วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ทำไม จึงใช้ Ruang Alarm และ Ruangsirikulchai Index มาใช้วัดสัญญาณการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและวัดความเสี่ยงทางการคลัง


ทำไม จึงใช้ Ruang Alarm และ Ruangsirikulchai Index มาใช้วัดสัญญาณการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและวัดความเสี่ยงทางการคลัง

ต้องแยกแยะให้เข้าใจตรงกันและถูกต้องนะครับว่าวิกฤตเศรษฐกิจกับการชะลอตัวจากวงจรเศรษฐกิจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน วงจรทางเศรษฐกิจเมื่อเข้าสู่ช่วงชะลอตัว (Declining) เป็นภาวะปกติของวงจรเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเสมอ หลังการเติบโต (Growth)  และอิ่มตัว  (Saturation/Maturity) หลายคน (เมื่อดูจากการโพส) จะตระหนกจนเศรษฐกิจเหมือนจะพังแบบปี 2540 ช่วงการชะลอตัวจนถดถอย (Recession) ถ้ารุนแรง เกินไป แน่นอนว่าเป็นวิฤต (Crisis) ตัวชี้หรือสัญญาณการชะลอตัวคือหลายๆค่าที่เราดูกันทั่วไป เช่นอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ การขยายตัวสินเชื่อ อัตราการว่างงาน การส่งออก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Production Index) อัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization Rate) เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงตัวเลขชี้วัดเหล่านี้ก็จะนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจมาอธิบาย เช่น ราคาน้ำมัน ระดับหนี้ภาคครัวเรือน อัตราเพิ่มลดใน NPL ฯลฯ ซึ่งใช้บอกให้รู้ว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่วงจรใด กำลังชะลอตัวไหม ยังเติบโตไหม แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่ากำลังเกิดการถดถอยจนนำไปสู่วิกฤต และแน่นอนว่าการเกิด Crisis ก็จะมีสัญญาณเช่นการชะลอตัวเหมือนกันในการพิจารณา

แต่การชะลอตัวไม่ใช่ว่าต้องเกิดวิกฤตเสมอดังที่กล่าวในตอนต้น Ruang Alarm เป็นค่าวัดหนึ่งที่ผมเห็นว่าง่ายและสมเหตุสมผลดีที่ช่วยบอกว่าการชะลอตัวนั้นก่อให้เกิดวิกฤตได้หรือไม่

Ruang Alarm = ผลรวม (Current Account/GDP) 3 ปีติดต่อกัน ถ้า < -10% ถือว่า แย่ ยิ่งต่ำมากยิ่งเสี่ยงการเกิดวิฤตสูง

ถ้ามาเทียบกับหลักการวิเคราะห์การลงทุนที่พวกเราคุ้นเคย (ผมนำมาใช้อธิบายเทียบเคียงเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ)

Current Account หรือดุลบัญชีเดินสะพัด บอกว่าประเทศค้าขายมีกำไรหรือขาดทุน บวกกับรายได้ค่าบริการ เช่นท่องเที่ยว บริการการเงิน ผลรวมสุทธิเป็นอย่างไร ถ้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แสดงว่าประเทศมีรายได้สุทธิติดลบในช่วงปีนั้น ถ้ามองเทียบบริษัทเหมือนกิจการหนึ่ง การค้าขายขาดทุนติดต่อกันสามปี เมื่อเทียบกับผลลิตโดยรวมที่ตนเองทำได้ (GDP) ย่อมแสดงว่ากิจการน่าจะมีปัญหาค่อนข้างสูง ในระดับประเทศการมีบวกบ้างลบบ้างเป็นเรื่องปกติ และการสะสมสามปีติดต่อกันในระดับที่สูงจะไม่เรื่องที่ดี เพราะจะสูญเสียทุนสำรองออกไป Current Account/GDP ที่มากย่อมแสดงว่าตัวหาร (GDP) ต่ำ ก็หมายถึงเรานำเข้ามากินทิ้งกินขว้างมากกว่าการนำเอามาสร้างให้เกิดผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) นั่นแสดงว่าคนข้างในรายได้เพิ่มต่ำ การนำเข้าไม่เกิการสร้างผลผลิต ซ้ำยังทำขายก็ไม่มาก (การนำเข้ามาก และเศรษฐกิจภายใน GDP คึกคัก ถือว่าดี – ตัวหารมาก Current Account/GDP จะติดลบน้อย ย่อมไม่ก่อให้เกิดวิกฤต นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งยกเว้นช่วง subprime ที่อเมริกา มี Ruang Alarm < -17% ของอเมริกาก็ลบทุกปี แต่ค่าสะสมสามปียังไม่เกิน ยกเว้นช่วงเกิดวิกฤต

ถ้าติดลบมาก ๆ ทางรัฐก็ต้องก่อหนี้สาธารณะ การก่อหนี้สาธารณะมีทุกปีอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติทุกประเทศ ที่สำคัญคือระดับหนี้ไม่ใช่ขนาดหนี้ดังที่เคยกล่าวในบทความก่อนหน้า การติดลบมากย่อมเร่งการก่อหนี้เร็วมากขึ้น ทำให้หนี้สูงเกิน 60% ต่อ GDP ได้

ส่วน Ruangsirikulchai Index ใช้วัดความเสี่ยงทางการคลัง  โดยค่านี้  = Pulbic Debt/GDP * 10 Yr Gov.Bond Yield

ถ้าเขียนใหม่ = Pulbic Debt* 10 Yr Gov.Bond Yield /GDP = Interest/Revenue

ค่านี้บอกถถึงภาระดอกเบี้ยของภาครัฐที่ต้องแบกรับเมื่อเปรียบกับผลผลิตมวลรวมประเทศ และรายได้ของรัฐ (ภาษี) ก็มาจาก GDP นี่เอง ถ้าเกินกว่า 3% การคลังของประเทศจะมีความเสี่ยงมากขี้น ถ้าฐานรายได้น้อย แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากจะทำให้คลังอาจต้องกู้มาจ่ายดอกเบี้ย เหมือนกับเรากดเงินสดบัตรเครดิตจากใบหนึ่งมาจ่ายอีกบัตร ทำวนไปไม่รอบหนี้เราจะเพิ่มทวีอย่างเร็วจนวงเงินเต็มจ่ายบัตรต่อไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น