ลูกหนี้การค้า
(รวมทั้งเงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อ) หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญ
สินทรัพย์รอการขาย (For sale assets)
กรณีกิจการที่ทำเช่าซื้อและลิสซิ่งในเนื้อหาทางการเงินและบัญชีแล้วเช่าซื้อและลิสซิ่งไม่ต่างกันเลย
คือการผ่อนชำระเป็นงวดเท่าๆกันจนจบสัญญา แต่ทางกฎหมายเรียกต่าง
โดยกิจกรรมใดที่มีการจ่ายเงินดาวน์เรียกเช่าซื้อและถ้าลิสซิ่งคือผ่อนทั้งก้อน
ดังนั้นอย่าสับสน เวลาวิเคราะห์ลักษณะกิจการทั้งสองจะไม่ต่างกัน
กิจการเช่าซื้อจะมีทั้งขายสินค้า
และให้ผ่อนชำระ ส่วนลิสซิ่งไม่ต้องมีสินค้าเลยก็ได้คล้ายปล่อยกู้ ดังนั้นในกิจการเช่าซื้อจะมีทั้งรายการขายและดอกเบี้ยรับ
(ดอกผล) จากการเช่าซื้อ ลูกหนี้ก็แยกรายการออกจากกัน บางบิษัท
มีทั้งขายและเช่าซื้อเช่น SINGER บางบริษัทเช่น S11
หรือ ML ทำเพียงเช่าซื้อ เป็นต้น
กิจการที่ทำเช่าซื้ออย่างเดียวล้วนๆ จะเหมือนลิสซิ่งคือไม่มีสินค้าคงเหลือ
ไม่มีต้นทุนขาย แต่บางบริษัทอาจมี แต่ไม่มาก น่าจะมาจากมีสินค้าไว้เพียงตั้งโชว์
แต่เมื่อลูกค้าต้องการก็จะส่งตรงจาก dealer ให้เลย
ไม่ใช่เอาของแสดงไปขายให้
ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อ
จึงต่างจากการขายสินค้าของกิจการผลิตหรือซื้อมาขายไปทั่วไป กิจการทั่วไป ขายสินค้า
บันทึกรายได้จากการขายเป็นรายได้ทั้งหมดทันที (ลูกหนี้ = ขาย) แต่ธุรกิจเช่าซื้อและลิสซิ่งเกิดลูกหนี้เงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อขึ้น
แต่ยังไม่บันทึกรายได้
ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อจะนำมาซึ่งรายได้ดอกเบี้ยรับ/ดอกผลรับจากการเช่าซื้อ
รายได้จึงไม่ใช่สินทรัพย์ทั้งก้อน (ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อ)
แต่มาจากการลงทุนในลูกหนี้เงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อ แล้วได้ผลตอบแทนดอกเบี้ยรับ/ดอกผลรับจากการเช่าซื้อ
ส่วนตรงนี้เมื่ออานงบกระแสเงินสดต้องเข้าใจ แนวคิดเดิมของงบกระแสเงินสด คือการแปลง
accrual basis เกณฑ์สิทธ์ให้เป็น cash basis เกณฑ์เงินสด แปลงขายให้เป็นเงินสด เช่าซื้อและลิสซิ่ง (หรือของธนาคาร)
ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมไม่ใช่รายได้แต่เปรียบเหมือนการลงทุน และรายได้ที่จริงในงบกำไรขาดทุนคือ
ดอกเบี้ยรับซี่งมีผลตอการอ่านงบกระแสเงินสด
เพราะเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใช้หลักเกณฑ์ของกิจการผลิตในเรื่องลูกหนี้ไปใช้กับธุรกิจการเงินนำยอดเปลี่ยนแปลงในลูกหนี้ไปปรับปรุงในส่วนของกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
ทำให้หลายคนสับสนและตีความผิด ถ้าจะให้ถูกต้องเอารายการเปลี่ยนแปลงในลูกหนี้เงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อปรับออก
(ถ้าลูกหนี้เงินให้กู้ยืม/เช่าซื้อ ลบให้บวกกลับ บวกให้ลบออก)
ธนาคารก็ทำแบบดียวกัน แล้วเพิ่มเติมรายการรับฝากเงินเข้าไปด้วยอีกรายการ
ก็จะได้เงินสดจากดอกเบี้ยสุทธิหักรายจ่ายในการดำเนินงาน ตรงนี้แหละคือเงินสดจริงๆ
ว่าที่ปล่อยกู้ไป ได้ดอกเบี้ยและได้เงินจากค่าธรรมเนียม
พอเอาไปหักต้นทุนดอกเบี้ยที่ต้องจ่านเงินสด
จ่ายค่าใช่จ่ายดำเนินงานเงินสดพอหรือไม่ ได้เพิ่มขึ้นมากหรือไม่
ในหลักการตั้งสำรองไม่แตกต่างกัน
คือดูความสามารถในการจ่ายคืน โดยพิจารณาจากลูกหนี้แยกอายุ
ยิ่งมียอดค้างชำระหลังครบกำหนดชำระนานยิ่งควรตั้งสำรองให้มากขึ้น
ปกติยอดค้างเกินสามเดือนจะตั้งครบ 100% และเรียกสินเชื่อที่ค้างเกินชำระเกินสามเดือนว่า
NPL อาจมีบางบริษัทกำหนดการหยุดรับรู้รายได้ดอกเบี้ยเกินกว่าสามเดือนก็มี
ก็ต้องระวัง อาจหมายเหตุให้ดี และกิจการที่ใช้หลักระมัดระวังควรตั้งสำรองส่วนเกินเพิ่มอีกจำนวรหนึ่งหลังจากคิดตาม
% ของยอดค้างชำระตามอายุลูกหนี้
จะถือว่าป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจที่อาจมีผลต่อความสามารถในการชำระในอนาคต
ผลจากการตั้งค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญ
จะทำให้ส่วนเพิ่มรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน หากการตั้งค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญลดลงส่วนลดลงรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญโอนกลับ
(ยอดลบ) ในงบกำไรขาดทุนหลักการก็คล้ายกับการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในกิจการผลิตทั่วไปนั่นเอง
โดยทั่วไปการดูคุณภาพลูกหนี้ของธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง การพิจารณาการตั้งค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญสำคัญต่อการดูคุณภาพลูกหนี้มาก
เพราะเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์ ซึ่งสำคัญกับธุรกิจกลุ่มการเงิน
ที่มีลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเป็นสัดส่วนสูงมาก ราว 70-80% ถ้ามูลค่าลูกหนี้ไม่ตั้งสำรองให้พอกับความไม่แน่นอนในอนาคต
ก็จะแสดงกำไรมากเกินไป เพราะสินทรัพย์สูงเกินไป (นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ผมมักให้ระวังการดู
P/BV ว่าต่ำไม่ใช่ว่าดีเสมอ เพราะธุรกิจอาจ แสดง BV สูงเกินไป)
นอกจากการดูการตั้งค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญ
แล้ว ความจริงมีอีกรายการหนึ่ง มักเป็นรายการเล็กๆ
และนักลงทุนมองข้ามไปรายการนี้สะท้อนได้ดีว่างวดที่ผ่านมาตั้งการตั้งค่าเผื่อ(สำรอง)หนี้สงสัยจะสูญน้อยไปและสามารถใช้หลอกตาคนอ่านงบลงทุนได้คือ
รายการสินทรัพย์รอการขาย (For sale assets)
รายการนี้คือสินทรัพย์ที่ยึดมาจากลูกหนี้ที่ค้างชำระ
ปกติตามกฎหมาย ถ้าลูกหนี้เช่าซื้อผิดนัดชำระเกินสองงวด
บริษัมสทสมารถไปยึดได้เลยแต่ไม่ทำกัน มักเจรจามาชำระหนี้ก่อน
ถ้ายึดมาบางทีเป็นภาระกิจการไป ยิ่งถ้าผ่อนมานานใช่มานาน
ของที่ยึดมาขายทอดตลาดยาก/ไม่ได้ราคาคุ้มหนี้อีก
เวลาตัดสินใจยึดสินทรัพย์มาจะลงบัญชีดังนี้
เดบิต
สินทรัพย์รอการขาย_______1600
เดบิต
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ______800
เดบิต
หนี้สูญ__________________200
_________________เครดิต ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม______2600
ถ้าขณะนั้นลูกหน้ามียอดค้างเหลือ
2600
และบริษัทตั้งยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ 800 ของที่ยึดมาประเมินมูลค่าไว้เมื่อยึด 1600 ส่วนขาดคือหนี้สูญ
บางกรณีกิจการอาจตัดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1000 ไปเลยก็ได้
แล้วค่อยรับรู้ส่วนเพิ่มค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอีก 200 แทน
ทั้งสองรายการก็คือค่าใช้จ่ายทั้งคู่ในหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญของงบกำไรขาดทุน
ข้อสังเกต
สมมติงวดก่อนตั้งยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้น้อย ค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญของงบกำไรขาดทุนก็จะน้อย
ถ้างวดหรือปีถัดมาเก็บเงินไม่ได้ก็ค่อยยึดสินทัพย์ กำไรปีก่อน/งวดก่อนก็ไม่กระทบ แล้วเวลายึด
ก็ตีราคาสินทรัพย์รอขายให้มากหน่อย แล้วงวดถัดไปค่อยรับรู้ขาดทุนจากการลดมูลค่าสินทรัพย์รอการขาย
(ด้อยค่า) หรือไปลงขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์รอการขายเมื่อขาย วิธีการนี้คือ creative accounting เรียกว่า deferred expense แบบหนึ่ง สร้างกำไรให้ดูมากงวดนี้
แล้วไปรับรู้ขาดทุนงวดหน้ายิ่งถ้ารู้ว่างวดหน้าจะขาดทุนยิ่งทำง่ายเพราะ Take
A Big Bath ไปเลย ดังนั้นผมมักจะดูยอดการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์รอขายประกอบ
รายการนี้สัดส่วนน้อย แต่สามารถนำมาช่วยตกแต่งรายจ่ายได้
ในงบกระแสเงินสดจะพบว่ามีขาดทุนจากการลดมูลค่าสินทรัพย์รอการขายและขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์รอการขายอยู่
บางทีดูเหมือนรายจ่ายในงวดนั้น และไม่ใช่เงินสด (นำมาบวกกลับ) แต่คือรายจ่ายที่เลื่อนการรับรู้ในงวดที่แล้วมานั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น