วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ลูกหนี้การค้า หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญ


ลูกหนี้การค้า หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญ  

ในกิจการทั่วไป เมื่อขายสินค้า/บริการ ก็จะเกิดรายได้/ขาย ขึ้นและลงรายการลูกหนี้การค้าหรือเงินสดถ้าขายเงินสด สิน้าก็จะลดลงแล้วกลายเป็นต้นทุน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้

เงินสด + ลูกหนี้การค้า สินค้า  = ขาย ต้นทุนขาย

สมมติขาย 3000 สินค้าต้นทุน 2400 ขายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง 900 บาท เงินเชื่อ 2100 สมการบัญชีคือ

900 + 2100 -2400            = 3000 -2400  ..... สมการสมดุล เดบิต = เครดิต

600                                   = 600  ..... สมการสมดุล เดบิต = เครดิต

ถ้าสิ้นงวดยังไม่เก็บเงินจากลูกหนี้ ปกติกิจการต้องประเมินหนี้ที่อาจจะเก็บไม่ได้ สมมติมีการประเมินว่าจะมีราว 500 ที่จะเรียกเก็บไม่ได้ จำนวนนี้ต้องนำมาตั้งเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

600 -500                          = 600-500 ….. กำไร

งบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) จะเป็นดังนี้ (สินค้าขายหมด เดิมมี สินค้า = ทุน ที่ 2400)

เงินสด                                900     

ลูกหนี้การค้า                    1600   == >  ล/น ค่าเผื่อหนี้ 2100- 500

ทุน                                   2400

กำไร                                  100



เนื่องจากปีก่อนหน้าไม่มียอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมา จำนวนที่ตั้งเพิ่มจึงลงเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด 500

หากงวดนั้นเก็บเงินสดได้ 1200

เงินสด   +           ล/น ค่าเผื่อหนี้

(900+1200) +     (2100 -1200 -500)           =  2400 +100

2100 +  (900 - 500)                                    =  2500

งวดใหม่ต่อมาขายสินค้า 4000 เป็นเงินเชื่อทั้งหมด สินค้าซื้อเป็นเงินเชื่อมา 2800 และขายหมด

 ง/ส  +  (ล/น ค่าเผื่อ)  + ส/ค =  เจ้าหนี้การค้า + ทุน + กำไรสะสม + กำไรของงวด

2100 + (900 +4000 -500) – 2800 +2800 = 2800+ 2500 + (4000 – 2800) หักสินค้าเป็นต้นทุนขาย

2100 + 4400     =   2800 + 2500+ 1200

6500                          =  6500

ล/น 4400 ต้องมาประเมินว่ามีหนี้ที่อาจจะเก็บไม่ได้ เท่าใด สมมติว่าประเมินเป็น 800 สำหรับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ง/ส  +  (ล/น ค่าเผื่อ)  =  จ/น + ทุน + กำไรสะสม + กำไรของงวด

2100 + 4900 – (500+300)  = 2800 +2500+ 1200 -300

2100  +  4100                  = 2800 + 2500 + 900

6200                                 = 6200

ส่วนที่เพิ่มขึ้นของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 300 คือ ค่าใช้จ่ายของงวดหนี้สงสัยจะสูญนั่นเอง

ถ้ามองให้ดีจะเห็นว่าหากไม่อยากให้กำไรกระทบมาก กิจการก็ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้น้อยๆ เพื่อให้ส่วนเพิ่มขึ้นของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลดลง กำไรก็เพิ่มแล้ว บางคนถามว่า ถ้าตั้งน้อยลงละ ก็เกิดการกลับรายการนั่นเอง (บวกกลับหรือโอนกลับ) ซึ่งการโอนกลับนี้เกิดได้ทั้งหนี้เสียลดลงจริงหรือตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น