วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

เวลาลงทุนควรดูหรือคำนึงถึงอะไร


เวลาลงทุนควรดูหรือคำนึงถึงอะไร

ดังที่กล่าวมาตลอดว่า การลงทุนที่ปลอดภัยและถูกต้องแท้จริงคือ การลงทุนระยะยาว หวังตอบแทนในลักษณะ Passive Income  ซึ่งเราจะมั่นใจในระดับหนึ่งว่าระยะยาวจะให้ผลตอบแทนได้ต่อเนื่องจากเงินปันผลพอประมาณ ดังที่กล่าวในบทนำว่าปีแรกเมื่อเทียบกับเงินลงทุนจะไม่มากนักแต่การเติบโตของกำไรหรือเงินปันผลที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับเงินลงทุนขั้นต้นแล้วจะคุ้มค่ามากเพียงพอในระยะยาวโดยไม่ต้องคิดรวมการเติบในมูลค่า บางบริษัท ราคาอาจเพิ่มก็จริง แต่จ่ายปันผลไม่ต่อต่อเนื่อง พอจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง หรือจ่ายขึ้นๆลงๆ มากไร้ทิศทาง ย่อมไม่ใช่หุ้นในคำนิยามของลงทุน แต่เป็นการเก็งกำไรราคา เพียงแต่ยาวขึ้นมากกว่าวันสองวันเท่านั้น ดังนั้นเพื่อได้หุ้นลักษณะดังกล่าว เราต้องคำนึงถึง

1.       กิจการต้องมีกำไรปกติโตต่อเนื่อง การดูกำไรนี้ต้องปรับปรับ เอารายการ one-time gain ออก ยกตัวอย่างบริษัท CPF ซึ่งมีกำไรตามงบกำไรขาดทุน กว่าหมื่นล้านบาท แต่ถ้าปรับบางรายการออกที่ไม่เกี่ยวกับรายการการค้าปกติ รายการ เช่นรายการกำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรที่เกิดจากการตีราคาซึ่งไม่เกี่ยวกับการค้าขายปกติ เช่น กำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ชีวภาพ เป็นต้นจะเห็นได้ชัดเจนว่า กำไรจากการค้าปกติจะลดลงหายไปมาก เปรียบเหมือนกับว่าบริษัททำมาหากินจากการซื้อขายเงินลงทุน  และพึ่งพาการตีราคาสินทรัพย์ชีวภาพ  ซึ่งหมายถึง หมู ไก่ ปลา เป็นต้น ที่เลี้ยงไว้เมื่ออกลูกก็ตีราคาเพื่อบันทึกมูลค่า เป็นต้น

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
2557

2556
2555
กำไรสำหรับปี
14,229,392
9,401,946
21,019,023
รายการปรับปรุง one-time หลักๆ
กำไรจากการขายเงินลงทุน
(4,662,284)
(8,218,523)
(6,008,871)
กำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
          (12,840)
-
5
ขาดทุน (กำไร) จากการขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
              13,292
(104,358)
 (470,810)
ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น
                 2,028
-
ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายอาคารและอุปกรณ์
            121,154
              94,627
66,424
ขาดทุนจากการด้อยค่าของอาคารและอุปกรณ์
              60,601
                          -
ขาดทุน (กำไร) จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
(259,791)
(124,463)
(318,855)
กำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรม
   ของสินทรัพย์ชีวภาพ
(2,625,957)
(1,626,905)
(2,044,742)
ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าเงินลงทุน
                          -
                          -
(309,481)
กำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วม



(8,673,448)

6,865,595

(577,676)
3,259,245


กำไรในปี 2555 (2012) ที่ออกมาสูงมาก การที่กิจการมีรายการที่เกิดจาก one-time มากทำให้กำไรผันผวนมาก แม้กำไรทางบัญชีจะฟื้นตัวก็ตาม แต่ในปี 57-58 กรณีที่ไทยถูกตัด GSP จากทาง ยุโรป ยิ่งซ้ำเติมให้ราคาหุ้นปรับตัวลงง่าย แม้กำไรจะสูงกว่าปีก่อน (กำไรปี 2557 สูงกว่าปี 2556) ราคากลับมีราคาลดลงมากกว่าเป็นเพราะกำไรปกติจากการดำเนินงานไม่แข็งแกร่งพอ ราคาหุ้นจะอ่อนไหวกับปัจจัยภายนอกได้มากและได้ง่าย



2.       ควรมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกและมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (CFO +)

สังเกตได้ว่าบริษัทแม้มีกำไรเพิ่มมากขึ้น แต่กำไรต่อหุ้นกลับลดลงอย่างมาก ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อก่อนหน้าแล้ว ว่าเกิด Dilution ขึ้น เท่านั้นยังไม่พอ CFO ลดลงต่อเนื่องจนติดลบมากมายในทิศทางตรงข้ามกับกำไนสุทธิชัดเจน ดังนั้นการดูการขยายตัวยอดขายหรือการเพิ่มของเพียงกำไรสุทธิไม่พอ นักลงทุนตลอดจนเจ้าหน้าที่การตลาดหรือแม้แต่นักวิเคราะห์หุ้นจำนวนมาก มักใช้ข้อมูลสั้นๆ ที่ประกาศผลการดำเนินงานในช่วงสัปดาห์ที่เริ่มประกาศข้อมูลสรุปผ่านตลาดในแต่ละไตรมาส และก็ตัดสินใจเพียงตัวเลขกำไรบรรทัดเดียว ซึ่งเสี่ยงมากที่จะมีโอกาส “ติดดอย” สูง

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ลบ.)
2557
(01/01/57
-31/12/57) 
2556
(01/01/56
-31/12/56) 
2555
(01/01/55
-31/12/55) 
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
ยอดขายสุทธิ
1,863.11
1,643.59
1,729.26
กำไรก่อน ด/บ และภาษีเงินได้
175.97
109.40
67.47
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ
122.14
68.30
32.31
กำไรต่อหุ้น (บาท)
0.04
0.14
0.14



งบกระแสเงินสด (ลบ.)
2557
(01/01/57
-31/12/57) 
2556
(01/01/56
-31/12/56) 
2555
(01/01/55
-31/12/55) 
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน
-1,086.69
5.92
41.61
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน
-75.55
-9.73
-200.99
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน
1,200.43
-15.55
172.74
เงินสดสุทธิ
38.19
-19.36
13.37

 



เปรียบเทียบกับบริษัทที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่มากแสะสูงต่อเนื่องมาตลอดและกระแสเงินสดที่บวก ยังมากกว่ากำไรสุทธิที่ได้ แสดงถึงคุณภาพกำไรที่ดีของธุรกิจ

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ลบ.)
2557
(01/01/57
-31/12/57) 
2556
(01/01/56
-31/12/56) 
2555
(01/01/55
-31/12/55) 
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
ยอดขายสุทธิ
36,988.96
34,668.72
31,310.16
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ
4,401.79
4,101.38
3,408.55
กำไรต่อหุ้น (บาท)
1.10
1.04
0.94


งบกระแสเงินสด (ลบ.)
2557
(01/01/57
-31/12/57) 
2556
(01/01/56
-31/12/56) 
2555
(01/01/55
-31/12/55) 
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
http://www.set.or.th/images/spacer.gif
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน
4,785.00
5,180.95
4,045.83
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน
-12,771.31
-6,973.60
-6,329.05
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน
10,026.52
1,444.91
4,834.11
เงินสดสุทธิ
2,040.21
-347.74
2,550.89




3.       มีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนไม่มาก D/E ค่านี้วัดระดับความแข็งแกร่งในระยะยาวบริษัทใดมีหนี้มากจะค่อนข้างเสี่ยงมาก ระดับหนี้ต่อทุนนี่ บอกได้ยาก บางคนสรุปว่า 1 เท่า ก็ไม่เสมอ แต่ผมมักเอาค่ากลางนี้เป็นตัวประเมินแล้วปรับบ้างโดยอิงบริษัทใหญ่ๆ ชั้นดี

-      บริษัทผลิตมักมีค่า D/E มากกว่า 1 เพราะมีที่ดินและโรงงานที่มีมูลค่าเพิ่มใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืม (Collateral) บวกกับการมีผลการดำเนินงานต่อเนื่อง สามรถมีระดับหนี้ต่อทุนได้มาก อาจถึง 1.7-1.8 เท่า

-      บริษัทที่มีอสังหาริมทรัพย์มาก (ที่ดิน อาคารโรงงาน) มาก จะสามารถมี D/E ได้มาก

-      บริษัทที่เป็นบริการ ไม่ควรมี D/E สูงเกิน 1 แต่ถาธุรกิจมีอสังหาริมทรัพย์ของตัวมาก ก็ได้มาก ถ้าเป็นที่ที่เช่ามาแม้จะเช่าระยะยาว หรือเป็นที่ดินที่เกิดจากสัญญาสัมปทานก็ไม่ควรมีมากเกิน 1

-      อสังหาริมทรัพย์ รับเหมาก่อสร้าง มักก่อหนี้ลักษณะ Project Finance การก่อหนี้แบบนี้คือกระแสเงินสดของโครงการจะใช้ชำระหนี้ได้เพียงพอ และโครงการเองก็จะมีระยะเวลาดำเนินงานแน่นอน เช่นโครงการคอนโดมิเนียม ธนาคารจะพิจารณาปล่อยกู้จากมูลค่าโครงการอาจจะราว 30 % ของมูลค่าโครงการ ถ้าช่วงนั้นบริษัททำ 3 โครงการๆ ละ 1,000 ล้านบาท รวม 3,000 ล้านบาท ถ้าโครงการอยู่ทำเลดี ก็มีสถาบันการเงินสนับสนุน อาจก็ได้ถึง 900 ล้านบาท ถ้าแต่ละโครงการมีกำไรราว 35% แสดงว่าใช้เงินทุนราว 650 ล้านบาท ต่อโครงการ บริษัทอาจเริ่มต้นเงินทุนราว 400 ล้านบาท โดยให้บริษัททำโครงการได้โครงการละไม่เกิน 2.5 เท่าของเงินทุน สถาบันการเงินจะมองแยกเป็นโครงการแต่ละโครงการ เมื่อขายหมดปิดโครงการสาบันการเงินก็ได้เงินกู้ของตนไปแต่ละโครงการ นี่คือลักษณะ Project Finance



4.       ไม่มีขาดทุนสะสม และมีกำไรสะสม หุ้นที่จะลงทุนควรมีขาดทุนสะสมอยู่เพราะวิธีแก้ขาดทุนสะสมที่บริษัทอาจใช้คือดารลดทุน เมื่อเข้าถือหุ้นแม้จะออกเสี่ยงในที่ประชุมได้ (การลดทุนต้องขอมติผู้ถือหุ้น)  แม้เราจะไม่เห็นด้วน แต่ตัดสินด้วยมติเสียงข้างมาก รายย่อยย่อมมีเสียงแพ้ผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ดี จึงไม่ควรเสี่ยงลงทุน และการมีกำไรสะสมมากๆ ก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะกำไรสะสมก็คือกำไของเจ้าของที่แปลงไปเป็นสินทรัพย์แล้ว  แม้ต้นทุนของส่วนเจ้าของสูงแต่ความมั่นคงก็สูงมากเช่นกันยิ่ง ผลตอบแทนสินทรัพย์มาก (ROA มาก) เท่าไรผู้ถือหุ้นก็ได้เช่นกัน



5.       มีสภาพคล่องดีพอควร กิจการที่เราลงทุนได้ต้องมีสภาพคล่องที่ดี บางท่านอาจใช้อัตราทุนหมุนเวียน CR (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน  แต่อัตราส่วนนี้ต้องระวังเพราะในบางอุตสาหกรรมใช้ไม่ได้ เช่นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และรับเหมาก่อสร้าง สองกลุ่มนี้จะมีสินทรัพย์หมุนเวียนสูงมาก คือรายการต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายสำหรับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และรายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระซึ่งจะมีมูลค่าสูงมากๆ ทำให้ค่า CR > 1 ซึ่งอาจไม่จริง เพราะนิยามของอัตราส่วน CR คือบริษัทสามารกชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนได้ ทั้งสองรายการอันได้แก่ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายยังไม่สามารถเปลี่ยนเงินสดได้เร็ว เพราะคือบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จ คอนโดที่ยังสร้างไม่เสร็จ ส่วนรายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระก็คือรายได้ที่ตั้งขึ้นด้วยวิธีประเมินตามหลักสัดส่วนงานที่เสร็จ (Percentage of Completion) ซึ่งยังเก็บเป็นเงินไม่ได้ต้องให้ลูกค้าที่ว่าจ้างยอมรับงานก่อนจึงเรียกเก็บเงินได้ตามสัญญา



อัตราส่วนที่ใช้มองว่ากิจการเกิดปัญหาสภาพคล่องที่น่ากังวลหรือไม่นั้นต้องมองอัตราส่วนและใช้ข้อมูลหลายตัว นอกจาก อัตราส่วน Current ratio และ Acid-test ratio หรือ Quick ratio = Liquid Asset / Current Liability)   แล้วต้องดูอัตราส่วนอื่นด้วยซึ่งหากรวมทั้งหมดมีอยู่ 4 ค่าที่ใช้ ส่วนตัวนิยมดู ข้อ 3. กับข้อ 4.

1. Current ratio (CR) < 1 อันนี้ basic แต่ถ้ามากกว่า 1 ก็ไม่ใช่ว่าดีต้องดูอัตราส่วนอื่นด้วยคือ เพราะอาจมีสภาพคล่องเทียมได้ เช่นมีสินค้าคงเหลือสูงมากๆ

2. Quick ratio (QR) > 0.6 แต่ที่เรียนกันมาผิดๆ คือ ใช้สูตรอัตราส่วนนี้ว่าเท่ากับ Current assets – Inventories (สินค้าคงเหลือ) ต้องบอกก่อนว่า ตำรา text ไม่ผิดหรอกครับเพราะงบการเงินตัวอย่างใน text จะเป็นงบตัวอย่างว่า สินทรัพย์ หมุนเวียนมีเพียง cash + A/R + Inventory แต่ในชีวิตจริงมีรายการใน สินทรัพย์ หมุนเวียนมากกว่านี้ ดั้งเดิมจริงๆ QR = Liquid Assets/CL ซึ่ง Liquid Assets = Cash + S-T investment + เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทฯ + A/R + รายได้ค้างรับ หรือสรุปว่าคือรายการที่พร้อมเปลี่ยนเป็นเงินได้เร็ว หลังรายการนี้ไป ก็จะเป็นสินค้าคงเหลือ และ ส/ท หมุนเวียนอื่น ซึ่งในทางบัญชี การจัดเรียงรายการในงบจะเรียงตามความสามารถสินทรัพย์ ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้คล่องที่สุดไปหา สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้าที่สุด ดังนั้นรายการที่อยู่ต่อจากสินค้าคงเหลือย่อมแสดงว่ารอบหมุนเป็นเงินสดจะนานกว่าสินค้าคงเหลือแน่นอน ดังนั้นการเอาแค่ เอาสินค้าคงเหลือลบ จึงไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การตีความผิดๆ ทำให้หลายคนประเมินสภาพคล่องกิจการผิด ที่ให้ QR > 0.6 เพราะตัวหารคือ หนี้สินหมุนเวียน (CL) มากกว่า 60% จะเป็นหนี้สินที่เป็นเจ้าหนี้การค้าและเงินกู้ระยะสั้น การมี Liquid Assets ครอบคลุมส่วนนี้ได้ก็รอดพ้นการเกิด Temporary Bankruptcy (Technical Bankruptcy) หรืการล้มลงจากการขาดสภาพคล่องได้สูง (บางกิจการมีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมาก แต่ระยะสั้นอาจขาดเงินหมุนเวียน ก็ล้มได้เหมือนกัน)

3. Modified current ratio (MICR) = CFO/CL ค่าที่ดีควร > 0 ซึ่งก็บังคับกลายๆว่าค่า CFO ต้อง > 0 ค่าของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานควรมากกว่า 0 (เป็นบวก) นั่นเอง

4. Cash Cycle (CC) ในระดับถือว่าดีมาก (Excellence) คือ < 0 วัน ดีคือ 0-45 วัน พอใช้หรือปกติ 45-75 วัน มากกว่า 75-90 วัน ต้องเฝ้าระวัง มีปัญหา ส่วนมากกว่า 90 วัน ถือว่า แย่

ระยะเวลาวงจรเงินสด บ่งชี้หรือบอกสภาพคล่องธุรกิจ

  CC <0                 ------ > excellence สภาพคล่องสูงมาก หนี้น้อยถึงไม่มี

  CC 0-45                            ------ > good สภาพคล่องสูง

  CC 45-75            ------ > normal ปกติ มีการก่อหนี้ระยะสั้น ควร < 30%

  CC 75-90            ------ > awareness การก่อหนี้ระยะสั้นสูงขึ้นอาจ >50%

  CC 90-150          ------ > liquidity problems มีภาระหนี้สูง

  CC 150-180        ------ > crisis area ทางรอดระยะยาวมักเพิ่มทุนล้างหนี้

  CC >180             ------ > bad ต้องพึ่งเงินกู้ระยะสั้นมาก อันตราย ล้มง่าย



        ทั้ง 4 ข้อหากกิจการใดมี 3 ข้อขึ้นไปถือว่าเกิดปัญหาสภาพคล่องแน่นอนและมีแนวโน้มก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานไม่เกิน 1 ปีแน่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น