วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมีหลายตัว ในที่นี้จะใช้ค่า Ruang Alarm ของคุณประวิทย์


สัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมีหลายตัว ในทางทฤษฎีมีกล่าวในตำรามากมาย แต่ที่ยังไม่สอนในตำราอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่ก็ใช้หลักทางตำราเศรษกิจอธิบายเชื่อมโยงได้ ผมเคยอ่านบทความของคุณประวิทย์ เรืองศิริกุลชัย (ถ้าชื่อ นามสกุลผิด ขออภัย ณ ที่นี้) ได้ใช้ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP มาบวกเข้าด้วยกัน 3 ปีล่าสุด แล้ววัดค่าสรุปออกมา ท่านเรียกอัตราส่วนนี้ว่า Ruang Alarm โดยอาจแบ่งความเสี่ยงของวิกฤติเศรษฐกิจได้เป็น 3 ขั้น คือ

1. ความเสี่ยงสูง : ค่า Ruang Alarm อยู่ที่ระดับแย่กว่า -10% GDP

2. ความเสี่ยงสูงมาก : ค่า Ruang Alarm จะอยู่ที่ระดับแย่กว่า -20% GDP

3. ความเสี่ยงสูงสุดยอด : ค่า Ruang Alarm อยู่ที่ระดับแย่กว่า -30% GDP

โยคุณประวิทย์ได้สังเกตและทดสอบกับประเทศต่าง ๆ หลายประเทศที่ได้เกิดวิกฤตตั้งแต่เป็น วิกฤติต้มยำกุ้งในไทยปี 1997 วิกฤติอาร์เจนติน่าปี 2000 และ ไปถึง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 พบว่าก่อนที่จะเจอวิกฤตประเทศเหล่านี้มีค่าที่วัดได้ดังนี้

-เตกีล่าของเม็กซิโก ค่า Ruang Alarm อยู่ที่ -13% GDP

-ยำกุ้งของไทยนั้น Ruang Alarm อยู่ที่ -21.2%

-วิกฤติอาร์เจนติน่าปี 2000 ค่านี้อยู่ที่ -13.1%

-ก่อนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ พบว่า อเมริกานั้นมีค่า Ruang Alarm ที่ -17% GDP และ

-วิกฤติยูโรโซน เมื่อไปดูที่ประเทศอ่อนแอในยูโรโซน พบว่า กรีซมีค่านี้สูงถึง -44% GDP

-ไซปรัสที่ -34% โปรตุเกสที่ -33.4% GDP สเปนที่ -28.6% GDP      

จากสถิติของค่าที่วัดได้ของบรรดาประเทศที่เกิดวิกฤต ได้ผล back test ที่นี่น่าสนใจมาก ถ้าอธิบายง่ายๆ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) สะท้อนสองอย่าง ดุลบัญชีเดินสะพัด คือ ดุลบัญชีที่แสดงเงินที่ไหลเข้าออกประเทศนั้น ๆ จากการซื้อขายสินค้าและบริการของประเทศนั้น ๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ดุลการค้า (Trade Balance) และ ดุลบริการ (Service Account)



ส่วนดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) หมายถึง ผลสรุปของการทางธุรกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic transaction) ระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศ (Resident) กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (Nonresident) ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) และดุลบัญชีเงินทุน (Capital and Financial Account) Ruang Alarm ใช้บัญชีเดินสะพัดไม่ใช่ตัวนี้ที่เป็นดุลการชำระเงิน



ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) แสดงว่าประเทศค้าขายกำไรหรือขาดทุน บวกรายได้ค่าบริการ เช่นท่องเที่ยว บริการการเงิน ถ้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แสดงว่าประเทศมีรายได้สุทธิติดลบในช่วงปีนั้น คิดง่าย ๆ เงินในกระเป๋าตังประเทศลด รัฐบาลก็ต้องกู้เงิน พอกู้นาน ๆ (นี่แหละทำไมต้องเอาสามปีติดต่อกัน ไม่ใช่ดูปีเดียว) กู้มาก ๆ ก็ใช้ค่าที่ลบต่อ GDP มาก ๆ ประเทศที่เป็นแบบนี้มันไช่ภาวะชะลอตัวตามปกติแล้ว มันเกิดวิกฤได้ง่าย ๆ เลย ดังนั้นคนที่ถามผมดูอะไร ผมดูแค่ค่านี้แหละในการวัดวิกฤต ส่วนค่าอื่น ๆ แค่ตัวประกอบ ซึ่งบอกแค่เกิดการชะลอตัวหรือลดลงตามวัฏจักรเท่านั้น ถ้าวิกฤตผมถึงขายหมดถือเงินสด ถ้าแต่ลดลงเพราะเศรษฐกิจชะลอตัว ก็เพียงปรับพอร์ต บ้างเบา ๆ แต่ถ้ามีหุ้นดีแล้วแทบไม่ทำอะไรเลย บัฟเฟตต์บอกเสมอว่าเวลาคือเพื่อนที่ดีของนักลงทุน (แต่ต้องเป็นหุ้นที่ดีนะครับ)



เวลานี้เห็นมาเล่นข่าวหนี้ประเทศว่ามากหลายล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ บอกได้เลยไม่น่ากังวลเลยเพราะระดับหนี้จะมากน้อยที่จะเกิดวิกฤตเหมือนปี 40 นั้นให้ดู 2 เรื่องคือ

1. ระดับหนี้ต่อ GDP มากเท่าใด ค่าสากลที่ใช้กันคือไม่ควรเกิน 60% เวลานี้แม้หนี้สาธารณะจะดูมาก แล่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน (เท่าที่ทราบขณะนี้ราวสี่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์) อย่าลืมว่า จีดีพีโตหนี้ก็สามารถโตได้ เหมือนธุรกิจ ระดับหนี้ไม่ได้วัดที่จำนวน แต่ดูที่ D/E อีกสามสี่ปีข้างหน้าใครมาบริหารประเทศหนี้ก็เพิ่มขึ้นทั้งนั้น สิ่งสำคัญญคือ ณ เวลานั้น อย่าก่อหนี้เกินระดับมาตรฐาน อดีตเรากลัวหนี้ห้าล้านล้านบาทเพราะเวลานั้นสูงเกินไป แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปเพราะจีดีพีโต จำไว้เหมือนการวัดค่า D/E

2. หนี้รวมของประทศนั้นเป็นหนี้นอกหรือในประเทศอย่างใด ในอดีตช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศมีหนี้ต่างประเทศสูงมากหมายความว่า ถ้าถึงคราวต้องจ่ายหนี้เมื่อครบกำหนด ถ้าเงินทุนสำรองน้อยแล้ว จะเกิดการผิดนัดชำระได้ง่าย ๆ แต่ถ้ารัฐมีหนี้ในประเทศ การกู้ในประเทศก็คือรัฐออกพันธบัตรขายสถาบันกาเงินในประเทศ เมื่อกู้ภายในมากจึงไม่ใช่ปัญหามากนัก เพราะสภาพคล่องธนาคารทั้งระบบยังสูง รัฐสามารถ refinance ขายสถาบันการเงินได้ ประกอบกับค่าเงินบาทยังแข็งแกร่งในสายตาต่างประเทศที่เรามีทุนสำรองมาก รัฐบาลกู้เพื่อการลงทุนพัฒนาด้าน infrastructure ย่อมส่งเสริมเอกชนให้เกิดธรกรรมที่กว้างและมากขึ้น ฐานการจัดเก็บภาษีจะได้มากขึ้นตามมา



จากสองข้อหลักนี้ ผมจึงไม่กังวลว่าหนี้ที่เพิ่มในปัจจุบันจะก่อให้เกิดวิกฤตดังปี 40 แต่ก็ไม่ควรประมาท ที่น่ากังวลที่ควรติดตามมีสองเรื่องหลักคือ ระดับหนี้ภาคครัวเรือน และระดับราคาอสังหาริทรัพย์ กับ financial asset ที่อาจจะกลายเป็นภาวะฟองสบู่ (Bubble Price) แต่ในปัจจุบันผมเห็นว่าระดับยังอยู่ในภาวะจัดการได้และหน่วยงานต่าง ๆ (ธปท.) เฝ้าระวังอยู่จึงไม่กังวล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น