คำอธิบายรายการในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานบอกนัยทางธุรกิจได้
ในการอ่านงบการเงินนั้นบางครั้งหากเราดูแต่งบกำไรขาดทุนอาจจะไม่ได้พบอะไรมากนักเพราะ งบกำไรขาดทุนจะให้ภาพรวมๆมากกว่า ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่ทราบบางเรื่องราวในธุรกิจ การดูแต่ตัวเลขกำไรนั้นอาจทำให้เราประเมินทิศทางธุรกิจผิดก็ได้ ขอสรุปการบอกความหมายจากตัวอย่างหัวข้อในงบกระแสเงินสดบางรายการ (ไม่ได้อ้างอิงตัวเลขเพื่อความสะดวกในการพิมพ์ครับ)
ในการอ่านงบการเงินนั้นบางครั้งหากเราดูแต่งบกำไรขาดทุนอาจจะไม่ได้พบอะไรมากนักเพราะ งบกำไรขาดทุนจะให้ภาพรวมๆมากกว่า ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่ทราบบางเรื่องราวในธุรกิจ การดูแต่ตัวเลขกำไรนั้นอาจทำให้เราประเมินทิศทางธุรกิจผิดก็ได้ ขอสรุปการบอกความหมายจากตัวอย่างหัวข้อในงบกระแสเงินสดบางรายการ (ไม่ได้อ้างอิงตัวเลขเพื่อความสะดวกในการพิมพ์ครับ)
-
ปรับปรุงกำไร
(ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้เป็นเงินสดรับ (จ่าย)
ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย –รายการนี้จะเป็นยอดรวมของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายทั้งหมด ทั้งส่วนที่รวมในต้นทุนการผลิต (บางส่วนกลายเป็นค่าใช่จ่ายในต้นทุนขาย) และที่เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ในกิจการที่ลงทุนใน PPE สูงมากๆ รายการบวกกลับในงบกระแสเงินสดจะสูง ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูงแต่กำไรสุทธิอาจจะต่ำ บางคนอาจถามว่ามากหรือน้อยดี ขึ้นกับลักษณะธุรกิจครับ การตัดค่าเสื่อมราคาวัตถุประสงค์จริงๆในทางทฤษฎี เพื่อกันเงินสดออกจากกำไรที่เกิดขึ้นเพื่อจัดหาเงินไป reinvest สินทรัพย์ใหม่ให้สามารถผลิต ขายเพื่อคงกำไรไม่น้อยกว่าระดับเดิม ทางบัญชีเรียกว่า capital maintenance ถ้ามองแบบหยาบๆว่า อายุและวิธีสมเหตุผลดีแล้ว การมีจำนวนมากๆ ก็แสดงว่าธุรกิจรี้ต้องการเงินลงทุนสูงในอนาคต ดังนั้นระดับเงินสดที่มากจึงไม่ใช่เรื่องดีมากมายอะไร แต่เป็นเรื่องปกติที่ควรต้องมี ไม่เช่นนั้นในอนาคต อาจต้องเพิ่มทุนมากหรือก่อหนี้มากในการหาเงินเพื่อลงทุนใน PPE ซึ่งต้องดูใน CFI (กระเงินสดในกิจกรรมการลงทุน) ว่าแต่ละปี แต่ละงวด มีการลงทุนต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าลงทุนต่อเนื่องอาจจะไม่ต้องใช้เงินคราวละมากๆ (มีการ reinvest ตลอดเวลา) ส่วนบริษัทที่ตัดน้อย บวกกลับน้อย ควรเป็นบริษัทที่มี PPE ในสัดส่วนไม่มาก จึงถือว่าเหมาะสมถ้า กลับกันกับที่อธิบายมาทั้งหมด จะถือว่าไม่ดี แสดงว่ามีการทำ creative accounting สร้างกำไรโดยใช้การตัดค่าเสื่อมราคาสร้างกลลวงทางบัญชีได้
ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย –รายการนี้จะเป็นยอดรวมของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายทั้งหมด ทั้งส่วนที่รวมในต้นทุนการผลิต (บางส่วนกลายเป็นค่าใช่จ่ายในต้นทุนขาย) และที่เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ในกิจการที่ลงทุนใน PPE สูงมากๆ รายการบวกกลับในงบกระแสเงินสดจะสูง ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูงแต่กำไรสุทธิอาจจะต่ำ บางคนอาจถามว่ามากหรือน้อยดี ขึ้นกับลักษณะธุรกิจครับ การตัดค่าเสื่อมราคาวัตถุประสงค์จริงๆในทางทฤษฎี เพื่อกันเงินสดออกจากกำไรที่เกิดขึ้นเพื่อจัดหาเงินไป reinvest สินทรัพย์ใหม่ให้สามารถผลิต ขายเพื่อคงกำไรไม่น้อยกว่าระดับเดิม ทางบัญชีเรียกว่า capital maintenance ถ้ามองแบบหยาบๆว่า อายุและวิธีสมเหตุผลดีแล้ว การมีจำนวนมากๆ ก็แสดงว่าธุรกิจรี้ต้องการเงินลงทุนสูงในอนาคต ดังนั้นระดับเงินสดที่มากจึงไม่ใช่เรื่องดีมากมายอะไร แต่เป็นเรื่องปกติที่ควรต้องมี ไม่เช่นนั้นในอนาคต อาจต้องเพิ่มทุนมากหรือก่อหนี้มากในการหาเงินเพื่อลงทุนใน PPE ซึ่งต้องดูใน CFI (กระเงินสดในกิจกรรมการลงทุน) ว่าแต่ละปี แต่ละงวด มีการลงทุนต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าลงทุนต่อเนื่องอาจจะไม่ต้องใช้เงินคราวละมากๆ (มีการ reinvest ตลอดเวลา) ส่วนบริษัทที่ตัดน้อย บวกกลับน้อย ควรเป็นบริษัทที่มี PPE ในสัดส่วนไม่มาก จึงถือว่าเหมาะสมถ้า กลับกันกับที่อธิบายมาทั้งหมด จะถือว่าไม่ดี แสดงว่ามีการทำ creative accounting สร้างกำไรโดยใช้การตัดค่าเสื่อมราคาสร้างกลลวงทางบัญชีได้
-
ดอกเบี้ยรับ – นำมาหักออกเพราะในทางบัญชีถือว่าดอกเบี้ยรับเป็นรายได้ของกิจกรรมการลงทุน
ไม่ใช่การดำเนินงาน รายการนี้จะไปแสดงใหม่ในส่วนของกิจกรรมการลงทุน
แต่ปรับยอดแสดงเป็นยอดเงินสดรับจากดอกเบี้ย ซึ่งแตกต่างจากยอดดอกเบี้ยรับทางบัญชี
-
ดอกเบี้ยจ่าย – นำมาบวกกลับเพื่อปรับยอดรายการที่บันทึกด้วยวิธีเกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์คงค้าง
(accrual basis) ซึ่งรายการนี้จะหักใหม่ด้วยการจ่ายด้วยเงินสด
ซึ่งอาจหักในกิจกรรมดำเนินงานหรือกิจกรรมจัดหาเงินก็ได้ ซึ่งตามมาตรฐานให้เลือกปฏิบัติได้
ตรงนี้ก็เป็นช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติในการนำเสนอ
มุมมองแยกเป็นสองมุมมองด้านนักบัญชีมองว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเป็นเรื่องการดำเนินงาน
ส่วนนักการเงินมองว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเป็นต้นทุนของกิจกรรมการจัดหาเงิน
ในฐานะผู้ใช้งบ (นักลงทุน)
ต้องระวังเมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างบริษัทเพราะอาจมีการหักรายการดอกเบี้ยเงินสดไว้คนละที่
-
หนี้สงสัยจะสูญ
– รายการนี้จะบวกกลับ
บางครั้งบางบริษัทอาจแสดงแยกรายการในงบกำไรขาดทุน บางบริษัทอาจจะรวมในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
จำนวนเงินบอกให้รู้ว่าระหว่างปีบริษัทตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพอหรือไม่
เราตรวจสอบเบื้องต้นจากอัตราส่วน AR Turnover หากรอบหมุนเวียนเร็ว
(มากกว่า 6 แสดงว่าเฉลี่ยเก็บเงินหรือให้ credit การค้าไม่เกิน 60 วัน) ก็ตั้งเพียงพอถ้ารอบน้อยแสดงว่าตั้งสำรองไว้น้อย
ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ยอดนี้ควรจะมากขึ้นได้ ในกิจการที่ขายเงินสด เช่นค้าปลีก
หรือรับเงินสดอย่างโรงพยาบาล
ไม่ควรมีสูงหากสูงแสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในธุรกิจ
-
ขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลง
– รายการนี้จะแสดงบวกกลับ
เช่นเดียวกับหนี้สงสัยจะสูญบางบริษัทอาจแสดงแยกรายการในงบกำไรขาดทุนหรืออาจจะรวมในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารก็ได้
แต่ในทางหลักบัญชีที่ถูกต้องต้องรวมในต้นทุนขาย ที่กล่าวเช่นนี้เพราะบางบริษัทแสดงเป็นค่าใช้จ่ายอื่นแยกแสดงรายการจากต้นทุนขาย
บอกอะไรหากแสดงไว้นอกต้นทุนขาย เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่ายนี้ไว้นอกต้นทุนขายแสดงว่าเมื่อวิเคราะห์อัตราส่วนกำไรขั้นต้นจะสูงกว่าความจริงเพราะค่าใช้จ่ายนี้ไม่ถูกรวมอยู่
สมการต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + (ซื้อ + ค่าใช้จ่ายการผลิตระหว่างงวด) –
สินค้าคงเหลือปลายงวด เมื่อสินค้าคงเหลือประกอบด้วย วัตถุดิบ งานระหว่างทำ
และสินค้าสำเร็จรูป การขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลงทำให้สินค้าคงเหลือปลายงวดน้อยลง
นั่นคือต้นทุนขายสูงขึ้น
การแสดงรายการนี้ไว้ผิดที่ก็แสดงว่าอาจกำลังพยายามบิดเบือนอัตรากำไรขั้นต้น (Gross
Margin) ดังนั้นถ้าเห็นรายการนี้ปรากฏขึ้น
แล้วแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นไม่ลดลง
แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะแสดงขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลงที่อื่นที่ไม่ใช่ต้นทุนขาย
(กำไรขาดทุนรวมไม่ผิดแต้การวิเคราะห์อัตรากำไรขั้นต้นผิดทำให้วิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจผิดได้)
และเมื่อตีมูลค่าลงในงวดใดแล้ว งวดถัดไปจะกลับรายการเสมอ
หากการกลับรายการเท่าที่ลงขาดทุน แสดงว่าแนวโน้มราคาสินค้าหยุดลดลง
แต่ถ้ากลับรายการน้อยลง แปลว่าราคาสินค้ายังลงต่อแล่ช้าลง หรือถ้าลบหรือขาดทุน
แสดงว่าลดลงมากกว่าเดิม
-
ขาดทุน(กำไร)จากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร
– ขาดทุนจะบวกกลับ ถ้ากำไรจะนำมาลบออก
แสดงว่าในระหว่างงวดบริษัทมีการขายสินทรัพย์ออก
ถ้าจำนวนไม่มากก็เป็นการขายเศษซากสินทรัพย์เท่านั้นไม่มีสาระใดๆ แต่ถ้าจำนวนมากๆ
(กำไร) แสดงว่าจะมีการสร้างรายการ one-time gain เพื่อแสดงกำไรรวมให้ดูสูง
หากเราเอากำไรนี้ออก (โดยปรับอัตราภาษีออก เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ 250
ลบ. เอากำไรนี้ออกจากกำไรสุทธิ ต้องลบด้วย 250*(1-t) =
250*(1-0.2) = 200)
-
ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร
– เป็นรายการบวกกลับ แต่บอกให้รู้ว่ามีสินทรัพย์ที่เลิกใช้งานเท่าไร
และมีการเอารายการนี้ออดจากงบแสดงฐานะการเงิน
ในภาวะปกติจะมีจำนวนน้อยเพราะสินทรัพย์ที่ตัดออกนี้มักจะตัดค่าเสื่อมจนหมดแล้ว
(มักมีราคาซากน้อยมาก เช่น 1 บาท)
แต่หากมีจำนวนมากแสดงว่ามีสินทรัพย์ที่เป็น non-performing
assets อยู่จำนวนหนึ่งซึ่งอาจหมายความว่าเกิดความล้าสมัยในเทคโนโลยีการผลิต
หรืออาจเกิดเพราะกิจการมีการเปลี่ยนรูปแบบการผลิต
หรือยกเลิกการผลิตในสายผลิตภัณฑ์นั้นและเครื่องจักรไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิตได้อีก
เราอาจต้องดูเชิงลึกถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กลยุทธ์การตลาด vision
เป็นต้น
-
ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์
– เป็นรายการบวกกลับ
รายการด้อยค่าจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าที่จะได้รับจากสินทรัพย์ (ราคาขายสุทธิหรือมูลค่าจากการใช้ที่หามาจากมูลค่ากระแสเงินสดรับสุทธิที่เกิดจากการใช้สินทรัพย์นั้นในการผลิตขายแล้วแต่ค่าใดสูงกว่า)
เทียบกับราคาตามบัญชีสุทธิขณะนั้น หากมูลค่าที่จะได้รับจากสินทรัพย์
น้อยกว่าก็จะเกิดการด้อยค่าสินทรัพย์ การด้อยค่านี้บอกนัยได้หลายอย่างคือ
-ในภาวะปกติ บ่งบอกว่าที่ผ่านมาบริษัทตัดค่าเสื่อมราคาน้อยเกินไป (อดีตแสดงกำไรสูงไป)
-ในภาวะเศรษฐกิจขาลง บอกว่ารายได้บริษัท(จากการขาย) กำลังลดลงในระยะยาว และมูลค่าสินทรัพย์นั้นๆก็กำลังลดมูลค่าลงมาก
-ในภาวะปกติ บ่งบอกว่าที่ผ่านมาบริษัทตัดค่าเสื่อมราคาน้อยเกินไป (อดีตแสดงกำไรสูงไป)
-ในภาวะเศรษฐกิจขาลง บอกว่ารายได้บริษัท(จากการขาย) กำลังลดลงในระยะยาว และมูลค่าสินทรัพย์นั้นๆก็กำลังลดมูลค่าลงมาก
-
ขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย/ร่วม
–เป็นรายการบวกกลับเช่นกัน
แต่บอกให้รู้ว่าในบริษัทที่กิจการเข้าไปถือหุ้นอยู่นั้น เริ่มหรือเป็นกิจการในช่วง
sunset หรือที่เข้าไปลงทุนนั้นซื้อมาในราคาแพงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับกำไร(หรือกระแสเงินสด
Free cash flow) ธุรกิจลูกเริ่มไม่สดใส
หากมูลค่าบริษัทถูกประเมินเพราะคาดว่าการซื้อธุรกิจทำให้เกิด synergy อาจต้องทบทวนใหม่
-
ดังนั้นสำหรับคนเริ่มต้นลงทุน การดูกระแสเงินสดให้อ่านเร็วๆในเบื้องต้นว่า CFO (ดำเนินงาน) CFI
(ลงทุน) CFF (จัดหาเงิน) มีลักษณะใด ดูเครื่องหมายก่อน
แบบเร็วๆ เบื้องต้นดังนี้
·
CFO+ CFI -
CFF - --- > good ดีที่สุด ทำมาหากินพอทั้งลงทุน จ่ายหนี้ จ่ายปันผล
·
CFO+ CFI -
CFF+ --- > ดูสัดส่วนเงิน
CFO: CFF เอาเงินจากไหนเท่าไรไปลงทุน
·
CFO+ CFI+
CFF - --- > ขายสินทรัพย์เพิ่มเพื่อใช้หนี้
หากินไม่พอจ่าย
·
CFO- CFF -
CFF + ---
> กู้ เพิ่มทุน เพื่อลงทุนแต่กำไรลวงหรือติดลบ
จ่ายปันผลก็ไม่พอต้องกู้
·
CFO- CFI+
CFF - ---
> ขายสินทรัพย์เพื่อใช้หนี้และใช้หมุนเวียน ทำมาหากินก็ติดลบ
·
CFO- CFI+
CFF+ ---
> ขาย ส/ท ไม่พอ ยังต้องกู้/เพิ่มทุน
·
CFO CFI
CFF เป็นลบหมดหรือบวกหมดไม่มี หรือไม่สมเหตุสมผล ลบหมด
หากินก็ไม่มีเงิน ยังลงทุน และจ่ายหนี้หรือจ่ายปันผล รอดไหมคิดดู
บวกหมดนี่ก็แปลกหากินก็เหลือเงิน ยังขายสินทรัพย์อีก กู้หรือเพิ่มทุนอีก
เงินท่วมบริษัท มีเงินก็ไม่ลงทุน กู้มาก็ไม่ลงทุน หรือเพิ่มทุนก็ไม่ลงทุน เกิดได้
หากเป็นช่วงเดือนสุดท้ายของปีแล้วทำทุกอย่างปลายปี ระหว่างปีเลยไม่ได้ใช้เงินเลย
-
CFO ควรมากกว่าเงินปันผลจ่าย
-
CFI ที่ดีต้องเป็นการซื้อที่ดินอาคารอุปกรณ์
(PPE) เป็นส่วนใหญ่ และมากกว่าค่าเสื่อมราคา
-
รายการปรับปรุงกำไรใน CFO บอกรายการ one time gain/loss ได้ดีและบอกให้รู้ว่ากำไรที่เห็นในกำไรขาดทุนเป็นรายการที่ไม่ใช่ดำเนินงานเท่าไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น