ในการทำสงครามนั้น
“ซุนวู” ได้กล่าวถึงกฎในตำราพิชัยยุทธไว้ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้ดีทีเดียว
ซึ่งจะต้องคิดคำนึงถึงเรื่องสำคัญ
๕ ประการ
1. หนทาง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนแต่ละชั้นว่าสามารถอยู่ร่วมกัน
ตายร่วมกันได้เพียงใด (การเมืองภายใน) ในหลักข้อนี้การทำสงครามหมายถึงความพร้อมภายในประเทศ
ผู้คนต้องพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเปรียบกับนักลงทุน
ก็คือต้องพร้อมซึ่งไม่ได้หมายถึงมีเงินมาก แต่มีเงินที่ “เย็น”
หรือพร้อมสำหรับลงทุน ต้องเข้าใจ Risk Profile ของตัวเองว่าเป็นแบบใด รับได้มากน้อยเท่าใด เข้าในกฎของ Return&Risk
ดีไหม ต้องการผลตอบแทนมาก ความเสี่ยงจะมากตาม นั่นคือต้องมีความรู้
ความเข้าใจการลงทุนดีพอ ไม่ว่าจะแนว VI –Value Investing (Fundamental) หรือ Technical Analysis บางคนผิดแต่เริ่มต้น
ไม่รู้เอาแนวใดแน่นอน ดูงบแต่มาแนวเทรด ชอบซื้อๆ ขายๆ แต่ดูงบการเงิน
ซื้อแล้วขึ้นก็รีบขาย พอหุ้นขึ้นไปไม่หยุดก็ซื้อกลับ ทำแบบนี้หลายๆ รอบ
สุดท้ายติดสูงไม่กล้าขายตอนลง คนที่อบรมกับผมมาแล้ว จะบอกเสมอว่าถ้าถือสั้นๆ
ชอบซื้อๆ ขายๆ ไม่ต้องดูงบมาก ใช้ Technical Analysis
ปลอดภัยกว่า ดีกว่า สรุปกฏข้อแรกรู้ตัวตนตัวเอง ความรู้ต้องมี
2. สภาพแวดล้อม เงื่อนไขเอื้ออำนวยของจังหวะเวลา
และภูมิอากาศ ข้อนี้หมายถึงการลงทุนต้องรู้ว่าหุ้นที่ลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรมช่วงใด
เป็นช่วงเริ่มต้นเติบโต อิ่มตัวหรือตกต่ำ
หรือไปซื้อหุ้นที่รายได้ภาพรวมหลักกำลังอยู่ในช่วง Dog หรือ Question ใน BCG (Boston Consult Grid-
Star, Cash Cow, Question, Dog)
หรือหากจะเลือกหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันมากราย (Monopolistic)
ต้องดูเงื่อนไขใดบ้าง เป็นต้น
3. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
ข้อนี้คือการพิจารณาโดยตรงด้วย 5 Forces (แรงกดดันทั้ง
5) หุ้นที่จะลงทุนนั้นมีสภาพแวดล้อมแบบใด คือดู แรงกดดันจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม
(Rival Competition) แรงกดดันของผู้เข้าใหม่ (New
Entrants) แรงกดดันทางผู้ซื้อ (Bargainnnig Power of Buyers)
แรงกดดันทางผู้ขายวัตถุดิบ (Bargainnnig Power of Suppliers) สุดท้ายคือดูว่ามีสินค้าทดแมนได้หรือไม่
ผู้ซื้อมีทางเลือกไปใช้อย่างอื่นแทนได้ไหม อันนี้ไม่เหมือนคู่แข่งนะครับ (Substitution
Products) เมื่อดูแรงกดดันทั้ง 5
ด้านแล้วก็มาดูปราการ (Moats) มีไหม (Economy of
Scales, Network Effect, Brand, Regulation, Intellectual Property/Switching
Cost)
4. แม่ทัพนายกอง ลักษณะคน
ข้อนี้คือต้องดู CEO และกลุ่มผู้บริหาร น่าเชื่อถือไหม
ที่ผ่านมาทำอะไรที่เม่เหมาะสมในการดำเนินกิจการ เช่นมี Conflict of
Interest ขาดหลักธรรมาภิบาล (CG) ขาดจริยธรรม (Integrity)
ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
5. กฎ ระเบียบ
วินัย ซุนวูบอกว่ากองทัพที่ดีคือ กองทัพที่มีวินัย Phillip
Fisher มีหลายข้อทีเดียวที่ให้เลือกบริษัทที่มีฝ่ายขายที่ดี บริษัทนี้มีหน่วยงานขายที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยหรือไม่
(Does the company have an above-average sales organization?) หรือบริษัทกับพนักงานมีความสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่ (Does
the company have outstanding labor and personnel relations?) การดูวินัยคนในองค์กรสามารถดูผ่านอัตราส่วนกลุ่ม
turnover ต่างๆ วัดจากค่า SD (Standard Diviation) บริษัทขับเคลื่อนด้วยพนักงาน ความมีวินัยสะท้อนผ่านการทำงานที่เป็นระบบ
กลยุทธ์กองทัพคือการนำโดยผู้บริหาร หากทหารอ่อนแอ ไร้วินัย กองทัพก็ยากจะชนะได้
บทเรียนสุดท้ายที่ก็คือ ถ้ารู้ว่า “แพ้” ก็ต้องมีกลยุทธ์ในการ “ถอย” ในกลศึก “หนี” เขาถือว่าคือสุดยอดกลยุทธ์ ถ้าการวิเคราะห์ผิดพลาดการหนีออกจะทำให้เสียหายน้อยที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น