เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดบอกอะไร
คำอธิบายทางบัญชี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง
ซึ่งถึงกำหนดจ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3
เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีข้อจำกัดในการเบิกใช้
โดยทั่วไปรายการนี้ก็มักจะเป็นรายการเงินฝากธนาคารที่พร้อมถอนใช้ได้ทันทีนั่นเอง
พวกรายการเงินฝากประจำที่มากกว่า 3 เดือนขึ้นไปจะถือเป็นเงินลงทุนระยะสั้น
บางบริษัทเราอาจจะเห็นรายการเงินฝากธนาคารที่มีภาระหรือมีข้อจำกัดการใช้แยกออกมาจากเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดก็ได้
ก็อย่าเผลอเอาไปรวม เพราะก้อนนี้ห้ามถอนใช้ หรือเอาไว้จ่ายปันผล
ส่วนใหญ่มีไว้เพื่อประกันการกู้ยืมเงิน ชำระค่าไฟฟ้าเป็นต้น
หลายคนดูรายการนี้เป็นหลักเลย คิดว่ามีเยอะๆ ดี
จ่ายปันผลได้เยอะและมั่งคง ซึ่งมีทั้งจริงและไม่จริง
จึงควรรู้ที่มาที่ไปของรายการนี้
1. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ไม่ใช่กำไรสะสม
รายการในงบการเงินนี้คือยอดคงเหลือของเงินสดและรายการเทียบเท่า (ต่อไปจะใช่ย่อๆว่า
“เงินสด”)
ยกมาบวกรายการเงินสดเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด
2. รายการเงินสดที่เปลี่ยนแปลงระหว่างงวดคือ
ยอดรวมของการเพิ่มลดในกิจกรรมเงินสดทั้ง 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน
และกิจกรรมจัดหาเงิน
ซึ่งกิจกรรมดำเนินงานแน่นอนว่าเริ่มจากกำไรสุทธิและปรับรายการต่างๆ
เพื่อเปลี่ยนจากเกณฑ์สิทธิ์เป็นเกณฑ์เงินสดในการดำเนินงาน
บางกิจการแสดงกำไรเยอะมาก แต่อาจมีเงินสดจริงมีน้อยหรือติดลบ
แสดงว่ากำไรไม่ใช่เงินสดแน่นอน ตรงข้ามบางกิจการขาดทุนด้วยซ้ำแต่กลับมีเงินสดเป็นบวกได้เหมือนกัน
ดังนั้นจะสรุปเอาว่าเงินสดคือกำไรไม่ได้ครับ ยิ่งกรณีที่บอกคือขาดทุน
แต่มีเงินสดเหลือ บริษัทก็จ่ายเงินสดนั้นให้ผู้ถือหุ้นไม่ได้
เพราะจ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไรทางบัญชีเท่านั้น
3. เงินสดที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจาการขายสินทรัพย์ออกก็ได้
เช่นขายที่ดิน ขายอาคาร ให้กองทุน REIT
(Real Estate Investment Trust) ก็อาจได้เงินสดมาก้อนใหญ่
แล้วบริษัทก็ไปเช่าระยะยาวแทน ในทางทฤษฎีการเงินจะดีก็ต่อเมื่อ
1) อัตราคิดลดที่ใช้ควรต้องไม่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการกู้ยืม ถ้าน้อยกว่าเรากู้จะคุ้มเช่นเรามี PPE (ตึก อาคารที่ดิน) กว่า 800 ล้านบาทเราจะเอาไปขายให้กองทุน REIT 1000 ล้านบาท โดยผลตอบแทนที่เกิดเมื่อเทียบราคาขายเท่ากับ 10%
หรือตกปีละ 100 ล้านบาท และคาดว่ากองทุนอายุ 10 ปี กำไรเกิดทันที 200 ลบ.
หากถ้าเราต้องไปเช่าโดยจ่ายค่าเช่าแทน คิดง่ายๆ ถ้าเราจ่ายค่าเช่า > กำไรที่เกิด =
200 * อัตราคิดลด
แสดงว่าเราจ่ายมากกว่ากำไรที่บันทึก ก็ไม่คุ้มแล้ว
2) หากเราได้ประโยชน์อื่นด้วย
เช่นมีรายได้จากการให้เช่าด้วยอยู่แล้ว เราต้องเอาค่าเช่าที่หายไป
รวมกับค่าเช่าที่ต้องจ่าย หัก
ค่าเสื่อมราคาที่ไม่ต้องเกิดอีกในอนาคตกับเงินปันผลที่จะได้รับ (ถ้ามี)
หากเข้าไปถือหุ้น ถ้าทั้งหมดสุทธิแล้ว >
กำไรที่เกิด (200 * อัตราคิดลด)
ก็ไม่คุ้มเหมือนกัน แปลง่ายๆ คือ สิ่งที่เสียไป ไม่คุ้มกับที่ได้มานั่นเอง
4. นอกจากการขายสินทรัพย์ เช่น PPE แล้ว การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน การขายเงินลงทุน
ต่างๆ เหล่านี้ล้วนทำให้เงินสดเพิ่มขึ้นได้เสมอรายการเหล่านี้เป็น one time transaction
จึงอาจทำให้เพียงงวดนั้นๆ
มีเงินสดมากผิดปกติ ไม่ถาวรยาวนาน
5. อีกกิจกรรมหนึ่งที่อาจทำให้หลงผิดได้คือ
เงินสดได้มาจากการกู้ยืม หรือมาจากการเพิ่มทุน บางบริษัท
กู้หรือเพิ่มทุนปลายปีและยังไม่ได้เอาเงินไปดำเนินการ
รายการเงินสดปลายงวดเลยมียอดคงเหลือสูงมาก
ก็ไม่ได้ชี้ว่าบริษัทมีเงินสดเหลือมากแต่อย่างใด
6. การดูรายการเงินสดของบรรทัดนี้ในงบการเงินให้ดูว่า
1) ดูโดยพิจารณาจาก common
size (การวิเคราะห์ด้วยวิธีร้อยละของยอดรวม
หรือการดูสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดรวม) ว่าเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวม
บริษัทมีเงินสดถือไว้ราวกี่เปอร์เซ็นต์
2) ดูแนวโน้มหลายๆ
ปีว่าดำรงไว้ค่อนข้างคงที่หรือไม่ กิจการที่มีระดับเงินสดในมือ ขึ้นๆ ลงๆ ไม่คงที่
บ่งชี้ถึงการบริหารสภาพคล่องที่ไม่ดีนัก ซึ่งอาจเกิดได้จาก 1.สภาพธุรกิจโดยตรง เช่นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
รับเหมาก่อสร้าง กิจการที่ได้เงินจากลูกค้าเป็นครั้ง เป็นโครงการ
จะเข้าในลักษณะนี้ เงินสดในงบการเงินไม่บอกไร ต้องดูงบกระแสเงินสดจะเข้าใจสภาพธุรกิจได้มากกว่า
7. ธุรกิจที่มีเงินสดจากการดำเนินงานสูง
และเกิดเป็นปกติของธุรกิจ
1) กิจการให้บริการ เช่น โทรคมนาคม โรงพยาบาล
โรงแรม เป็นต้น
2) กิจการที่ลงทุนในสินทรัพย์สูงๆ เช่น ค้าปลีก
แอร์พอร์ต รถไฟฟ้า เป็นต้น
ลักษณะดังกล่าวทำให้งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกเสมอ
แม้ในยามที่ธุรกิจอาจจะขาดทุนก็ตาม
เพราะในทางบัญชีค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจที่ลงทุนใน PPE สูง
(ดูว่าสูงคือมักลงทุนใน PPE
> 6-70% ของสินทรัพย์รวม) ถ้ามี AT (Asset Turnover) = 1.0 ถ้ามีค่าเสื่อมราคาเฉลี่ยราว 8-10%
จะมีค่าเสื่อมราคาแล้วในรายได้ 5-7%
คิดง่ายๆว่า ถ้ามีอัตรากำไรสุทธิที่ 10%
ก็หมายถึงครึ่งหนึ่งของกำไรเกิดจากค่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่
ถ้ารวมค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆ อีก เช่น เงินเดือน ค่าใช้จ่ายในสำนักงานอื่นๆ
ลักษณะแบบนี้หากรายได้เพิ่มอัตรากำไรจะเพิ่มมากกว่า ตรงข้ามถ้าลด ก็จะลดมากกว่า
ดังนั้นเวลาอ่านงานวิจัย (งานวิเคราะห์) หรือการชี้แจงจากผู้บริหารอย่าไปตื่นเต้นคล้อยตามมากนัก
8. ในธุรกิจผลิต หรือธุรกิจบริการที่ลงทุนใน PPE ที่มาก มักมีเงินสดมาก
เงินสอที่มีนั้นไม่ได้อาไว้จ่ายปันผลทั้งหมด
แต่มีไว้หรือถือไว้เพื่อลงทุนอยู่สองส่วน คือ New Project และ Maintenance Productivity (ลงทุนโครงการใหม่ๆ
และทดแทนที่เสื่อมค่าลงเพื่อรักษาประสิทธิภาพ หรือคงระดับการผลิตไว้)
การเห็นว่ามีมากๆ ต้องดูบริบทต่อไปว่าจะไปทำอะไรต่อ
1) ถ้าอุตสาหกรรมยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องชัดเจน
การถือเงินสดมากจะได้ประโยชน์ต่อธุรกิจในการตัดสินใจลงทุน ในการหาโอกาสทางธุรกิจได้มากกว่า
2) ธุรกิจที่ไม่ต้องการขยายตัวมาก
อาจเพราะตลาดเข้าสู่ Maturity
stage (วงจรอิ่มตัว)
ความต้องการใช้เงินในการลงทุนไม่มาก อย่างมากเพียงแค่ทดแทน
จึงอาจจ่ายปันผลคืนกับผู้ถือหุ้นในอัตราสูง
3) บางธุรกิจใช้เงินสดที่เหลือในการซื้อหุ้นคืน
ในทางทฤษฎีการเงินแล้วไม่มีประโยชน์เท่าใด เพราะการเอาเงินสดมาซื้อคืนแสดงว่า
ไม่มีโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และนอกจากนี้บางคนอาจมองสั้นๆ
เพียงประเด็นเดียวว่า ROE เพิ่ม เพราะส่วนเจ้าของลดลง
แต่ในด้านหนึ่งแสดงว่าอัตราการทำกำไรกำลังชะลอตัว หรือกำลังจะลดลง การซื้อหุ้นคืนถือเป็นกลยุทธ์ในการ
downside sizing (ลดขนาด) แทนการขายสินทรัพย์ออก
สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ช่วงนั้นเป็นเช่นนั้นไหม
การใช้กลยุทธ์ที่ผิดจะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขันในอุตสาหกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น