ได้อ่านพบเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่เรื่องเกี่ยวกับการรับรู้รายได้
มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับรายได้
(TAS 18,
TAS 11) จะถูกยกเลิกไปใช้ IFRS 15 แทนนะครับ
ซึ่งจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถปรับใช้กับธุรกรรมรายได้ส่วนใหญ่
โดยต้องปฏิบัติตาม 5 ขั้นตอน
สมมติธุรกรรมง่ายๆ
ได้แก่การขายกาแฟสด โปรฯ 10 แถม 1
1)
สัญญาที่ทำกับลูกค้าคือ ทุกๆ ครั้งที่ซื้อ 1 แก้วๆ ละ 55 บาทจะได้แต้มสะสม 1
แต้มเมื่อครบ 10 แต้มจะแลกซื้อได้ 1 แก้ว
2)
ภาระผูกพันในการดำเนินงาน (performance
obligations) คือการส่งมอบกาแฟ 11 แก้ว ถ้าลูกค้าซื้อครบ 10 แก้ว
3)
มูลค่าธุรกรรม (กรณีลูกค้าใช้สิทธิ์) จะเท่ากับ 550 บาท (55 บาท x 10 แก้ว)
4)
ดังนั้น มูลค่ากาแฟแต่ละแก้วจะเท่ากับ 50 บาท (55 บาท x 10/11)
5)
ซึ่งเมื่อร้านกาแฟส่งมอบกาแฟ 10 แก้วแรก ร้านกาแฟต้องรับรู้รายได้เพียงแก้วละ 50
บาท เนื่องจากยังมีภาระผูกพันที่ต้องส่งมอบกาแฟอีก 0.1 แก้ว ในอนาคต
จึงต้องตั้งหนี้รอไว้ 5 บาท ซึ่งเมื่อลูกค้ามาใช้สิทธิ์แก้วที่ 11
ร้านค้าก็จะต้องกลับรายการหนี้สิน 50 บาทเป็นรายได้ เมื่อส่งมอบกาแฟแก้วสุดท้าย
ถ้าพี่น้องทำธุรกิจแบบปกติทั่วไป
IFRS 15
จะไม่ส่งผลกระทบกับกิจการมากมายนัก แต่ถ้าการทำธุรกิจมีภาระผูกพันหลายๆ
อย่างประกอบกันการกำหนดมูลค่าของรายได้ก็จะซับซ้อนขึ้นครับ
ต้องลองศึกษาการปรับใช้ตามแนวทางข้างต้นดูนะครับ ^^
ขยายมุมองเพิมเติม
ความจริงอาจคล้ายๆ
กันกับในหลักการนี้มีสอนในบัญชีขั้นสูงสองสมัยผมเรียนเรื่องการบันทึกค่าใช้จ่ายกรณีมีการรับประกันซ่อมฟรีใน
1 2 หรือ 3 ปี ไม่ใช่เรื่องเดียวกันก็จริง ในเรื่องการรับประกันซ่อม (Guarantee) กิจการต้องตั้งสำรองค่าใช้จ่ายครับ
เพราะมันคือภาระที่จะเกิคขึ้นได้ในอนาคต
ดังนั้นทุกยอดขายจะมีค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น
แต่กรณีนั้นเป็นการประมาณด้านค่าใช้จ่ายขึ้น ที่ว่าหลักการคล้ายกันคือ
ไม่ให้กิจการไม่ควรรับรู้กำไรมากเกินจริง แต่การ Guarantee ใช้การคาดการณ์ว่าจะเกิดค่าใช้จ่าย
เช่นขาย 100 บาท ต้องหักค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดจากการซ่อม 10 บาท (คชจ
นี้คาดการณ์ขึ้นจากประสบการณ์ที่เกิด) กำไรจากการขาย (สมมติไม่รวม คชจ อื่นๆ) เช่น
กรณีข้างบนในการให้โปรแถม 1 สมมติ ต้นทุนกาแฟแก้วละ 30 ขายปกติกำไรแก้วละ 25
ก็เหลือ 20 เพราะเมื่อขาย 10 แก้ว กำไร เท่ากับ 10x55 - 11x30 = 550-330 = 220 ขายกาแฟส่งมอบให้ลูกค้า 11 แก้ว เท่ากับกำไรแก้วละ 20
เพียงแต่กลับกันแทนที่จะประมาณค่าใช้จ่าย เพิ่มจาก 30 เป็น 35
ก็ใช้การลดรายได้ลงแทนจาก 55 เหลือ 50 แทน ผลคือ GM จะดีขึ้นเพราะ
GM = GP/Sales ซึ่ง คล้ายกับว่าGP Gross profit คงที่อยู่แล้วไม่ว่าจะวัด (ลงบัญชี) แบบใด แต่ตัวหารลดลง (ขาย)
อย่ามองว่าคือ creative accounting แต่ให้มองเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจแทน
กิจการที่ใช่โปรฯ กระตุ้นยอดขาย จะทำให้ยอดขายสูงขึ้นเม็ดเข้ากิจการดีขึ้น แต่ต้องระวัง
เพราะการคิดคร่าวๆ จะดูเหมือนการใช้โปรฯ GM สูงขัน
ความจริงอาจไม่ใช่ เพราะในทางบัญชี ต้นทุนขายของสินค้าแถมโปรจะต้องลงเป็นต้นทุนขาย GM ภาพรวมจะลดลง
ถ้าถูกทางยอมส่งผลดีกับกิจการเพราะเม็ดกำไรโดยรวมเพิ่มได้
ถ้าตรงข้ามยอดขายไม่กระเตื้องก็จะวิเคราะห์ผิดทางได้ ทางแก้ ให้ดู AT (Asset
Turnover) ประกอบ ถ้าถูกทาง AT ต้องสูงขึ้นด้วย
นั่นคือขายมากขึ้น ถ้าใช้โปรแล้วอัตรากำไรรวมเพิ่มแต่ AT ไม่เพิ่มก็ต้องระวังแล้วละครับ
การลงรายการทางบัญชี เมื่อขายการแฟให้ลูกค้า แก้วที่ 1 ถึง 10
เดบิต เงินสด_____________55 ได้เงินสดมาจริงก็ต้องลงตามที่รับจริง
เครดิต ขาย_____________________50 ลงรับรู้ยอดขายเพียง 50
บาท
เครดิต หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น_________5
สมมติมีต้นทุนขายทั้งสิ้น 30 บาท
วันขายก็ต้องลงต้นทุนตอนขายคู่กันด้วย
เดบิต ต้นทุนขาย__________30
ลงต้นทุนขายปกติเพราะขายจริง 1 แก้ว
เครดิต สินค้าคงเหลือ____________30
ตัดวัตถุดิบที่ต้องใช้ทำกาแฟออก
ลงแบบนี้ไปตลอดที่มีโปรจนกว่าจะจบโปร
วันที่ลูกค้ามาใช้โปรแก้วแรกของ 10 แถม 1 ก็ลงบัญชีดังนี้
เดบิต หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น_________5 ตัดหนี้สินออกเพราะลูกค้าใช้สิทธิ์
เดบิต ค่าใช้จ่ายในการขาย________25
ส่วนต่างรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในการขาย
เครดิต สินค้าคงเหลือ____________30
ตัดวัตถุดิบที่ต้องใช้ทำกาแฟออก (ใช้จริง)
ความซับซ้อนทางบัญชีจะเกิดขึ้นหากโปรนั้นเกิดข้ามงวดอาตตัดเป็นจ่าใช้จ่ายบางส่วน
ที่เหลือตั้งเป็นสินทรัพย์ (ค่าใช้จ่ายรอตัด)
สมมติตามตัวอย่าง งวดนั้นขายกาแฟพอดี 10 แก้ว
ใช้สิทธิ์งวดนั้น โปรก็จบพอดี กิจการนั้นจะแสดงกำไรขาดทุนดังนี้
ตย. ที่ 1 มีโปร 10 แถม 1
ขาย____________________500 (50x10) ขายสิบแก้ว
ต้นทุนขาย_______________330 (30x11) ต้นทุนกาแฟ 11
แก้ว
ค่าใช้จ่ายในการขาย_________25 เกิดค่าใช้จ่ายขึ้น
กำไรจากการดำเนินงาน_____145
ถ้ามองให้ดี 25 คือกำไรที่หายไป
1
แก้วของราคาปกติ = 55-30 = 25 นั่นเอง บางคนอาจคิดว่าคุ้มไหม
ถ้าสมมติไม่มีโปร อาจขายได้แค่ราว 5 แก้ว
ทำโปรยอดขายเพิ่ม 50%
ไม่ทำโปร จะได้งบกำไรขาดทุนดังนี้
ตย. ที่ 2 ไม่มีโปร
ยอดขายเดิมได้แค่ 5 แก้ว
ขาย____________________275 (55x5) ขายห้าแก้ว
ต้นทุนขาย_______________150 (30x5) ต้นทุนกาแฟ 5 แก้ว
กำไรจากการดำเนินงาน____125
สังเกตให้ดี
โปรแบบนี้ถ้าอัตรากำไรขั้นต้นสูงๆ อยู่แล้ว และไม่เพิ่มยอดขายมากๆ ก็จะไม่คุ้ม
เพราะกำไรที่หายไป จะต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไม่ใช่หายไปเฉย ดังนั้น
เช่นเดิมขายได้ 8 แก้ว ออกโปรแล้วขายได้แค่ 10 แก้ว
ตย. ที่ 3 ไม่มีโปร
ยอดขายเดิมได้ 8 แก้ว
ขาย____________________440 (55x8) ขายสิบแก้ว
ต้นทุนขาย_______________240 (30x8) ต้นทุนกาแฟ 11
แก้ว
กำไรจากการดำเนินงาน_____200
GM ออกโปร = 170/500
=35%
ตย. 3 GM ไม่ออกโปร และยอดขายเพิ่มน้อย = 200/440 =45.5%
ตัวอย่างสุดท้าย (25/55 = 45.5%)
ตย. 2 GM ไม่ออกโปร และยอดขายเพิ่มมาก = 125/275 = 45.5% ตัวอย่างสุดท้าย (25/55 = 45.5%)
จากตัวอย่าง จะไม่ต่างกับการลดราคาสินค้า
ถ้าสินค้าไม่มี Price Elasticity of Dmand หรือความยืดหยุ่นราคาต่ออุปสงค์จะไม่ได้ผลดีนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น