อัตราส่วนทางการเงินสำหรับการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
(ร่วมกับงบอื่นด้วย)
สรุปบางอัตราส่วนที่น่าสนใจที่ใช้ร่วมกับการวิเคราะห์อัตรส่วนการเงินอื่น
ทำให้เห็นภาพกิจการได้ชัดเจนขึ้น ในที่นี้จะขอเสนอ 3 อัตราส่วนที่สำคัญคือ
1. อัตราส่วนคุณภาพกำไร
Quality of Earning
2. อัตราส่วนModified Interest
Coverage Ratio
3. อัตราส่วน Modified
Debt Principal Payback Period (Debt Coverage Ratio)
คุณภาพกำไร Quality
of Earning
Quality of Earning =
CFO / Net Income
บางทีเรียกย่อๆ
ว่า QE เป็นคนละ QE
กับที่รัฐบาลธนาคารกลางอเมริกาออกนะครับ
อัตราส่วนนี้นำกำไรสุทธิมาหารด้วยเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสุทธิ
และต้องเป็นเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานที่หักการจ่ายดอกเบี้ยเงินสดแล้ว
ดังนั้นเวลาดึงข้อมูลกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสุทธิมาใช้ต้องตรวจสอบดูสักนิดว่าหักดอกเบี้ยจ่ายเงินสดหรือยัง
ง่ายๆ คือดูที่กิจกรรมดำเนินงานว่ามีการหักดอกเบี้ยจ่ายเงินสดหรือไม่
ไม่ใช่รายการบวกลับดอกเบี้ยจ่ายเพราะนั้นเป็นการบวกรายการทางบัญชีกลับทั้งก้อนก่อนลบออกด้วยรายการเงินสดดอกเบี้ยจ่าย
หรืออาจดูในกิจกรรมจัดหาเงินว่ามีลบด้วยรายจ่ายเงินสดดอกเบี้ย (ต้นทุนทางการเงิน) หรือไม่
ถ้ามีแสดงว่าเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานยังไม่ลบดอกเบี้ยจ่ายเงินสดออก
ITD หน่วยล้านบาท 2555 2554
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน 2,100.3 3,970.2
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
จ่ายดอกเบี้ย (2,297.2) (2,344.0)
CK หน่วยล้านบาท
เงินสดจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน (1,273.6)
(3,046.6)
จ่ายดอกเบี้ย
(1,391.2) (1,080.7)
จ่ายภาษีเงินได้
(770.7) (266.1)
เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน
(3,435.5) (4,393.5)
CFO ของ ITD จะเท่ากับ (196.9) และ
1,626.2 สำหรับปี 2555
และ 2554
ตามลำดับที่จะนำมาใช้ในการคำนวนอัตราส่วนคุณภาพกำไร ส่วนCFOของ
CK ใช้ได้เลย
เป้าหมายกิจการคือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ
ไม่ใช่เพียงกำไรเท่านั้น ในเป้าหมาย Shareholders’ value creation กิจการต้องมุ่งทำให้สมดุลทั้งสามด้านคือ Make Profit, Generate
Cash Flow และ Stay Solvency
ซึ่งหลายกิจการมีกำไรสุทธิแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบ
กิจการเหล่านี้ถ้าสังเกตให้ดี กิจการที่มีกำไรแต่กระแสเงินสดดำนินงานเป็นลบ
ล้วนแต่จะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น และมักหนีไม่พ้นต้องเพิ่มทุนเพื่อลดภาระหนี้ ในทางการเงินถือว่าไม่เป็นการเพิ่มทุนที่ดี
เพราะการเพิ่มทุนควรสร้างผลกำไรจากการลงทุนที่ให้ ROE ที่สูงขึ้นจากโครงการใหม่
ไม่ใช่ผลตอบแทนจากการลดดอกเบี้ยเพราะเท่ากับได้ ROE จากทุนใหม่เพียงผลตอบแทนเงินกู้เท่านั้น
เรื่องนี้ถ้าเข้าใจหลักการเรื่อง Capital Budgeting ใน Finance ก็จะเข้าใจไม่ยาก
กำไรที่แสดงในงบกำไรขาดทุนเป็นผลมาจากการรับรู้ด้วยหลักเกณฑ์ค้างรับหรือเกณฑ์สิทธิ
(Accrual Basis)
ซึ่งถือว่าถูกต้องในการวัดผลทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
แต่บางครั้งกำไรที่เห็นอาจจะไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงได้
หากกำไรนั้นไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาในรูปเงินสดที่แท้จริง เช่นเมื่อขายสินค้า 100
บาท ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาเท่ากับ 80 บาท ณ
จุดที่ขายเวลานั้นกำไรเกิดขึ้นเท่ากับ 20 บาท
ถ้ากิจการซื้อเงินสดขายเงินสด กิจการจะมีเงินสดเพิ่มขึ้นทันที 20 บาท แต่ถ้ากิจการขายโดยให้เครดิต 10 วัน ในทางบัญชีวันนั้น
รับรู้กำไร 20 บาทแปลความว่า กิจกรรมที่ทำในวันนั้น
ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้น 20 บาท
มูลค่าหรือสินทรัพย์ที่เพิ่มนั้นคือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนั่นเองเพียงแต่ประโยชน์ดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องได้ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินเท่านั้น
หากรับรู้กำไรตามเกณฑ์เงินสด ผลงานจะไปเกิดขึ้นในอีก 10 วันหลังขาย
กิจกรรมการขายได้จบสิ้นไปแล้ว
เพียงแต่ในทางปฏิบัติเราซื้อขายทุกวัน จ่ายเงินเก็บเงินทุกวัน
จึงทำให้ดูเหมือนมีเงินเข้าออกทุกวัน
ความจริงเงินนั้นมาจากการขายก่อนหน้าไม่ใช่จากกิจกรรมปัจจุบัน
ดังนั้นทุกครั้งที่การขายเกิดขึ้นแล้วเสร็จเครดิตการค้าที่เราให้ลูกหนี้ก็เหมือนกับการที่ลูกหนี้ได้เก็บกำไรกิจการไว้ช่วงหนึ่งนั่นเอง
แต่มูลค่ากิจการวัดจากกระแสเงินสดที่เกิดจริง
ดังที่กล่าวไว้ว่าการรับเงินทุกวันทำให้ดูเหมือนกับขายแล้วได้เงินสดมาทุกวัน
ดังตัวอย่างขาย 100 บาท กำไร 20 บาท ถ้าเช่นนี้ทุกวัน 10 วันให้หลังกิจการจะมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นวันละ 20 บาทต่อเนื่องตลอด
มูลค่าของกิจการก็จะใช้กระแสเงินสดรับเข้าสุทธิวันละ 20 บาทเป็นตัวคำนวณมูลค่า
ถ้าสมมติว่า การเก็บเงินมีปัญหาสะดุดบางช่วง
กำไรจะยังคงเดิมอยู่แต่กระแสเงินสดจะเปลี่ยนไป เมื่อรูปแบบกระแสเงินสดเปลี่ยน
ย่อมกระทบต่อมูลค่าธุรกิจ
ในการวิเคราะห์งบการเงินกำไรที่เห็นกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานควรจะเปรียบเทียบกันได้
จากตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกมากิจการมีกำไรวันละ 20 บาท เงินสดได้วันละ
20 บาท
ถือได้ว่ากำไรที่เห็นมีคุณภาพกำไรทางบัญชีที่ผ่านมาเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ตามปกติ
โดยมีข้อสมมติว่าดำเนินกิจกรรมตามหลักการดำรงอยู่ต่อเนื่อง
กำไรในอดีตคือเงินสดในวันนี้ และกำไรในวันนี้ก็จะเป็นเงินสดในวันหน้า
ถ้าเงินสดได้รับน้อยกว่ากำไรที่เกิดขึ้น
อาจจะกำลังสะท้อนปัญหาบางอย่างในกิจการที่บ่งชี้ถึงคุณภาพกำไรในอนาคตว่าจะมีปัญหาในการเปลี่ยนกำไรเป็นเงินสดสุทธิเข้ามาในกิจการ
เช่น
บริษัทในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC
หน่วยล้านบาท
2555 2554 2553
จ่ายดอกเบี้ย (205.4) (187.4) (188.9)
จ่ายภาษีเงินได้
(1,088.6) (1,444.2) (1,118.8)
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 4,250.9 4,159.0 4,082.1
กำไรสำหรับปี 3,637.3 3,291.4 2,696.3
QE 1.17 1.26 1.51
บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ITD
หน่วยล้านบาท 2555 2554 2553
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 2,100.3 3,970.2 748.7
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
จ่ายดอกเบี้ย
(2,297.2) (2,344.0) (1,973.6)
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (196.9) 1,626.2 (1,224.9)
กำไรสำหรับปี
91.5.0 (1,642.1) 317.9
QE (Quality of Earning) (2.15)
(0.99) (3.85)
อัตราส่วนที่ดีคือ > 1
ยิ่งสูงยิ่งดีและถ้ามีความผันผวนน้อยจะแสดงคุณภาพกำไรที่แปลงเป็นเงินสดเข้าบริษัทมาก
ส่วนถ้าต่ำกว่า 1 บ่งชี้ถึงคุณภาพที่ต่ำ ยิ่งน้อยยิ่งไม่ดี
ส่วนกรณที่ติดลบถือว่าคุณภาพยิ่งแย่มากวึ่งจะกระทบต่อการจ่ายปันผล เพราะ QE ลบหมายถึง มีกระแสเงินสดแต่ไม่มีกำไร ก็จะจ่ายปันผลไม่ได้ (แม้จะมีกำไรสะสมก็จ่ายไม่ได้ถ้าวงดนั้นขาดทุน เพราะกฎหมายให้จ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไรเท่านั้น)
หากจะจ่ายได้ (รวมกำไรสะสมด้วย) ต้องรอในปีที่มีกำไรเท่านั้น
ส่วนกรณีมีกำไรแต่เงินสดจากการดำเนินงานติดลบ
แสดงว่าถ้าจะจ่ายก็ต้องกู้เงินมาจ่ายเท่านั้น (หรือขายสินทรัพย์เท่านั้น)
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไม ITD จึงมี D/E สูง และต้องมาเพิ่มทุน เพราะปีที่มีกำไรเงินสดจากการดำเนินงานกลับติดลบ
และต้องมาจ่ายปันผล
(ข้อมูลการจ่ายปันผลจะเหลื่อมปีกับปีที่แสดงกำไรเพราะการประกาศจ่ายเกิดในปีถัดไปหลังปิดบัญชีประจำปี)
SCC 2552 2553 2554 2555
ราคาล่าสุด(บาท) 235 234 258 420
อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน(%) 4.68 4.7 4.26 3.1
DPS 11.00 11.00 10.99 13.02
ITD
ราคาล่าสุด (บาท) 2.94 4.64 3.62 4.2
ตอบแทน (%) N.A. N.A. 1.38 N.A.
DPS 0.0 0.0 0.0 0.0
ข้อสังเกต
อัตราส่วนคุณภาพกำไรคำนวณจากกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานหารด้วยกำไรสุทธิ
คำถามที่อาจเกิดขึ้นกรณีที่ใช้งบการเงินรวมคือ
กำไรสุทธิควรใช้กำไรสุทธิก่อนหรือหลังหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยออก ถ้าพิจารณาจากสูตรและวัตถุประสงค์ของการสื่อความหมายของค่าที่ได้ที่จะใช้บอกถึงกำไรจากการดำเนินงานและเงินสดจากการดำเนินงาน
กำไรสุทธิควรเป็นกำไรของส่วนเจ้าของทั้งหมดก่อนการแบ่งระหว่างผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่และผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
เพราะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่แสดงในงบกระแสเงินสดไม่ได้แสดงแยกออกว่าเป็นเงินสดของกลุ่มใดเท่าไร
ดังนั้นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจึงเป็นกระแสเงินสดของบริษัทโดยรวมที่มาจากการดำเนินงานทั้งหมด
กำไรที่จะนำมาเปรียบเทียบจึงควรเป็นกำไรทั้งหมด
Modified Interest Coverage Ratio
(MICR)
MICR = CFO
before interest and tax / Cash of
interest payment
§ เนื่องจากปัญหาจากผลกระทบจากมาตรฐานการบัญชีเรื่องต้นทุนการกู้ยืมที่สามารถ
บันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ ในด้านการนำเสนองบการเงินถูกต้องแล้ว
แต่เมื่อนำตัวเลขมาใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงินจะไม่เหมาะสม
เหตุผลหนึ่งคืองบการเงินจัดทำด้วยข้อสมติฐานของหลักเกณฑ์ค้างรับ (Accrual Basis) ส่วนแนวคิดทางการเงินยึด Cash
Basis และ Time Value of Money ทำให้เกิดความแตกต่างในการรับรู้มูลค่า
ณ ช่วงเวลาเดียวกันในขณะหนึ่งๆ
§ บางครั้งการเปิดเผยข้อมูลถึงจำนวนดอกเบี้ยจ่ายทางบัญชีที่บันทึกเป็นต้นทุนสินทรัพย์อาจจะหาได้ยากสำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักบัญชีที่จะหาเองจากการอ่านหมายเหตุประกอบงบหรือต้องคำนวณจากข้อมูลในงบการเงินเอง
สำหรับกิจการในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น
ต้องจัดทำงบกระแสเงินสด นักวิเคราะห์สามารถใช้ข้อมูลจากงบกระแสเงินสดมาคำนวณโดยตรง
ค่าอัตราส่วนที่ได้นี้หรือ MICR จะให้การวิเคราะห์ที่ดีกว่ามาก
§ CFO before interest and tax คือกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยและภาษีที่จ่ายเป็นตัวเงิน
§ ดอกเบี้ยและภาษีที่จ่ายเป็นตัวเงินนี้ในงบกระแสเงินสดกำหนดให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลในตอนท้ายของงบกระแสเงินสด
นำข้อมูลทั้งสองค่านี้มาบวกกลับในกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสุทธิ ก็จะได้ CFO before interest and tax
§ ส่วนตัวหารก็ใช้ค่าดอกเบี้ยจ่ายที่จ่ายเป็นเงินสดมาหาร
§ ค่า MICR ที่ดีควรมากกว่า 1 ยิ่งมากยิ่งดี
§ ค่า ICR และ MICR เป็นอัตราส่วนหนึ่งในการประเมิน Credit Rating
SIRI
2554 2553
ICR (EBT/I) 13.6 11.6
MICR ((CFO
+I)/I) (3.3) (5.3)
EBIT 3,017 2,846
ต้นทุนทางการเงิน 222 245
กำไรสำหรับปี 2,016 1,898
CFOก่อนหักดอกเบี้ย (2,966) (2,844)
จ่ายต้นทุนทางการเงิน (886) (540)
CFO adj. (3,852)
(3,384)
ต้นทุนทางการเงิน
(P/L) (222)
(245)
จ่ายต้นทุนทางการเงิน
(CF) (886) (540)
INT(PL) : INT(PCF)
0.25 0.45
Modified Debt Principal Payback Period
Modified
Debt Principal Payback Period
= Long-term Debts or Total Debts / CFO
§
Debt ในที่นี้คือหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย
เช่นเงินกู้จากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ หนี้สินจากสัญญาเช่าซื้อทางการเงิน
ไม่นับรวมหนี้จากหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
หนี้สินจากภาระผูกพันของผลประโยชน์พนักงาน ประมาณการหนี้สินต่างๆ หนี้สินที่เป็นประเภท non-interest
barrier liabilities ปกติจะใช้หนี้ระยาวเท่านั้น
แต่ในบางกิจการมีการก่อหนี้ระยะสั้นสูง ดังนั้น
หนี้ระยะยาวที่มีภาระดอกเบี้ยแล้วจะบวกรวมหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยระยะสั้นด้วย
เพราะรายการระยะสั้นที่แสดงในหนี้สินหมุนเวียนในความจริงก็คือส่วนหนึ่งของหนี้ระยาวที่เพียงแต่แยกเอาส่วนที่ครบถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีแสดงแยกออกมา
§
อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยมีอยู่กี่เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานสุทธิ
หรืออาจมองอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าบริษัทนำเงินสดจากการดำเนินงาน
(หลังหักรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ย) แล้วมาจ่ายเงินต้น
ถ้าบริษัทสามารถได้เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานจำนวนดังกล่าวคงที่
จะใช้ระยะเวลากี่งวดจึงจะจ่ายเงินต้นได้หมด
§
ค่าที่คำนวณได้จะบอกนัยว่าระยะเวลาของหนี้ที่เหลืออยู่โดยเฉลี่ยกับระยะเวลาที่จะจ่ายหนี้หมดถ้าระยะเวลาเฉลี่ยของหนี้ที่มีดอกเบี้ยมากว่าค่าที่คำนวณได้ตามสูตร
หมายความว่า เมื่อถึงระยะเวลาครบกำหนดอายุเงินกู้บริษัทจะยังมีหนี้เหลืออยู่ที่ต้องชำระ
สิ่งที่ทำได้คือ การ refinance หรือก่อหนี้ก้อนใหม่
หรืออาจต้องหาเงินมาชำระโดยการเพิ่มทุน
SIRI 2554 2553
Modified payback period (years) (4.7) (4.3)
unadequacy unadequacy
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 1,247 215
เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 6,448 4,992
หุ้นกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 998 -
เงินกู้ยืมระยะยาว 4,302 5,496
CFO (2,966.24) (2,844.09)
จ่ายต้นทุนทางการเงิน (886) (540)
CFO adj. (3,852) (3,384)
D/E 2.2 2.3
สำหรับ แสนสิริมีค่าติดลบ
แสดงการไม่มีเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานที่เพียงพอในการชำระหนี้ในตัวเอง
การดำรงอยู่ปัจจุบันคือการหมุนเงินในกิจการ ไม่ต่างจากคนที่ถือบัตรเครดิต 10 ใบ
เบิกเงินสดบัตรนั้นมาใส่บัตรนี้สิ้นเดือนเงินเดือนออก
ก็เอาเงินเดือนใส่บัตรใบหนึ่งให้มีเครดิตไลน์เหลือเพื่อเบิกจ่ายหมุเวียน
ในภาวะเศรษฐกิจปกติจะเหมือนไม่มีอะไร
ความเสี่ยงอยู่ที่หากเกิดการสะดุดตัวของเศรษฐกิจมากๆ สามารถเกิดวิกฤตได้
โครงสร้างแบบนี้เหมือนกับบริษัทหลายๆที่ซึ่งเกิดปัญหาในช่วงวิกฤตปี 40 ไม่ใช่เพียงแสนสิริเท่านั้น
เกือบทุกตัวในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก็มีภาพแบบเดียวกัน
ตราบใดยังไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจหุ้นเหล่านี้ก็จะไปได้ แต่ถ้าสะดุดเมื่อไร
โบกมือลาก่อนได้เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น