วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทำไมธุรกิจการเงินถึงควรหยุดรับรู้ดอกเบี้ยเมื่อเกินสามเดือน


ทำไมธุรกิจการเงินถึงควรหยุดรับรู้ดอกเบี้ยเมื่อเกินสามเดือน ไม่ใช่เพียงธนาคารครับ แต่ผมคิดว่า ลิสซิ่ง เช่าซื้อ หรือแม้แต่พวกซื้อหนี้เน่าจากสถาบันมาบริหารก็เช่นกัน คนไม่เข้าใจบัญชีก็สนุกสนานกันไปเมื่อธุรกิจพวกนี้ (ยกเว้นธนาคาร) แสดงกำไรสูงๆ



การหยุดรับรู้รายได้เมื่อค้างจ่ายมาเกินสามงวด สำคัญมาก บริษัทใดมีนโยบายหยุดรับรู้เกินสามเดือนต้องระวังครับว่ากำลังตกแต่งรายได้ สร้างกำไรเทียม อันนี้พบใบบริษัทลีสซิ่งบางแห่งครับ ส่วนบริษัทซื้อหนี้เน่าจากสถาบันมาบริหารก็สร้างรายได้เทียมได้ง่ายมาก



ตามปกติหลักบัญชีใช้การลงรายการด้วยเกณฑ์สิทธิ์ หรือเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ซึ่งต้องมีการบันทึกรับรู้รายได้เมื่อควรต้องเกิดตามงวดเวลา และสินทรัพย์ (ลูกหนี้หรือรายได้ค้างรับ) ขึ้นในงวดที่นำเสนองบการเงิน คือ

(1)    เดบิต ดอกเบี้ยค้างรับ/ดอกผลค้างรับ

 __________เครดิต  รายได้/ดอกเบี้ยรับ/ดอกผลรับ



ทุกครั้งที่ปิดบัญชีงวดหรือเดือน จะต้องรับรู้รายได้ขึ้น รายการดังกล่าวยังไม่ได้จ่ายเงินสด ระหว่างงวด เมื่อรับเงินสดจะบันทึกโดย

(2)    เดบิต เงินสด

____ดอกผลรอตัดบัญชี

________________เครดิต ลูกหนี้เงินกู้ยืม

______________________ดอกเบี้ยค้างรับ/ดอกผลค้างรับ

______________________ดอกเบี้ยรับ/ดอกผลรับ

จะเห็นว่าเมื่อรับเงินสด ดอกเบี้ยรับที่เห็นก็คือเงินสดที่เกิดจิงหรือเกิดจากการตั้งรับรู้เมื่องวดก่อนหน้า ซึ่งก็ปกติ แต่สังเกตให้ดี ใน (1) ถ้าตั้งขึ้นแล้วไม่เกิด (2) ขึ้น ลูกหนี้ยังไม่จ่าย ยอดค้างรับก็จะบวกยอดสะสมไปในสินทรัพย์ (ลูกหนี้เงินกู้ยืม) กิจการที่หยุดรับรู้ดอกเบี้ย/ดอกผล เกิน 3 เดือน NPL ก็จะรับรู้เมื่อยอดค้างชำระเกิน 3 เดือนเช่นกัน จะเห็นว่า รายได้ก็รับรู้เกิน ขณะเดียวกัน NPL และการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญก็จะต่ำไป การหยุดรับรู้รายได้ดอกเบี้ยเมื้อลูกหนี้ค้างเกินกว่า 3 เดือน จะไม่เกิดกระบวนการที่ (1) และเมื่อลูกหนี้นำเงินมาชำระก็จะตัดยอดคงค้างจนหมดก่อน ในกระบวนการที่ (2) จึงจะรับรู้รายได้ ถ้าจ่ายที่ค้างไม่หมด รายได้ก็จะยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นกิจการที่ตรงไปตรงมาจะเกิดตามกระบวนการที่บอกมาข้างต้น ธนาคารถูกตรวจสอบและควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) แม้ไม่ทำโดยตรงบางเรื่องแต่ก็ควบคุมกระบวนการตรวจสอบภายในซึ่งต้องเป็นไปโดยมาตรฐาน แต่ลีสซิ่ง เช่าซื้อ บริษัทบริหารหนี้ มาอยู่ภายใต้การตรวจสอบโดยหน่วยงานใด กลต. และตลาดไม่ใช่หน่วยงานตวจสอบโดยตรง แค่กำกับห่างๆ กลต. ดูตลาดแรก IPO ตลาดฯ ดูตลาดรอง ด้านการซื้อขาย ยกหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ผู้สอบก็ดูว่ามตาฐานว่าอย่างไรก็ทำเท่านั้น และมาตรฐานไม่ได้ระบุว่าต้องหยุดเมื่อใด มีเพียงประกาศจากตลาด อันนั้นไม่ใช่มาตรฐาน ไม่ทำตาม งบก็ยังถูก จึงเห็นว่ามีบางบริษัททำนอกเหนือบ้าง ดังนั้นเวลาดูงบต้องเข้าใจให้ดีว่าเกิดผลกระทบอย่างไร สำหรับลีสซิ่ง เช่าซื้อ แฟคเตอริ่ง



ต่อมาก็ซื้อหนี้เน่าจากสถาบันมาบริหาร รายได้รับรู้น่ากังวลมาก คือ รายได้คำนวณจากเงินลงทุนในลูกหนี้ ตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนในการเก็บหนี้ที่คาดว่าจะได้รับ) คำนวณกับยอดเงินลงทุนในลูกหนี้คงเหลือ ถ้าดูจากที่แสดงในหมายเหตุเรื่องที่น่ากังวลคือรายได้คำนวณจากเงินลงทุนในลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้เก็บเงินได้ตามปกติตามแผน ก็ไม่มีปัญหา จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลูกหนี้ไม่ชำระเงินตามแผนจัดเก็บ ยอดเงินลงทุนในลูกหนี้จะไม่ลดลง (สมมติไม่มีเงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่ม) เมื่อคูณด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนในการเก็บหนี้ที่คาดว่าจะได้รับ) รายได้ก็จะสูงขึ้น รายได้ถูกคิดซ้ำซ้อนหรือไม่ และที่สำคัญเงินลงทุนในลูกหนี้นี้ไม่มีการแยกอยุการเรียกเก็บหนี้ที่ควรแยกไว้ตามแผนการเก็บหนี้ที่คาดว่าจะได้รับ เพราะหากเก็บเงินลูกหนี้เงินลงทุนไม่ได้ตามแผน รายได้ก็รับรู้ไปตลอดโดยที่กระแสเงินสดรับไม่ได้จริงตามแผน ผลกระทบที่เกิดคือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนในการเก็บหนี้ที่คาดว่าจะได้รับ) ตามแผนควรต้องลดลงไปไม่ใช่คงที่ไปตลอด ส่วนตัวผมยังคิดว่าเงินลูกหนี้เงินลงทุน คือหนี้ที่ด้อยคุณภาพย่อมเก็บยากอยู่แลเว ถ้าเก็บง่ายจ่ายง่าย คงไม่เป็นหนี้เน่าธนาคารให้ถูกขายง่ายๆ หรอกครับ ถ้าสินทรัพย์ดีมีคุณถาพแล้ว ธนาคารจะขายทำไม แล้วจะมาเป็นรายได้ที่ดีกับธุรกิจรับซื้อหนี้เสียได้อย่างไร พอผมเห็นเกณฑ์การรับรู้รายได้ และไม่พบการแยกอายุการจัดเก็บ บอกได้คำเดียวหนาวครับ



สองกลุ่มธุรกิจที่กล่าวจึงควรระมัดระวังการรับรู้รายได้ให้ดีในการวิเคราะห์นะครับ บางบริษัทก็ดีอยู่แล้ว บางบริษัทต้องอ่านดีๆ ดูให้เป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น