วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีการตัดราคาค่าเสื่อมที่เหมาะสมสำหรับสัมปทานคลื่นมือถือ ทางด่วน และรถไฟฟ้าใต้ดิน


วิธีการตัดราคาค่าเสื่อมที่เหมาะสมสำหรับสัมปทานคลื่นมือถือ ทางด่วน และรถไฟฟ้าใต้ดิน

วิ๊การคิดค่าเสื่อมราคามีหลายวิธีในทางบัญชี ในทางปฏิบัติไม่ได้กำหนดตายตัวในมาตรฐานว่าอะไรดีหรือเหมาะที่สุด แต่ในทางทฤษฎีมีแนวคิดอยู่

วิธีในการตัดค่าเสื่อมราคา ในทางทฤษฎีทางบัญชีนั้น การเลือกวิธีใดนั้นมีเหตุผลที่แตกต่างกันคือ

1. วิธี Straight Line เหมาะกับสินทรัพย์ที่เสื่อมมูลค่าตามระยะเวลาโดยตรง การหมดประโยชน์เกิดขึ้นเพราะเงื่อนเวลาโดยตรง และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมค่อนข้างคงที่ตลอดการใช้งาน แนวคิดสำคัญเรื่องค่าเสื่อมนั้นเดิมในทางทฤษฎีทางบัญชีจะมองว่า ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเมื่อรวมกันแต่ละปีจะคงที่ ถ้าค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาและซ่อมแซมค่อนข้างคงที่ ค่าเสื่อมราคาควรจะใช้วิธีเส้นตรง

2. วิธีลดลง (Declining Method) วิธีนี้การคิดค่าเสื่อมจะสูงในปีแรกๆ ลดน้อยลงในปีหลังๆ (ทั้ง Double Declining และ Sum of the yeas digit) แนวคิดสำคัญเรื่องค่าเสื่อมนี้จะมองว่า ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมจะเกิดน้อยในช่วงปีแรกๆ และจะเพิ่มขึ้นในช่วงหลังๆ ส่วนค่าเสื่อมจึงตัดมากในปีแรกๆ และลดลงในปีหลังๆค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเมื่อรวมกันแต่ละปีจะคงที่เช่นกัน

3. ส่วนวิธีสุดท้าย Unit of Production อยู่บนหลักคิดที่ว่าประโยชน์สินทรัพย์หมดลงตามผลผลิตที่เกิดหรือใช้งาน โดยแนวคิดนี้ไม่คึงนึงถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซม Unit of Production นี้คิดได้ 2 แบบคือ หน่วยผลิตสินค้าหรือชั่วโมงการผลิต (ชั่วโมงการใช้งาน)

4. การกำหนดวิธีไม่เหมาะสมอาจจะให้มูลค่าของสินทรัพย์ที่เหลือสุทธิต่างไปจากความเป็นจริงมาก ก็ไม่ต่างจากการกำหนดอัตราคิดค่าเสื่อมไม่เหมาะสม ย่อมไม่เป็นผลดีกับกิจการในระยะยาว

5. ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวที่เกิดขึ้นก็สามารถใช้หลักการเดียวกัน มีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เช่น BECL ที่ตัดค่าตัดจำหน่ายสิทธิในการใช้ประโยชน์บนงานก่อสร้างด้วยวิธี Unit of Production คือ สิทธิในการใช้ประโยชน์บนงานก่อสร้างที่เสร็จแล้วตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามปริมาณรถที่ใช้บริการ มองแล้วอาจไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าดูตามข้อเท็จจริง ค่าสิทธิ์นี้ก็คือ ค่าสัมปทานซึ่งประโยชน์จากการใช้ในความจริงหมดประโชน์ตามเงื่อนเวลามากกว่าหมดเพราะปริมณรถยนต์ที่ขึ้น สมมติว่าปีนั้นรถไม่ขึ้นทางด่วนเลยไม่เกิดค่าตัดจำหน่ายสิทธิในการใช้ประโยชน์เป็นค่าใช้จ่ายเลยหรือ แล้วสัมปทานหมดอายุลงไป 1 ปี มูลค่าจะไม่ลดลงตามหรือ ทำนองกลับกัน ถ้ารถขึ้นมากประโยชน์สัมปทานจะหมดลงเร็วหรือ ก็ไม่ใช่ดังนั้นปริมาณรถจึงไม่ใช่เงื่อนไขของการตัดค่าตัดจำหน่ายสิทธิในการใช้ประโยชน์ ควรจะตัดแบบเส้นตรงมากกว่า และที่ต้องเข้าใจคือหากประมาณการรถยนต์ที่คาดว่าจะเกิดตลอดอายุการใช้งานผิด (ซึ่งต้องผิดแน่นอนเพราะไม่มีใครรู้ได้แท้จรงแน่นอนหรือใกล้เคียง) ถ้าคาดการณ์ไว้มากเกิน การตัดจำหน่ายค่าสัทปทานแต่ละปีจะต่ำและมูลค่าสินทรพย์สุทธิสัมปทานจะสูงในปีสุดท้ายที่หมดอายุ ซึ่งเมื่อสัมปทานหมดอายุ ต้องตัดทิ้งทั้งหมดในปีสุดท้าย ผลคือปีสุดท้ายจะขาดทุนมากหรือกำไรต่ำกว่าปกติ

6. ดังนั้นแทนที่กำไรจะเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่รายได้เพิ่มมากขึ้นจากปริมาณรถที่ใช้เพิ่มขึ้น กลับถูกลดลงจากค่าตัดจำหน่ายสิทธิในการใช้ประโยชน์บนงานก่อสร้างที่เสร็จแล้ว เมื่อกำไรลดลง เงินปันผลย่อมลดลง ในทางตรงข้ามกรณีที่รถใช้น้อยลง กำไรก็จะสูงกว่าที่ควร แต่เนื่องจากธุรกิจนี้ไม่ต้องสำรองเงินสดเพื่อซื้อทดแทนสินทรัพย์ที่หมดประโยชน์ กระแสเงินสดจึงสามารถจ่ายได้ทั้งหมดของกำไร และ D/E ควรมีแนวโน้มลดลง แต่บริษัทกลับมี D/E ที่แกว่งไม่แน่นอน นั่นเป็นเพราะการกำหนดอัตราค่าตัดจำหน่ายไม่เหมาะสมส่วนหนึ่ง ทำให้เงินสดไหลออกโดยไม่เหมาะสม

7. เรื่องค่าเสื่อมบางคนว่าง่ายๆ มันก็สามารถมีประเด็นทางการเงินได้ บางคนว่าแค่บัญชียังงงเลย เอาว่ารู้ผลกระทบแต่ไม่ต้องรู้ว่าลงอย่างไร อย่าสนใจว่าตัดอย่างไร ถูกหรือไม่ คำถามคือภาพกว้างๆ เหมาะสมไหมพอ

8. อาคาร โรงงาน สิ่งก่อสร้าง เหมาะกับการตัดค่าเสื่อมด้วยวิธีเส้นตรงเพราะอายุการใช้งานหมดหรือลดลงตามเวลา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงรักษาเกิดขึ้นตามงวดเวลา ไมได้สัมพันธ์กับหน่วยผลิต
9. เครื่องจักร สามารถใช้ได้ทั้งเส้นตรง อัตราลดหรือหน่วยผลิต เพราะ เครื่องจักรบางอย่างประโยชน์หมดลงตามอายุการใช้งาน บางประเภทอาจใช้อัตราลดเพราะประสิทธิภาพมักสูงในช่วงแรกที่ใช้ และลดลงในชวงต่อมา ทำให้ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงรักษาช่วงปลายสูง แต่เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วกิจการพยายามรักษายอดการผลิตให้คงที่ต่อเนื่อง ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยรวมจึงควรคงที่ตามหลัก Matching การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย นี่คือเหตุผลที่ซ่อนอยู่ในหลักคิดเรื่องค่าเสื่อม ว่าทำไมจึงมี Declining Method
10. อุปกรณ์สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ หมดประโยชน์การใช้งานตามเวลา
11. อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ IT ควรใช้อัตราลดเพราะประสิทธิภาพมักสูงในช่วงแรกที่ใช้ และลดลงในชวงต่อมา 
12. วิธีอัตราลดไม่ค่อยนิยมใช้เพราะด้วยเรื่องการคิดบางช่วงอัตราไม่เป็นไปตามเกณฑ์ภาษีจึงเลี่ยงใช้แต่เส้นตรงเพราะง่ายและสะดวกกว่า ทั้งในการคำนวณภาษีก็สะดวกกว่า
13. ทำให้งบการเงินทุกวันนี้ PPE มูลค่าที่แสดงจึงอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนัก แต่ในด้านการวิเคราะห์ถ้ามองภาพรวม เช่น ROA ATจะไม่น่ากังวลนัก เพราะหากตัดมากเกินไป สำรองที่เกิดขึ้นจะสะสมอยู่ในงบดุลที่รายการอื่น (เช่น เงินสด สินค้า ลูกหนี้ฯ เป็นต้น) ถ้าตัดน้อยไป การสำรองก็จะต่ำ และอาจจ่ายปันผลระหว่างทางมากไป และเกิดการก่อหนี้เพิ่ม
14. ดังนั้นในหลักการวิเคราะห์ เรื่องตัดค่าเสื่อมมากไปหรือน้อยไป อาจไม่น่าห่วงมาก เพราะในการวิเคราะห์ ไม่ควรดูเฉพาะเรื่อง ทุกอัตราส่วนสัมพันธ์กันหมด และการสรุปผลอย่าเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ดูแต่ Profitability เช่น GM NM ROE ROA แต่ต้องดูด้วยว่ากำไรที่ดีนั้น ความเสี่ยง(D/E) สูงด้วยหรือไม่ การหมุนเวียนของ ลน จน สค และสินทรัพย์ดีด้วยหรือไม่ วงจรเงินสดเป็นอย่างไร คุณภาพกำไรเป็นอย่างไร
15. ความไม่สอดคล้องของอัตราส่วนหรือด้านใดด้านหนึ่งที่อ่อนแอมันจะปรากฎเองจากอัตราส่วน และกิจการที่พยายามทำกลบัญชี ถ้าอ่านงบให้ดี วิเคราะห์ให้ดี ก็จะเห็นได้ไม่ยาก
16. ราอาจไม่ทราบว่าตกแต่งขายหรือไม่โดยตรง แต่เมื่อไรก็ตามที่ตกแต่งยอดขายรอบหมุนเวียนลูกหนี้มักจะยาวผิดปกติคุณภาพกำไรจะต่ำแต่อัตรากำไรขั้นต้นสูง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น