วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีการตกแต่งรายได้ แล้วโอนถ่ายไซฟ่อนเงินออกจากบริษัท


วิธีการตกแต่งรายได้หลอกนักลงทุน แล้วโอนถ่ายไซฟ่อนเงินออกจากบริษัทแบบเนียนๆ เอาสองวิธีก่อนความจริงมีมากครับ ทั้งสองแบบมักทำไม่ยากโดยเฉพาะกิจการที่ผู้บริหาร (มีแน้วโน้ม) ฉ้อฉล

วิธีแรกแรก แต่งกำไรสร้างรายได้ให้ดูโตหรือก้าวกระโดด พอกำไรเพิ่มหุ้นก็ราคาเพิ่ม เจ้าของก็ขายหุ้นออก ทั้งที่บริษัทมีกำไร

-การตกแต่งรายได้ ด้วยการเร่งรับรู้รายได้งวดอนาคตมาเป็นของงวดปัจจุบัน

พวกนี้มักเจอบ่อยในธุรกิจที่รายได้เกิดจากการประมาณ เช่นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งได้กล่าวไปถึงหลายครั้งพอควร อีกกลุ่มที่ต้องระวังคือกลุ่มที่มีรายได้รับมาล่วงหน้า เช่นธุรกิจอินเตอร์เน็ต ธุรกิจขายบัตรรายได้ล่วงหน้า เช่นบัตรโทรศัพท์ ค่าสมาชิกรายปี เช่น CAWOW (แคลิฟอร์เนียว๊าว เจ๊งไปเรียบร้อยแล้ว) ต้องพิจารณาจากลักษณะธุรกิจว่ามีเหตุให้เกิดหรือไม่ รายได้กระโดดผิดปกติหรือไม่ หุ้นพวกนี้ดูกระแสเงินสดจะไม่พบ เพราะรับมาจริง แต่แทนที่จะทยอยรับรู้มักลงทันทีทำให้รายได้สูง หนี้สินรายได้รอรับรู้ต่ำ ควรตรวจรอบการหมุนเวียนรายได้รอรับรู้ (รายได้/รายได้รอรับรู้เฉลี่ย) ถ้าสั้นมากก็พิจารณาว่าเป็นปกติหรือไม่ เช่น ออกมาได้ 6รอบต่อปี หรือหมุนเวียนตัดบัญชีเป็นรายได้ ทุกสองเดือน แต่ถ้าเราทราบว่าปกติรับสมาชิกเป็นรายปี อย่างนี้มีเหตุให้สงสัยแล้ว เป็นต้น บริษัทผลิตของขายก็ทำได้ เช่นกำลังเอาหุ้นเข้าตลาดหรือทำห้กำไรไตรมาสล่าสุดยอดขายกระโดด เช่นยอดขายช่วงเปลี่ยนไตรมาส แทนที่ไตรมาสนั้นจะมียอดขายเพมิ่ก็แต่เลื่อนส่งของข้ามเวลาจาก ก่อน 31 มีนาคม x1 ไปส่งวันที่ 2-3 เมย. X1 แค่นี้รายได้ก็อยู่คนละไตรมาสแล้ว แต่วิธีนี้มักจะเกิดได้กับธุรกิจขายส่งเป็นล๊อตๆ ขายเป็นครั้งๆ ครั้งละมากๆ ถ้าน้อยๆก็อาจไม่คุ้มค่า ไตรมาสแรกยอดขายตก แล้วมาเพิ่มมากไตรมาสสอง เจ้าของก็ช้อนซื้อไตรมาสแรก เก็บจนพอก็มาบอกนักลงทุนว่าไตรมาสหน้ายอดขายจะเพิ่มจากจากไตรมาสแรกแน่นอน พอใกล้จบไตรมาสสองก็ปล่อยอินไซด์รายได้แล้วจะเพิ่มตามเป้าหมายที่นี้ปลายไตรมาสสองหุ้นขึ้นก็ขายทำกำไร จับยังไงละขายของเป็นจริงทั้งหมด



-การตกแต่งรายได้ด้วยการบันทึกรายได้เทียม/เท็จ พวกนี้ก็จะมีลูกหนี้ปลอมด้วย ดังที่กล่าวมาดูยาวๆรายไตรมาสประกอบ และดูงบกระแสเงินสดประกอบก็จะชัดเพราะพวกนี้กำไรพุ่งสูง แต่กระแสเงินสดรับจากการดำเนินงานต่ำ (ลูกหนี้เทียมย่อมไม่เกิดกระแสเงินสดรับเข้า) อันนี้ทำกันในอดีตมาก เริ่มมีการจับทางได้มากขึ้นแล้ว บริษัทที่ระบบไม่ดีทำง่าย เพราะขาดการตรวจสอบ บริฐัทใหญ่ก็ทำได้นะ อย่างเทสโก้ในต่างประเทศที่หลอกบัฟเฟตต์



วิธีที่สองเอาเงินออกจากบริษัท

- ใช้วิธีผ่านการซื้อหุ้นคืน คือการเอาเงินบริษัทลงทุนในตัวเอง ซึ่งจะได้ผลตอบแทน ROE มักอ้างว่าราคาหุ้นต่ำกว่าราคาพื้นฐาน ดังนั้นถ้าบริษทใดมี ROE ต่ำก็ถือว่าไม่คุ้มค่า ไม่ใช่เห็นหุ้นตัวเองลดลงก็เอาเงินมาซื้อคืน ทั้งที่บริษัทหุ้นลงเพราะแนวโน้มความสามารถในการทำกำไรเริ่มลดลง เช่นธุรกิจเหมืองถ่านหินแนวโน้มสดใสอยู่หรือไม่ ราคาปิโตรเคมีอยู่ในวงจรขาขึ้นหรือไม่ ตลาดส่งออกไก่แช่แข็งยังดีอยู่หรือไม่ การอ้างใช้เหตุผลอ้างว่าหุ้นตัวเองนั้นมีมูลค่าที่ต่ำ ดูจะไม่มีน้ำหนักในทางหลักการลงทุนหรือหลักทางการเงิน ซ้ำบางบริษัทมีปัญหาเรื่องของธรรมาภิบาล อาจรู้ล่วงหน้าว่าจะเรื่มซื้อคืนเมื่อไร ให้บริษัทซื้อให้หุ้นขึ้นเพื่อตัวเองขายแล้วรอลงเพื่อซื้อกลับ เป็นรูปแบบการผ่องถ่ายหรือการไซฟ่อนเงิน (Siphon) ได้ทางหนึ่ง และอีกมุมคือ เป็นการบอกนัยๆ ว่า ไม่มีโครงการดีๆ ทำเพื่อเพิ่มมูลค่าบริษัทอีกแล้ว เงินเหลือเลยเอามาซื้อหุ้นตัวเองคืน นั่นคือ g (อัตราการเติบโต) เท่ากับหรือน้อยกว่า 0 แล้ว

- อีกวิธี อันนี้เก่า โบราณหน่อย ก็คือให้กรรมการกู้ยืม (กรรมการเป็นลูกหนี้) จากนั้นก็ตัดหนี้สูญ เดี๋ยวนี้ไม่ทำแล้วเห็นงบปั๊บรู้เลยว่ากำลังโกงบริษัท แต่บริษัทนอกตลาดหุ้นยังทำกันบ้าง



- อันนี้ทำตรงข้ามคือบริษัทไปกู้กรรมการ (กู้หลอกๆ) กรรมการเป็นเจ้าหนี้เงินให้กู้ยืม แล้วจ่ายดอกเบี้ยให้กรรมการ บางคนถามว่าดูไม่คุ้ม อย่าลืมครับกู้หลอกๆ บางคร้งผ่านวิธีทางบัญชีก็ได้ ทำอย่างไรถึงเครดิตเจ้าหนี้ขึ้นได้ ก็ต้องหาอะไรมาเดบิต ซึ่งด้านเดบิด มีสองทางหลักๆคือ ไม่ลงสินทรัพย์ก็ค่าใช้จ่าย ถ้าสร้างค่าใช้จ่ายกำไรก็ลด ก็สร้างสินทรัพย์ซะ สินทรัพย์ที่ตรวจสอบยากตัวหนึ่งคือค่านิยม การทำโดยซื้อบริษัทตนเองสูงๆ ครั้งแรกก็ได้หรือจ่ายบ้างส่วน บางส่วนให้กรรมการจ่ายแทน ความจริงคนรับเงินค่าขายก็คนๆเดียวกัน แค่ทำจ่ายช้าให้บริษัทเสียดอกเบี้ยอีกหน่อยสักระยะ



- ผ่านการทำรายการระหว่างกัน บริษัทนั้นจะมาควรเป็นบริษัทย่อย ให้คงไว้ในฐานะบริษัทที่เกี่ยวข้องดีที่สุด

เพราะรายการแค่เปิดเผยในหมายเหตุ แต่ไม่ตัดรายการระหว่างกันเพราะไม่ต้องทำงบการเงินรวม สมมติ บริษัท ก คือบริษัทในตลาด  บริษัท ข ซื้อสินค้าจากบริษัท ก ก็มียอดขาย มีกำไร แต่อาจน้อยลงนิดหน่อย บริษัท ข อยู่นอกตลาดและบริษัท ก ไม่ได้ถือหุ้นเกิน 20% จึงไม่ใช่ร่วมหรือย่อย บริษัท ข เอาสินค้าขายกรรมการที่ตั้งนอมินีอีกต่อ แล้วสินค้าให้ลูกค้าแทนบริษัท ก ซึ่งบริษัม ก ก็ลงขาย ลงกำไร ส่วนบริษัท ข อยู่นอกตลาด ขายนอมินีแล้วปล่อยเครดิตยาวๆ เลย กำไรก็เข้านอมินีไป จ่ายปันผล 100% ส่วนบริษัท ข จะอยู่จะไปไม่เกี่ยวกับใครเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น