งที่ต้องถามคือ ธุรกิจเดิมไม่สำเร็จ
การเปลี่ยนใหม่การันตีเสมอไหมว่าสำเร็จแน่นอนว่าการที่คนอื่นทำสำเร็จได้
ทำไมผู้บริหารนี้ทำไม่ได้ ถ้าธุรกิจเดิมกำลังตายทั้งอุตสาหกรรมก็อีกเรื่อง
แต่ถ้าไม่ใช่ หนีไปทำอย่างอื่นแทน คำถามคือของเดิมทำมานานยังแพ้ ธุรกิจใหม่ของใหม่ไม่เชี่ยวชาญจะชนะได้ง่ายหรือ
3.
งบการเงินคือสิ่งสะท้อนถึงผลของการตัดสินใจทางกลยุทธ์ของบริษัท
และงบการเงินนี้เองที่เป็น feedback
information ให้รู้ว่าที่ผู้บริหารตัดสินใจดำเนินไปนั้นได้ผลตามที่คาดหรือไม่
จุดใดคือปัญหา จุดใดเป็นจุดแข็ง ควรต้องเพิ่มเติมหรือทำอะไรเพื่อให้ธุรกิจมีความเข้มแข็ง
เติบโตได้อย่างยั่งยืน
4.
บัญชีคือ Business Languages
ดังนั้นงบการเงินจึงบอกบอกเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา
การตัดสินใจใดๆของฝ่ายบริหารย่อมนำไปสู่การสั่งการ (Directing) และเกิดการดำเนินงานซึ่งย่อมทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
(กิจกรรมที่เกิดเป็นตัวเงิน) นักบัญชีมีหน้าที่แปลงกิจกรรมต่างๆในบริษัท
ให้เป็นตัวเลขแล้วรายงานผลออกมา (Accounting Processes -- > Financial
Reports) งบการเงินจึงไม่ใช่อดีตหรือเมียเก่า แฟนเก่า จบแล้วจบไปไม่เกี่ยวกับอนาคต
แต่งบการเงินบอกถึงความน่าจะเป็นที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งแน่นอนอาจไม่ใช่ทั้งหมด
5.
งบการเงินคือร่องรอยการตัดสินใจทางการบริหาร
การกำหนดนโยบาย สไตล์การบริหาร
วิธีคิดและการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อบริษัท ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น
ถ้าผู้บริหารเห็นว่าแนวโน้มตลาดมีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดดในอีกปีหน้า
แน่นอนว่าวันนี้ต้องขยายกำลังการผลิตเตรียมไว้ ต้องสร้างโรงงาน
ต้องสั่งซื้อเครื่องจักร รายการเหล่านี้จะแสดงในงวดที่ตัดสินใจและต้องเกิดล่วงหน้า
ไม่ใช่เกิดในงวดที่ขาย เว้นแต่โรงงานมีที่กว้างมาก
และขยายเพียงลงเครื่องจักรผลิตไม่มาก หากเป็นเช่นนั้นย่อมแสดงว่าขยายตัวแต่ไม่ได้ก้าวกระโดดมากนัก
หากไม่มีรายลงทุนแสดงว่ายังไม่ตัดสินใจหรือไม่คิดว่าจะขยายตัวจริง เป็นต้น
รายการที่ปรากฏบนงบการเงินไม่ใช่เพียงรายการที่เกิดแล้วเท่านั้น
6.
งบกำไรขาดทุน ใช้วัดผลงานที่ได้ทำไปแล้ว ดังนั้นงบกำไรขาดทุนจะบอกถึงสิ่งที่เกิดแล้ว
ทำแล้ว เพราะบอกถึง Successful
Effort แต่หากเราเอางบกำไรขาดทุนมาดูเป็น Series หลายปีต่อกันยาวๆ ก็จะเห็นถึงความสามารถในการดำเนินงานว่าดีขึ้นมากน้อย
ผันผวนเพียงใด เหมือนอ่าน Transcript
เราก็พอจะคาดการณ์ได้ว่า ผลการเรียนมีแนวโน้มเช่นนี้ อนาคตน่าจะได้ระดับไหน
7.
งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)
หลายคนยังอ่านและมองงบแสดงฐานะการเงินไม่ชัดเจน ไม่ขาด
ยังตีความในทำนองเดียวกับงบกำไรขาดทุนคือ
บอกส่งที่เกิดมาแล้วหากเข้าใจนิยามและการเกิดรายการปรากฏในงบแสดงฐานะการเงิน
จะเห็นอนาคตและสิ่งที่ผู้บริหารคิดและวางแผนกับบริษัท สินทรัพย์ที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงินเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
หมายความว่าการมีอยู่ของสินทรัพย์ในวันนี้ย่อมบ่งชี้ว่าสามารถทำประโยชน์ให้กับบริษัท
การไม่มีอยู่ก็คือยังไม่เกิดขึ้น
การคาดว่าจะมีก็เป็นเพียงความเชื่อใจเราต่อผู้บริหารว่าน่าจะทำในเวลาอันใกล้นี้
การมีอยู่ของสินทรัพย์ หนี้สิน บ่งชี้อนาคตกลายๆ ของบริษัทในระดับหนึ่ง
8.
งบการเงินบอกอนาคตได้ ซึ่งอนาคตรู้ได้ในระดับหนึ่งเพราะว่า
บริษัทยังคงบริหารด้วยผู้บริหารคนเดิม (ชุดเดิม)
ดังนั้นแนวโน้มที่ดูจากงบการเงินต่อเนื่องก็จะไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก โดยหลักคิด
วิธีคิดคงเดิม วัฒนธรรมองค์กรเดิมๆ การตอบสนองภาวะแวดล้อมแบบเดิม ดังนั้นผลที่ได้จะไม่มีแนวโน้มต่างจากเดิมเท่าใด
ส่วนมากจึงเติบโตไปเพราะตลาด อุตสาหกรรม วงจรเศรษฐกิจ
และที่ได้กล่าวไว้ว่าสินทรัพย์และหนี้สินสะท้อนได้ถึงสิ่งที่จะเกิดในอนาคต
รายได้จะโตขึ้นได้ สินทรัพย์ต้องเพิ่มขึ้นประสิทธิภาพต้องดีขึ้น
ส่วนใหญ่ประสิทธิภาพเพิ่มได้แต่ไม่ก้าวกระโดดมากนัก
เพราะฉะนั้นการเห็นการลงทุนเพิ่มและประสิทธิภาพ (ส่วนมากวัดด้วยอัตราส่วน Turnover)
ที่ทรงตัวหรือดีขึ้น
ย่อมมีโอกาสการเติบโตของรายได้มากขึ้นในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยในอดีต
ดังนั้นโดยส่วนตัวผมจะดูทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แต่เน้นเชิงปริมาณมากกว่า
เรื่องเล่าเชิงคุณภาพจะระมัดระวัง จะใช้เชิงปริมาณมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้เชิงคุณภาพเสมอ
ถ้าเชิงปริมาณที่วิเคราะห์ไม่ยืนยันว่าดี จะยังไม่ผลีผลามรีบลงทุน อาจมีแหย่ๆ นิดๆ
ชิมลาง เรื่องเล่าสามารถเล่าให้ดูดีอย่างไรก็ได้ แต่งบการเงินคือสิ่งที่ทำจิงเห็นจริง
แต่ก็หลอกคนไม่รู่เรื่องงบที่แข็งแรงพอได้ ถ้ารู้การตกแต่งงบได้ก็จะอ่านงบได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น